X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่สุดห่วง ลูกคลอดก่อนกำหนดเหตุเพราะน้ำคร่ำรั่ว

บทความ 3 นาที
แม่สุดห่วง ลูกคลอดก่อนกำหนดเหตุเพราะน้ำคร่ำรั่วแม่สุดห่วง ลูกคลอดก่อนกำหนดเหตุเพราะน้ำคร่ำรั่ว

เพราะน้ำคร่ำรั่ว ทำให้แม่ต้องคลอดน้องก่อนกำหนด และต้องผ่าตัดลำไส้เน่าและผ่าตัดหัวใจในที่สุด

คุณแม่ หนึ่งในสมาชิกเฟซบุ๊คนามว่า หัวใจเรา เต้นตรงกัน ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจดังอย่างคนท้องคุยกันว่า ตนได้คลอดน้องก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดนั้นเพียง 1.100 กรัม และน้ำหนักลงเหลือเพียง 1.060 กรัมเท่านั้น

จากการพูดคุยกับคุณแม่ ๆ เล่าว่า ท้องน้องได้หกเดือน จู่มาวันหนึ่งตอนเที่ยงคืน ก็มีน้ำใส ๆ ไหลออกมาตลอด โดยทีแรกแม่คิดว่าเป็นน้ำปัสสาวะ จึงรอดูถึงเช้าน้ำก็ยังคงไหลอยู่ คุณแม่จึงรีบไปหาหมอทันที หมอบอกว่าคุณแม่มีน้ำคร่ำรั่ว ให้นอนเฉย ๆ  คุณแม่ก็ทำตามที่หมอสั่งทุกอย่าง สองวันแล้วน้ำคร่ำก็ยังคงไหลอยู่ จึงรีบกลับไปพบหมออีกครั้ง

น้ำคร่ำรั่ว คลอดก่อนกำหนด

คราวนี้หมอให้ทำอัลตร้าซาวด์เพื่อดูปริมาณของน้ำคร่ำ และพบว่า น้ำคร่ำนั้นเหลือน้อยมาก หมอจึงแนะนำว่า ควรที่จะเอาเด็กออกโดยเร็วที่สุด พอคุณแม่ได้ยินแค่นั้นก็ถึงกับทรุดทันที เพราะกลัวว่าน้องจะไม่อยู่กับคุณแม่แล้ว แต่โชคดีที่หมอยังได้ยินเสียงหัวใจของน้องเต้นอยู่ แต่หมอก็ยังคงยืนยันว่าควรที่จะเอาเด็กออก จึงใส่ยาสอดเข้าไปก่อนหนึ่งเม็ด สักพักแม่ก็เริ่มมีอาการปวดท้อง หมอบอกว่าต้องทานถึงสี่เม็ด มดลูกถึงจะเปิด

แต่ด้วยความที่แม่ทนปวดไม่ไหว หมอจึงได้ผ่าเข้าห้องคลอดทันที ตอนที่อยู่ในห้องคลอดนั้น หมอบอกแม่ว่า น้องไม่อยู่แล้ว หัวอกแม่แทบแตกสลาย แต่พอคุณแม่ฮึดเบ่งอีกครั้งก็ได้ยินเสียงน้องร้องดังมาก น้องคลอดออกมาด้วยน้ำหนักตัวเพียง 1,100 กรัม หมอบอกว่าอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน ซึ่งหมอจะนำตัวน้องส่งไปยังโรงพยาบาลพระจอมเกล้า เนื่องจากคุณแม่ติดเชื้อทำให้ต้องนอนอยู่ที่โรงพยาบาลท่ายางต่ออีกสามสี่วัน

พอน้องอยู่โรงพยาบาลพระจอมเกล้าได้เพียงอาทิตย์เดียว หมอก็บอกว่า น้องต้องผ่าตัดลำไส้ ซึ่งโอกาสรอดนั้นมีเพียง 20% เท่านั้น และน้องมีโอกาสที่จะเสียชีวิตในระหว่างทางที่นำตัวน้องส่งไปโรงพยาบาลเด็กมากถึง 70% คุณแม่ร้องไห้แทบไม่หยุด เพราะรู้สึกสงสารลูกแล้วกลัวเป็นอย่างมาก

เมื่อถึงโรงพยาบาลเด็ก ก็ใช่ว่าจะผ่าตัดได้เลย เพราะหมอต้องดูก่อนว่าเกร็ดเลือดของน้องอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ โชคดีที่ผลออกมาดี คุณหมอเลยทำการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี โดยในระหว่างนี้ คุณหมอไม่อนุญาตให้นมแม่ ให้น้องทานแต่โปรตีนและน้ำเกลือเท่านั้น น้องต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและเครื่องดูดเสมหะตลอด ซึ่งในตอนแรกน้องมีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วย แต่ก็ดีขึ้นมากแล้ว โดยไม่นานมานี้ คุณแม่ได้รับข่าวร้ายจากทางคุณหมออีกครั้งว่า น้องต้องทำการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งหลังจากที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว อาการของน้องยังคงต้องเฝ้าระวังตลอดเวลา

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณแม่และน้องจะผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ไปได้โดยเร็วนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

เพราะอะไร ทำไมถึงน้ำคร่ำถึงแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ร่วมหาคำตอบได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด คืออะไร ?

หากถึงกำหนดคลอด ถุงน้ำคร่ำจะแตกออก และน้ำคร่ำจะไหลออกทางช่องคลอด การเกิดเหตุการณ์นี้เราเรียกว่า น้ำเดิน หรือ SROM  ซึ่งคุณแม่จะมีเวลาพอที่จะโทรศัพท์ไปหาแพทย์ หรือเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งหากทารกคลอดในเวลานี้ ก็จะถือว่าเป็นการคลอดที่ปกติสมบูรณ์แบบ แต่หากน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกตั้งแต่สัปดาห์ที่ 37 หรือ 38 เราจะเรียกว่า ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด หรือ PROM ซึ่งปริมาณน้ำคร่ำที่ออกมาจะมากหรือน้อยก็ได้

น้ำคร่ำโดยปกติจะมีสีใส แต่บางครั้งก็อาจมีเลือดปะปนทำให้เห็นเป็นสีชมพู สีเขียว หรือสีน้ำตาล เราสามารถสังเกตความแตกต่างระหว่างน้ำคร่ำ และน้ำปัสสาวะได้ เพราะน้ำคร่ำจะไหลต่อเนื่องโดยเราไม่สามารถควบคุมให้หยุดได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอาการปัสสาวะรั่ว หรือถุงน้ำคร่ำแตก ?

หากพบว่ามีของเหลวไหลออกทางช่องคลอด คุณแม่ต้องสังเกตที่ความต่อเนื่องของการไหลเป็นหลัก ซึ่งหากเป็นน้ำคร่ำคุณแม่จะไม่สามารถควบคุมการหยุดได้ ซึ่งแตกต่างจากน้ำปัสสาวะ คือสามารถบังคับให้หยุดไหลได้

เมื่อแน่ใจว่าของเหลวที่ไหลออกมาเป็นน้ำคร่ำ ให้ใช้ผ้าอนามัยใส่ที่กางเกงใน และเมื่อผ้าอนามัยซับน้ำจนชุ่มก็ต้องเอาออกเพื่อตรวจสอบสี และกลิ่นของน้ำคร่ำ หากเป็นน้ำคร่ำ มันจะใสไม่มีสี และมีกลิ่นหอม ซึ่งหากตรวจดูแล้วว่าเป็นน้ำคร่ำจริงก็ต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเตรียมการ คลอดทันที น้ำคร่ำที่ไหลออกมาอาจทำให้คุณแม่และทารกมีโอกาสติดเชื้อได้

อะไรคือสาเหตุของถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ?

การแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนเจ็บท้องคลอดอาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันดังนี้

  • มารดาเคยมีประวัติถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดมาก่อน
  • การติดเชื้อในช่องคลอด มดลูกหรือปากมดลูก
  • การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • แรงตึงมากเกินไปที่ผนังถุงน้ำคร่ำในกรณีทารกแฝดหรือทารกตัวใหญ่
  • เคยผ่าตัดมดลูกหรือปากมดลูกมาก่อน
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ดื่มสุรา ยาเสพติด หรือการขาดสารอาหาร

ขอขอบคุณ เพจคนท้องคุยกัน และคุณแม่ หัวใจเรา เต้นตรงกัน มากค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ทารกคลอดก่อนกำหนดเสี่ยงกระดูกพรุน

5 ประโยคให้กำลังใจ ที่ควรพูดกับพ่อแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่สุดห่วง ลูกคลอดก่อนกำหนดเหตุเพราะน้ำคร่ำรั่ว
แชร์ :
  • น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

    น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

  • อาบน้ำร้อน ติดนอนแช่น้ำร้อนจัดๆ ตอนท้องต้องระวัง!

    อาบน้ำร้อน ติดนอนแช่น้ำร้อนจัดๆ ตอนท้องต้องระวัง!

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

    น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

  • อาบน้ำร้อน ติดนอนแช่น้ำร้อนจัดๆ ตอนท้องต้องระวัง!

    อาบน้ำร้อน ติดนอนแช่น้ำร้อนจัดๆ ตอนท้องต้องระวัง!

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ