X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขข้อสงสัย 7 เรื่องจริงของการให้ลูกกินนมแม่หลัง 1 ขวบ

16 Sep, 2016

คุณแม่ท่านไหนยังคงให้นมลูกหลัง 1 ขวบหรือมากกว่านั้นอยู่ ยกมือขึ้น.. คุณแม่หลายคนอาจจะเจอคำถามจากคนรอบข้างว่า ลูกโตแล้วยังกินนมแม่อยู่อีกหรือ เลย 1 ปีแล้วนมแม่ยังมีประโยชน์จริงหรือ หลัง 1 ปีนมแม่จะยังคงมีสารอาหารไหม และอีกหลายคำถามสารพัด

ไขข้อสงสัย 7 เรื่องจริงของการให้ลูกกินนมแม่หลัง 1 ขวบ

ไขข้อสงสัย 7 เรื่องจริงของการให้ลูกกินนมแม่หลัง 1 ขวบ

วันนี้เรามาไข้ข้อสงสัยกับคำถามเหล่านี้ และมายืนยันกันว่าการให้ลูกได้กินนมแม่ยิ่งนานยิ่งดี เพราะ “นมแม่” แน่ที่สุดกันค่ะ
#สารอาหารในนมแม่ ลดลง (หรือหมดไป) หลังขวบปีแรกจริงหรือ

#สารอาหารในนมแม่ ลดลง (หรือหมดไป) หลังขวบปีแรกจริงหรือ

ความจริง : นมแม่มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งสำหรับลูกแรกเกิด ถึงแม้หลังจาก 1 ปีแรกแล้วก็ตาม แต่เด็กหลัง 1 ขวบจำเป็นจะต้องได้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และได้รับสารอาหารจากแหล่งอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการกินนมแม่เป็นอาหารเสริม เพื่อการเจริญเติบโตและแข็งแรงอย่างสมวัย
# การให้นมแม่กับลูกวัยเตาะแตะคุณค่าจะลดลงจริงหรือ

# การให้นมแม่กับลูกวัยเตาะแตะคุณค่าจะลดลงจริงหรือ

ความจริง : ความถี่และระยะเวลาในการให้นมแม่กับลูกที่เกิน 1 ขวบนั้นจะแตกต่างกันไปเป็นรายบุคคล ความต้องการของสารอาหารในนมแม่จะลดลงเมื่อลูกเริ่มอายุมากขึ้น เพราะเด็กจะต้องได้รับสารอาหารอื่น ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากนมแม่ แต่ที่แน่ ๆ การให้ลูกได้กินนมแม่หลัง 1 ขวบหรือในวัยเตาะแตะนั้นจะคงทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นและภูมิคุ้มกันที่สำคัญมากสำหรับเด็กวัยนี้
#แม่ที่ให้นมลูกนาน ๆ จะไม่รู้จักการปลอบโยนลูกด้วยวิธีอื่น

#แม่ที่ให้นมลูกนาน ๆ จะไม่รู้จักการปลอบโยนลูกด้วยวิธีอื่น

ความจริง : ถึงแม้การให้ลูกนมแม่จะเป็นวิธีที่ใช้ปลอบประโลมให้ลูกสบายใจได้ แต่คุณแม่ก็ยังสามารถหาวิธีอื่น ๆ ที่คอยปลอบและทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้นได้ เช่น การโอบกอด พูดคุย ฯลฯ

Read : วิธีปลอบลูกน้อยงอแงที่ช่วยให้คุณแม่หายเหนื่อย
#การให้ลูกกินนมแม่หลัง 1 ขวบจะทำให้เด็กจิตใจผิดปกติ ไม่เป็นตัวของตัวเองจริงหรือ

#การให้ลูกกินนมแม่หลัง 1 ขวบจะทำให้เด็กจิตใจผิดปกติ ไม่เป็นตัวของตัวเองจริงหรือ

ความจริง : จากการศึกษาทางวิชาการและประสบการณ์ของแม่ทั่วโลกพบว่า เด็กวัยเตาะแตะที่กินนมแม่จะช่วยในการปรับตัวในเชิงของอารมณ์และการเข้าสังคมได้ดี ดังนั้นการที่ลูกวัยเตาะแตะยังคงกินนมแม่ จะช่วยทำให้ลูกมีความมั่นใจ และเป็นตัวของตัวเองยิ่งขึ้น โดยทาง American Academy of Pediatrics ระบุว่าการให้นมแม่นั้นไม่ควรจำกัดอายุว่าจะให้จนลูกถึงอายุเท่าไหร่ และไม่พบหลักฐานว่าการให้นมแม่นาน ๆ นั้นจะส่งผลกระทบในทางลบต่อจิตใจและพัฒนาการของเด็ก และการให้นมแม่ยิ่งนานมีผลดีและไม่ส่งผลเสียทั้งแม่และลูก ส่วนอายุในการหย่านมด้วยตนเองของเด็กคือประมาณ 2-7 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคน
#การให้นมลูกระหว่างการตั้งครรภ์นั้นไม่ปลอดภัยจริงหรือ

#การให้นมลูกระหว่างการตั้งครรภ์นั้นไม่ปลอดภัยจริงหรือ

ความจริง : แม่สามารถให้นมลูกคนแรกระหว่างตั้งครรภ์ลูกคนที่สองได้ และหลังจากช่วงสองไตรมาสควรจะค่อย ๆ ลดการให้นม และควรหยุดให้นมลูกเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 (หากมีประวัติแท้งคุกคาม)
#ให้ลูกกินนมแม่นานๆ จะยิ่งทำให้หย่านมลูกยากมากขึ้นจริงหรือ

#ให้ลูกกินนมแม่นานๆ จะยิ่งทำให้หย่านมลูกยากมากขึ้นจริงหรือ

ความจริง : ระยะเวลาและอายุของลูกที่ยังกินนมแม่นานไม่ได้เกี่ยวกับความยากง่ายในการหย่านม เพราะเด็กแต่ละคนมีความพร้อมแตกต่างกันไป หากถึงเวลาที่คุณแม่ต้องการหย่านม อาจจะค่อย ๆ ชวนให้ลูกหย่านมด้วยวิธีต่าง ๆ หรือเบี่ยงเบนความสนใจด้วยกิจกรรมอื่น ๆ จนลูกพร้อมที่จะเลิกกินนมแม่ไปเอง

Read : หย่านมแม่อย่างไรไม่ทำร้ายใจลูก
#ภูมิคุ้มกันในนมแม่จะหมดไปภายในไม่กี่เดือนแรกจริงหรือ

#ภูมิคุ้มกันในนมแม่จะหมดไปภายในไม่กี่เดือนแรกจริงหรือ

ความจริง : ตราบใดที่มีการผลิตของน้ำนม ภูมิภูมิคุ้มกันในนมแม่ยังมีอยู่เสมอ และภูมิคุ้มกันบางตัวจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ลูกเริ่มหย่านมแม่ ดังนั้นเด็กที่ได้กินนมแม่จะมีอัตราป่วยน้อยกว่าและหายเร็วกว่า
ถัดไป
img

บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ไขข้อสงสัย 7 เรื่องจริงของการให้ลูกกินนมแม่หลัง 1 ขวบ
แชร์ :
  • ไขข้อสงสัยทำไมทารกในครรภ์ชอบดิ้นตอนกลางคืน

    ไขข้อสงสัยทำไมทารกในครรภ์ชอบดิ้นตอนกลางคืน

  • เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

    เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ไขข้อสงสัยทำไมทารกในครรภ์ชอบดิ้นตอนกลางคืน

    ไขข้อสงสัยทำไมทารกในครรภ์ชอบดิ้นตอนกลางคืน

  • เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

    เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ