X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก กลุ่มเสี่ยง 3 เดือน ถึง 3 ขวบ แม่ประมาทลูกช็อกจนตายได้!

บทความ 3 นาที
ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก กลุ่มเสี่ยง 3 เดือน ถึง 3 ขวบ แม่ประมาทลูกช็อกจนตายได้!

ไวรัสลงกระเพาะในเด็กอาการเหมือนไข้หวัด พ่อแม่อย่าประมาท!

แพทย์เตือน ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก เสี่ยงเสียชีวิตได้

อาการเหมือนไข้หวัด แต่ไม่ใช่! แม่ต้องสังเกตให้ดี ถ้าลูกมีอาการแบบนี้เสี่ยง ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก ถ้าประมาท ลูกอาจช็อก อาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

 

กรมการแพทย์เตือน “ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก”

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ระยะนี้ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็น และชื้นทำให้เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ สามารถแพร่กระจายได้ง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ขวบ จะมีภูมิคุ้มกันร่างกายน้อยกว่าเด็กทั่วไป ส่งผลให้เจ็บป่วยได้ง่าย

 

โรคที่พบบ่อย คือ โรคไวรัสลงกระเพาะ หรือโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุของโรคมีหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี คือ เชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) ซึ่งมีอัตราที่พบในเด็กร้อยละ 16 ถึง 58 เชื้อโรคชนิดนี้สามารถอยู่ในสภาวะแวดล้อมทั่วไปได้นาน แฝงอยู่กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น

  • จาน ชาม
  • บริเวณพื้นที่ไม่สะอาด
  • อาหารที่รับประทานเข้าไป
  • ได้รับเชื้อจากผู้ป่วยโดยตรง

 

โดยเฉพาะในเด็กที่ชอบหยิบสิ่งของเข้าปาก อมของเล่นที่มีเชื้อโรคเกาะอยู่ หลังจากได้รับเชื้อเด็กจะมีอาการเหมือนไข้หวัด คือ

  1. มีไข้ ตัวร้อน
  2. น้ำมูกไหล หรือไอร่วมด้วย
  3. อาการที่เด่นชัด คือ อาเจียน ตั้งแต่เล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง
  4. อาจจะมีอาการท้องอืดร่วมด้วย
  5. เด็กจะไม่อยากรับประทานอาหารและมีอาการถ่ายเหลวถ่ายบ่อยตามมาในระยะ 1-2 วัน
  6. อาจพบอุจจาระเป็นมูกแต่ไม่มีเลือดปนประมาณ 5-7 วัน

 

การรักษาโรคไวรัสลงกระเพาะ

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) บอกถึงการรักษาโรคไวรัสลงกระเพาะในเด็กว่า ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง ผู้ปกครองสามารถดูแลบุตรหลานได้โดย

  1. เมื่อมีไข้ ควรเช็ดตัว และให้ยาลดไข้
  2. ถ้าอาเจียน ถ่ายบ่อย อาจให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อรักษาและป้องกันภาวะขาดน้ำ
  3. ดื่มนมและรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และที่สำคัญควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

หากมีอาการผิดปกติ เช่น เด็กไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ปัสสาวะน้อยลงมีอาการซึม งอแง ถ่ายบ่อย อาเจียนบ่อยครั้ง ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

เพราะหากให้น้ำเกลือไม่ทัน อาจจะรุนแรงจนทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้

โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าเด็กโต เนื่องจากภูมิต้านทานน้อยกว่า

 

ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนที่ป้องกันโรคไวรัสลงกระเพาะจากเชื้อไวรัสโรตา สามารถลดการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของอาการ แต่ยังมีราคาสูง ผู้ปกครองจึงควรมุ่งเน้นป้องกันด้วยการเลี้ยงดู เช่น

  • สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่เด็กโดยการให้ดื่มนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารต้านไวรัสและแบคทีเรียชนิดต่างๆ ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้แก่เด็ก
  • รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ หรืออุ่นอาหารให้ร้อนก่อนรับประทาน
  • ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังขับถ่าย
  • จัดสุขลักษณะภายในบ้านให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น
  • ที่สำคัญหากมีเด็กป่วยโรคไวรัสลงกระเพาะอยู่ภายในบ้านหรืออยู่ห้องเรียนเดียวกัน ผู้ปกครองหรือครูผู้ดูแล ควรแยกเด็กป่วยและเด็กปกติออกจากกัน เพราะเชื้อโรคสามารถปนเปื้อนมากับน้ำมูก น้ำลาย การไอจามรดกัน และการใช้ของร่วมกัน

 

ที่มา : https://www.thaihealth.or.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ต่อมอดีนอยด์โต-ทอนซิลโต ปิดระบบทางเดินหายใจ จนลูกต้องผ่าตัดด่วน

ท้องเสีย โรต้าไวรัส เป็นเหตุ! แม่ต้องกำจัดผ้าอ้อมให้ถูกวิธี ทำความสะอาดห้องน้ำให้เอี่ยม

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์

 

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก กลุ่มเสี่ยง 3 เดือน ถึง 3 ขวบ แม่ประมาทลูกช็อกจนตายได้!
แชร์ :
  • ทารกเป็นหวัด ลูกยังเล็กมากจะเป็นอะไรไหม วิธีป้องกันทารกเป็นหวัด ทำแบบนี้

    ทารกเป็นหวัด ลูกยังเล็กมากจะเป็นอะไรไหม วิธีป้องกันทารกเป็นหวัด ทำแบบนี้

  • คนท้องรับมือยังไงกับ ไวรัสโคโรน่า Covid-19 เตรียมตัวรับมือถ้าท้องหรือมีลูก

    คนท้องรับมือยังไงกับ ไวรัสโคโรน่า Covid-19 เตรียมตัวรับมือถ้าท้องหรือมีลูก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ทารกเป็นหวัด ลูกยังเล็กมากจะเป็นอะไรไหม วิธีป้องกันทารกเป็นหวัด ทำแบบนี้

    ทารกเป็นหวัด ลูกยังเล็กมากจะเป็นอะไรไหม วิธีป้องกันทารกเป็นหวัด ทำแบบนี้

  • คนท้องรับมือยังไงกับ ไวรัสโคโรน่า Covid-19 เตรียมตัวรับมือถ้าท้องหรือมีลูก

    คนท้องรับมือยังไงกับ ไวรัสโคโรน่า Covid-19 เตรียมตัวรับมือถ้าท้องหรือมีลูก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ