X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องต้องระวังบนหนังศรีษะลูก อะไรทำได้ อะไรไม่ควรทำ

บทความ 5 นาที
เรื่องต้องระวังบนหนังศรีษะลูก อะไรทำได้ อะไรไม่ควรทำ

หนังศรีษะลูกก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่พ่อแม่ต้องดูแลใส่ใจ เรามาดูกันว่า มีอะไรบ้างที่เราต้องมาดูแล

เรื่องต้องระวังบนหนังศรีษะลูก หนังศีรษะเป็นตุ่มหนอง โรคอะไรบ้างที่อาจเกิดขึ้นได้กับหนังศีรษะของลูก เพราะผิวของเด็กทารกยังคงบอบบาง หากไม่ดูแลรักษาให้ถูกวิธี ก็อาจจะทำให้เป็นโรคผิวหนังได้

เรื่องต้องระวังบนหนังศีรษะลูก ฝีที่หัว สะเก็ดบนหัวลูก

หัวเป็นตุ่ม ฝีที่หัว สะเก็ดบนหัวลูก เรื่องต้องระวังบนหนังศรีษะลูก มีอะไรบ้าง

# คราบสะเก็ดหนาๆ

คราบสะเก็ดหนา ๆ ที่เห็นบนศีรษะของเจ้าตัวน้อย พบได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยค่ะ  เป็นคราบไขมันตั้งแต่แรกเกิดที่แห้งกรังอยู่ที่กลางกระหม่อม  มีลักษณะเป็นแผ่นหนาออกสีเหลือง ๆ

ควรทำ  คราบสะเก็ดสีขาวที่ติดบนหนังศีรษะทารก  ให้คุณแม่ใช้น้ำมัน Baby Oil หรือจะใช้น้ำมันมะกอกก็ได้นะคะ  ให้ทาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป หลังจากนั้นสระผมล้างออกด้วยแชมพูสำหรับเด็ก ไม่ควรใช้แชมพูที่มีตัวยาฆ่าเชื้อหรือสารที่ใช้รักษารังแคที่ผู้ใหญ่ใช้กันนะคะ  แต่ถ้าเกิดมีผื่นขึ้นตามตัวด้วยควรไปพบคุณหมอดีที่สุดคะ  เพราะอาจเกิดการแพ้หรือการอักเสบของผิวหนังได้

ไม่ควรทำ  ห้ามใช้เล็บขูดหนังออกนะคะจะทำให้หนังศีรษะเป็นแผล   เพราะสะเก็ดเหล่านี้จะค่อย ๆ หลุดไปเองภายใน     1 – 2 สัปดาห์  ที่สำคัญอย่าซื้อยาสเตียรอยด์มาทาผิวหนัง  ทารกน้อยยังมีผิวหนังที่บอบบางมากทำให้ดูดซึมยาได้มาก อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้

 

Advertisement

# ติดเชื้อแบคทีเรีย หนังศีรษะเป็นตุ่มหนอง

การติดเชื้อแบคทีเรียอาจเกิดจากใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าขนหนูร่วมกัน  นอนหมอนใบเดียวกัน  หนังศีรษะที่เป็นตุ่มหนองบริเวณรูขุมขนของเส้นผมหรืออาจเป็นฝี เป็นตุ่มแดงที่อาจเกิดขึ้นตามหลังจากผดผื่นคันได้

ควรทำ  คุณแม่ต้องหมั่นอาบน้ำสระผมให้ทารกน้อยบ่อย ๆ โดยเฉพาะในหน้าร้อนเพื่อไม่ให้เกิดผดผื่น  หากเป็นฝีหรือหนอง ควรพบคุณหมอ เพราะอาจต้องให้ทานยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาเพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้น

ไม่ควรทำ  ห้ามแกะ เกา ศีรษะของลูกเด็ดขาดเพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ผิวหนังได้

เรื่องต้องระวังบนหนังศรีษะลูก ฝีที่หัว สะเก็ดบนหัวลูก

หัวเป็นตุ่ม ฝีที่หัว สะเก็ดบนหัวลูก เรื่องต้องระวังบนหนังศรีษะลูก อะไรทำได้ อะไรไม่ควรทำ

# ผดผื่น

ต่อมเหงื่อของเด็กทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้การขับเหงื่อไม่สะดวก  ก่อให้เกิดการอุดตันของท่อเหงื่อ ผิวหนังจะเกิดการอักเสบเป็นผื่นแดงเล็ก ๆ ตรงกลางจะมีตุ่มน้ำใส ๆ หรือบางครั้งจะเป็นตุ่มหนองเล็ก ๆ ขึ้นได้

ควรทำ  อาบน้ำหรือเช็ดตัวบ่อย ๆ ควรตัดผมให้สั้น และจะได้ไม่อบเหงื่อ

ไม่ควรทำ  ไม่ควรให้ทารกน้อยอยู่ในที่ร้อนอบอ้าว อึดอัด  และไม่ควรใส่เสื้อหรือห่อหุ้มทารกจนหนาเกินไป

 

# กลากหรือเชื้อรา

ตามปกติแล้วจะไม่ค่อยพบกลากที่ศีรษะของทารก มักจะพบในเด็กวัยเรียนมากกว่าโดยเฉพาะเด็กผู้ชาย  สำหรับเชื้อราอาจจะติดต่อได้จากคนในบ้าน เช่น  การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน  หรือการใช้หวีร่วมกัน เป็นต้น

ควรทำ  ลักษณะของเชื้อกลากอาจจะมองเห็นไม่ชัดเจนเป็นวงขอบเหมือนเชื้อรา หรืออาจจะมีหย่อมเป็นผมร่วงหรือผมหักมีขุยที่รากผม หรือมีสะเก็ดสีขาว ๆ เมื่อพบเช่นนี้ควรพาไปหาคุณหมอ เพราะหากเป็นกลากจะต้องทานยา ต้องให้คุณหมอตรวจดูก่อนนะคะ  เพื่อสั่งยาตามอาการ

ไม่ควรทำ  ไม่ควรใช้ของปะปนกัน  โดยเฉพาะเด็กทารก  ผ้าเช็ดตัวหรือของใช้ของทารกไม่ควรปะปนกับผู้อื่นหรือแม้แต่พี่ของทารกน้อยเอง ผิวเด็กบอบบางมากอาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

 

วิธีสระผมทารก สำหรับคุณแม่มือใหม่

บทความ : วิธีสระผมเด็กอ่อน สำหรับพ่อแม่มือใหม่

เชื่อว่าต้องมีคุณแม่มือใหม่หลายคนกลัวการอาบน้ำ สระผมให้ลูก ไม่น้อย โดยเฉพาะลูกเบบี๋แรกเกิดที่ยังตัวน้อย ๆ เพราะด้วยความที่กลัวลูกจะหลุดมือ กลัวจะจับตัวแรงไปจนลูกเจ็บ กลัวน้ำเข้าหู เข้าตา เข้าจมูกลูก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ทางโรงพยาบาล คุณพยาบาลก็สอน และให้ลองฝึกมาแล้ว แต่สุดท้ายพอกลับบ้านก็ยกหน้าที่นี้ให้คุณย่าคุณยายทุกที

หรือก็มีคุณแม่มือใหม่บางคนที่ไม่กลัว แต่ก็สงสัยว่าควร สระผมทารกทุกวัน หรือไม่? ทารกควรสระผมกี่ครั้ง หรือควรสระให้ผมให้ลูกตอนไหน สระบ่อยแค่ไหน และสระแบบนี้ถูกวิธีหรือไม่สำหรับเรื่องนี้ แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด ได้ให้คำแนะนำ ว่า…

ความถี่ในการสระผมของลูกน้อย ขึ้นอยู่กับความสกปรกของเส้นผม สำหรับลูกวัยเตาะแตะ หากลูกเล่นนอกบ้าน คลุกดินคลุกทราย กินอาหารเองจนเลอะไปทั้งตัวกระทั่งเส้นผม หรือเป็นเด็กเหงื่อออกมาก ทำให้ศีรษะเหม็นเหงื่อ และคัน คุณแม่ก็ควรสระผมลูกให้สะอาดก่อนเข้านอน และเป่าผมด้วยลมไม่ร้อนให้ผมแห้งสนิท เพื่อให้ร่างกายสะอาดทั้งตัว เมื่อนอนบนที่นอนจะได้ไม่มีความสกปรกหรือกลิ่นเหม็นติดอยู่บนที่นอน หรือเป็นเศษอาหารของหนู และแมลง จากที่ลูกไปคลุกคลีมาเมื่อตอนกลางวัน

ส่วนในกรณีที่สระผมตอนเช้าอาจไม่จำเป็น หากตอนกลางคืนลูกไม่ได้มีเหงื่อออกมากจนศีรษะเหม็นอีกครั้ง ในกรณีที่ลูกไม่ได้เล่นหรือกินเลอะจนเส้นผมสกปรกหรือเหม็น อาจสระวันเว้นวันหรือเว้นสองวันก็ได้ค่ะ

สำหรับผิว และเส้นผมของเด็กทารกนั้นจะมีความอ่อนบางที่ต้องการการดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ ซึ่งนอกจากการทำความสะอาดร่างกายแล้ว เรื่องการสระผมของลูกนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน

เรื่องต้องระวังบนหนังศรีษะลูก ฝีที่หัว สะเก็ดบนหัวลูก
บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

หัวเป็นตุ่ม ฝีที่หัว สะเก็ดบนหัวลูก วิธีการสระผมทารกที่ถูกต้อง

มาลองดู วิธีสระผมเด็ก ทารกตามคลิปนี้กันค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 : ใช้มือข้างที่ถนัดประคองคอ และศีรษะลูกไว้ และใช้แขนหนีบลำตัวลูกให้เข้ากับตัว จากนั้นใช้นิ้วมือข้างที่ประคองปิดใบหูลูกทั้งสองข้างไว้เบา ๆ เพื่อป้องกันน้ำเข้าหูลูกในขณะที่สระผม

ขั้นตอนที่ 2 : ใช้ฟองน้ำชุบน้ำค่อย ๆ เช็ดบนศรีษะลูก หากไม่ใช้ฟองน้ำก็ใช้มือค่อย ๆ กวักน้ำมาลูบผมลูกแทนได้  จากนั้นใช้แชมพูสำหรับสระผมเด็กอ่อน บีบใส่ฟองน้ำ นำไปลูบศรีษะลูกอย่างแผ่วเบาให้ทั่ว ๆ หรือจะใช้ปลายนิ้วมือค่อย ๆ นวดคลึงศรีษะลูก ซึ่งจะช่วยให้ลูกรู้สึกสบาย และผ่อนคลายได้ด้วย

ขั้นตอนที่ 3 : ล้างแชมพูออกด้วยวิธีเดียวกับขั้นตอนที่ 2 คือทำให้ผมลูกเปียกด้วยฟองน้ำหรือการกวักน้ำ โดยทำความสะอาดฟองออกให้หมด

ขั้นตอนที่ 4 : ใช้ผ้าขนหนูค่อยๆ ซับผมลูกให้แห้ง หรือวางตัวลูกบนเบาะนอนที่มีผ้าขนหนูปูรองไว้ เช็ดผมของลูกให้แห้ง ใช้ก้านสำลีเช็ดบริเวณใบหูเพื่อซับน้ำบริเวณนั้น

ที่มา : www.babimild.com

_________________________________________________________________________________________

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.healthandtrend.com

https://baby.kapook.com

เครดิตภาพจาก https://en.wikipedia.org

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

อากาศร้อน ระวังโรคผิวหนังจากเชื้อราในเด็ก

สิวในทารกแรกเกิดใช่โรคผิวหนังหรือเปล่า?

โรคเด็กผีเสื้อ คืออะไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Weerati

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เรื่องต้องระวังบนหนังศรีษะลูก อะไรทำได้ อะไรไม่ควรทำ
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว