X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หยุดกังวลได้แล้ว เพราะเรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติของเด็กแรกเกิด

บทความ 3 นาที
หยุดกังวลได้แล้ว เพราะเรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติของเด็กแรกเกิด

แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่าน ก็มักจะมีความกังวลกลัวว่าลูกจะเป็นนั่นเป็นนี่จนพาลให้เกิดความเครียดกันอยู่บ่อย ๆ

เรื่องปกติของเด็กแรกเกิด

เพราะทารกแรกเกิดนั้น อยู่ในช่วงวัยที่มีภาวะหรืออาการต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง และนั่นก็มักจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ เกิดความวิตกกังวลขึ้นมาได้อยู่เสมอ เรามาดูกันว่า ภาวะแบบไหน ที่เป็น เรื่องปกติของเด็กแรกเกิด หรือภาวะที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพราะสามารถหายไปเองได้

1. ผิวหนังลอก

สำหรับทารกที่คลอดครบกำหนด ปกติแล้ว ในช่วง 1-2 วันแรก ผิวหนังจะยังไม่ลอก แต่พอหลังวันที่ 2 ผิวหนังลอกก็จะเริ่มกฎให้เห็น โดยเฉพาะที่มือและเท้า แต่ก็จะหายไปเองภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด โดยที่ไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปครับ

2. ตัวเหลือง

ตัวเหลือง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด มักจะพบตัวเหลืองในวันที่ 2-4 หลังคลอดเนื่องจากการทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ขับถ่ายสารเหลืองจากร่างกายได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้เกิดการคั่งในกระแสเลือด

ภาวะตัวเหลืองนี้สามารถป้องกันได้โดยการให้ทารกอยู่กับมารดาตลอดเวลาเพื่อดูดนมแม่บ่อย ๆ เพราะนมแม่จะช่วยกระตุ้นการขับถ่าย อย่างไรก็ตาม หากพบอาการตัวเหลืองมาก ควรพบคุณหมอเพื่อตรวจรักษาต่อไป

3. แหวะนม

หากว่าลูกดูดนมแล้ว แหวะน้ำนมออกมาเล็กน้อยอยู่บ่อย ๆ ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะครับ ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า หูรูดกระเพาะของทารกแรกเกิดนั้น ยังทำงานได้ไม่ดี ทำให้หูรูดปิดไม่สนิท จนทำให้ทารกแหวะนมเล็กน้อยหลังมื้อนม โดยอาจแหวะนมออกมาทางจมูกและปาก

ส่วนน้ำนมที่ลูกแหวะออกมานั้น อาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายเต้าหู้ จนคุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดคิดว่าน้ำนมไม่ย่อยหรือนมที่ให้ลูกไม่ดี แต่แท้ที่จริงแล้วนั่นก็เป็นเพราะ น้ำนมถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งเป็นขั้นตอนการย่อยนั่นเอง

การแหวะนมนั้น สามารถป้องกันได้โดยการไล่ลม หรือจับให้ทารกเรอ ร่วมกับการจัดให้ทารกนอนศีรษะสูง และตะแคงขวาหลังดูดนมประมาณครึ่งชั่วโมง เพราะท่านอนดังกล่าว จะทำให้หูรูดของกระเพาะอาหารอยู่สูง ทำให้นมไหลออกมาได้น้อย

วิธีการจับทารกเรอ

  1. จัดท่าให้ทารกนั่งตักหลังตรง ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ของคุณแม่ รองใต้คางลูก ส่วน 3 นิ้วที่เหลือไว้บริเวณใต้รักแร้ ลูบหลังหรือตบหลังเบา ๆ แล้วลูกจะเรอออกมาเอง
  2. อุ้มลูกพาดบ่าในท่านอนคว่ำ ให้คางลูกเกยบนไหล่คุณแม่พอดี แล้วลูกก็จะเรอออกมาเอง หรือหากคุณแม่ตบหลังลูกเบา ๆ ลูกจะเรอออกมาเช่นกัน

4. การสะดุ้งหรือผวา

หลายครั้งที่ลูกน้อยมักจะมีอาการสะดุ้ง หรือผวา จนผู้ที่เป็นพ่อเป็นแม่ตกใจไปด้วย ซึ่งอาการสะดุ้ง หรือผวาเวลามีเสียง หรือเวลาทารกถูกสัมผัสตัว ถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในทารกแทบทุกคน ซึ่งนั่นก็บ่งบอกได้ว่า ระบบประสาทของทารกทำงานได้ดี ทารกจะมีอาการผวาได้จนถึงอายุประมาณ 6 เดือน

เรื่องปกติของเด็กแรกเกิด

5. สะอึก

โดยมากแล้ว ทารกจะสะอึกหลังดูดนม นั่นก็เป็นเพราะการทำงานของกะบังลมยังไม่ปกติ และส่วนยอดของกระเพาะอาหารที่ขยายตัวจากน้ำนม และลมที่กลืนลงสู่กระเพาะสัมผัสกะบังลม

หากทารกสะอึก แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทำการไล่ลม โดยจับทารกนั่ง หรืออุ้มพาดบ่าสักครู่แล้วอาการสะอึกก็จะหายไปเอง

6. การจาม 

การจาม เป็นภาวะปกติที่พบได้ในทารกแรกเกิดแทบจะทุกคน แม้ว่าทารกไม่ได้เป็นหวัดก็ตาม ส่วนสาเหตุที่ทำให้ทารกจามบ่อย ส่วนมากเกิดจากการมีฝุ่นละออง หรือน้ำเมือกในจมูกแห้งแล้วทำให้เกิดการระคายเคือง ทำให้ทารกคันจมูกและจาม

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทั่วไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่จะนิ่งนอนใจ จนลืมสังเกตอาการผิดปกติอื่น ๆ นะครับ เพราะเด็กในวัยนี้ยังสื่อสารออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ คุณจึงต้องคอยใส่ใจเป็นพิเศษ หากมีอะไรผิดปกตินอกเหนือไปจากนี้ หรือมีอาการที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล ก็ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อขอคำปรึกษาจะดีที่สุด


อ้างอิงข้อมูลจาก phyathai.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

สังเกตให้ดี 5 อาการแบบนี้ ต้องพาลูกไปหาหมอโดยเร็ว

ทารกเป็นหวัด พ่อแม่ทำอย่างไรดี?

เล่นอย่างไร ให้ลูกหัวไว ในช่วงขวบปีแรก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • หยุดกังวลได้แล้ว เพราะเรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติของเด็กแรกเกิด
แชร์ :
  • ระยะสายตาทารก ห่างแค่ไหนถึงเห็นชัด

    ระยะสายตาทารก ห่างแค่ไหนถึงเห็นชัด

  • Top 10 ปี 2016 เรื่องน่ารู้ของเด็กแรกเกิด และวิธีตั้งชื่อลูก

    Top 10 ปี 2016 เรื่องน่ารู้ของเด็กแรกเกิด และวิธีตั้งชื่อลูก

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ระยะสายตาทารก ห่างแค่ไหนถึงเห็นชัด

    ระยะสายตาทารก ห่างแค่ไหนถึงเห็นชัด

  • Top 10 ปี 2016 เรื่องน่ารู้ของเด็กแรกเกิด และวิธีตั้งชื่อลูก

    Top 10 ปี 2016 เรื่องน่ารู้ของเด็กแรกเกิด และวิธีตั้งชื่อลูก

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ