การเสริมหน้าอก ส่งผลต่อนมแม่อย่างไร
มีการศึกษาพบว่า การเสริมหน้าอกสามารถลดปริมาณนมแม่ได้ ทั้งนี้นมแม่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
-
ตำแหน่งของแผล
ตำแหน่งของแผลจะเป็นตัวกำหนดระดับความเสียหายของต่อมผลิตน้ำนม ท่อน้ำนม เส้นประสาท และเลือดที่มาหล่อเลี้ยงเต้านม ถ้าตำแหน่งแผลอยู่รอบขอบของหัวนม และลานนม อาจส่งผลต่อความรู้สึกบริเวณหัวนมและตัดเส้นประสาทที่จะเป็นในการหลั่งน้ำนม
-
ตำแหน่งที่เสริมหน้าอก
ตำแหน่งและขนาดของซิลิโคนสามารถส่งผลต่อแรงกดภายในเต้านม ซึ่งเต้านมประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่อมผลิตน้ำนมด้านบนชั้นกล้ามเนื้อ หากเสริมหน้าอกในตำแหน่งระหว่างเนื้อเยื่อต่อมและชั้นกล้ามเนื้อ จะมีแนวโน้มได้รับแรงกดลงบนต่อมและท่อน้ำนม ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการไหลของน้ำนมและลดปริมาณน้ำนมได้ แต่หากตำแหน่งที่เสริมหน้าอกอยู่ใต้ชั้นกล้ามเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำนมน้อยกว่า
-
เนื้อเยื่อแผลเป็นและอาการคัดเต้านม
เนื้อเยื่อแผลเป็นอาจทำให้เต้านมแข็ง ผิดรูป และเจ็บ ทั้งยังสามารถขยายเข้าไปในท่อน้ำนมและและส่งผลต่อการไหลของน้ำนม หากนมไม่สามารถไหลออกจากเต้าได้ คุณแม่อาจมีอาการคัดเต้านมอย่างมากและเกิดอาการเต้านมอักเสบได้
-
การทำงานของเนื้อเยื่อเต้านม
แม้ว่าการผ่าตัดเพื่อเสริมหน้าอกที่มีการพัฒนาผิดปกติ จะถูกระบุว่าอาจทำให้สูญเสียการทำงานของเนื้อเยื่อเต้านม ในกรณีเช่นนี้ อุปสรรคในการให้นมไม่ได้เกิดจากการเสริมหน้าอกโดยตรง แต่ปัญหาผิดปกติของหน้าอกสามารถทำให้การผลิตน้ำนมลดลงแม้จะยังไม่ได้เสริมหน้าอกก็ตาม
-
การผลิตน้ำนมที่ไม่สัมพันธ์กับการให้นมแม่
บางครั้งการเสริมหน้าอกอาจทำให้เกิดการผลิตน้ำนมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้นมแม่ หรือเกิดซีสต์ที่มีน้ำนมอยู่ภายใน ในกรณีเช่นนี้มักเกิดหลังการผ่าตัด ซึ่งจำเป็นต้องเอาซิลิโคนที่เสริมเข้าไปออก
ต่อมน้ำนม ท่อน้ำนม และเส้นประสาทที่เสียหายสามารถซ่อมแซมได้หรือไม่?
สามารถทำได้ค่ะ หลังจากการผ่าตัด ต่อมน้ำนม ท่อน้ำนม และเส้นประสาทที่เสียหายสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ เมื่อเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อต่อมจะพัฒนาต่อไปภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนการตั้งครรภ์และให้นมบุตร และพื้นที่ของเต้านมที่มีการทำงานตามปกติอาจช่วยชดเชยพื้นที่เสียหายๆ ได้ เพียงแต่หลังการผ่าตัด อาจผลิตน้ำนมได้แค่บางส่วนสำหรับลูกคนแรก แต่น้ำนมจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีลูกคนต่อๆ ไป
การเสริมหน้าอกปลอดภัยไหม หากให้ลูกกินนมแม่?
แม้ว่า การเสริมหน้าอกอาจส่งผลต่อปริมาณน้ำนม แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าการเสริมหน้าอกเป็นอันตรายต่อทารกที่กินนมแม่ โธมัส เฮล ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่ กล่าวว่า ซิลิโคน ที่ใช้เสริมหน้าอก ไม่มีแนวโน้มที่จะถูกดูดซึมในทางเดินอาหารโดยทารกที่กินนมแม่
ในขณะที่ นักวิจัยบางคน พบว่าเมื่อ ซิลิโคนอยู่ภายในร่างกาย อาจมีแนวโน้มที่จะอักเสบและเกิดปัญหาสุขภาพตามมา อย่างไรก็ตาม การเสริมหน้าอกอาจมีผลต่อทารกในครรภ์หรือทารกที่กินนมแม่หรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนและยังคงต้องมีจำเป็นต้องมีการศึกษาระยะยาวอื่นๆ เพิ่มเติมค่ะ
แปลและเรียบเรียงจาก breastfeeding.support/breastfeeding-with-implants/
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดอกคุย!! แม่ทำนม เสริมหน้าอก ให้นมลูกได้หรือไม่?
9 ปัญหายอดนิยม กับทางแก้ของแม่ให้นม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!