X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 วิธีเปลี่ยนลูกน้อย จาก “หนูไม่สู้!” เป็น “หนูทำได้!”

บทความ 3 นาที
4 วิธีเปลี่ยนลูกน้อย จาก “หนูไม่สู้!” เป็น “หนูทำได้!”

ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะสอนให้ลูกน้อยของคุณลุกขึ้นมามีความมั่นใจ พร้อมเผชิญทุกสถานการณ์ มาดูเคล็ดลับเปลี่ยนลูกน้อยจาก “หนูไม่สู้ !”เป็น“ หนูทำได้ !” กันครับ

เปลี่ยนลูกน้อยจาก “หนูไม่สู้ !” เป็น “ หนูทำได้ !”

โดยทั่วไปแล้ว เด็กจะมีลักษณะอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรกคือ “ หนูทำได้ !” และอีกประเภทคือ “หนูไม่สู้!” เด็กหลายคนสามารถพัฒนาจาก “หนูไม่สู้” จนกลายเป็น “ หนูทำได้ !” ได้ไม่ยากเมื่อเด็กโตขึ้น แต่เด็กหลายคนโตขึ้นมาแล้วก็ยังคงเป็น“หนูไม่สู้!” เหมือนเดิม

หากลูกน้อยของคุณเป็น “หนูไม่สู้!” ทุกอย่างในชีวิตเด็กน้อยไล่เลียงไปตั้งแต่แต่งตัว ทำการบ้าน ทำความสะอาดล้วนเป็นปัญหายักษ์เสมอ

แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งกังวลไปครับ ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะสอนให้ลูกน้อยของคุณลุกขึ้นมามีความมั่นใจ พร้อมเผชิญทุกสถานการณ์ และบางทีลูกอาจพัฒนาได้ด้วยตัวเองด้วย ลองมาดูกันครับว่ามีเคล็ดลับอะไรช่วยให้ลูกน้อยมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

1.เลิกช่วยลูก

พ่อแม่หลายคนรีบกระโดดเข้าไปช่วยลูกทันที เมื่อเห็นลูกต้องเจอปัญหา แต่นั่นกลับทำให้เด็กยิ่งอ่อนแอ และกลายเป็น “หนูไม่สู้!” ในที่สุด

กลับกัน คุณพ่อคุณแม่ลองช่วยเหลือเขาแบบอ้อมๆ เช่น พูดว่า “หนูลองซักผ้าดูไหม ซักไม่เป็นก็ไม่เป็นไร ลองทำดูก่อนไหม เดี๋ยวพ่อกับแม่จะค่อยๆ บอกวิธีซักผ้า ง่ายนิดเดียวเองนะ”  ค่อยๆ สอนเขาช้าๆ ให้หัดทำทีละอย่าง และควรให้เด็กลองทำเองก่อน โดยที่ไม่ต้องช่วยเหลือ เพราะเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการลงมือทำ จากนั้นจึงบอกเขาว่าควรทำอย่างไร เพราะฉะนั้น หากต้องการให้ลูกทำอะไรเป็น คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ลูกลองทำ ลองผิดลองถูก แล้วพ่อแม่ค่อยทำให้ดูและให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองครับ

หนูทำได้

2.ช่วยได้ แต่อย่าช่วยทั้งหมด ให้ลูกทำขั้นสุดท้ายให้สำเร็จด้วยตัวเอง

หลายครั้ง เด็กแบบ “หนูไม่สู้!” มักจะประสบปัญหาง่ายๆ ตั้งแต่ถอดเสื้อเองไม่ได้ ผูกเชือกรองเท้าไม่สำเร็จในเด็กเล็ก ไปจนถึงปัญหายากๆ ในเด็กโต เช่น ทำการบ้านไม่ได้ หรือไม่ยอมทำควมสะอาดห้อง

ไม่ว่าจะอย่างไร คุณควรให้ลูกทำเองก่อน และรอจนมั่นใจว่าลูกทำไม่ได้จริงๆ ค่อยช่วยเหลือ แต่อย่าช่วยทั้งหมด ช่วยเพียงบางส่วน และให้ลูกทำขั้นตอนสุดท้ายด้วยตัวเอง จากนั้นเด็กจะรู้สึกดีที่ทำสำเร็จ ภาคภูมิใจว่าเขาทำได้ และเด็กจะค่อยๆ มั่นใจและกล้าทำสิ่งนั้นด้วยตัวเอง

ติดตาม วิธีเปลี่ยนลูกน้อย จาก “หนูไม่สู้!” เป็น “หนูทำได้!” ต่อในหน้าถัดไปครับ

3.เพิ่มความคิดด้านบวก ลดความคิดด้านลบ

เมื่อลูกทำสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมเติมความคิดเชิงบวก และเปลี่ยนความคิดเชิงลบของลูกด้วยนะครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าลูกงอแง ไม่ยอมทำ เพราะเคยทำแล้ว และทำไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดว่า “หนูบอกว่าทำไม่ได้ใช่ไหม แต่ถ้าถ้าหนูไม่ยอมแพ้ ยังไงหนูก็ทำได้อยู่แล้ว ลองทำเลยลูก!” การค่อยๆ เปลี่ยนความคิดแง่ลบของลูกที่คิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ช่วยให้ลูกค่อยๆ เปลี่ยนความคิดเชิงลบ และอยากจะทำหลายๆ สิ่งให้สำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ

4.ลูกเก่งเรื่องไหน ส่งเสริมให้ลูกเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้น

ถ้าคุณต้องการให้ลูกคุณเก่ง คุณต้องรู้ว่าลูกเก่งอะไร หากใครในครอบครัวต้องการรู้เรื่องที่ลูกของคุณเก่งหรือถนัด ก็ลูกเป็นคนให้คำตอบหรือช่วยเหลือ

การเน้นว่าลูกคุณเก่งอะไร จะช่วยให้ลูกของคุณมีความคิดแง่บวก มีความภาคภูมิใจในตัวเอง และช่วยให้ลูกของคุณมีความคิดว่า “หนูทำได้!” ได้จากจิตใต้สำนึกของเขาเอง

หนูทำได้

การมีลูกแบบ “หนูไม่สู้!” นั้นย่อมบั่นทอนจิตใจคนเป็นพ่อแม่ แม้ว่าเคล็ดลับด้านบนไม่อาจเปลี่ยนให้ลูกของคุณเป็น “ หนูทำได้ !” ได้ในเวลาข้ามคืน แต่การค่อยๆ ให้ลูกเรียนผิดถูกด้วยตัวเอง ส่งเสริมจุดเด่น และลบจุดด้อยของลูกเรื่อยๆ จะส่งผลให้ลูกของคุณมีความมั่นใจ และเติบโตอย่างมีความสุขได้ไม่ยากครับ

 

 


ที่มา anxioustoddlers

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

20 เรื่องเบสิกที่แม่ควรสอนลูกชายตั้งแต่เล็ก

ทำไมลูกน้อยชอบ… ทำไม ??

parenttown

บทความจากพันธมิตร
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
ผลวิจัยล่าสุด MFGM  สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
ผลวิจัยล่าสุด MFGM สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 4 วิธีเปลี่ยนลูกน้อย จาก “หนูไม่สู้!” เป็น “หนูทำได้!”
แชร์ :
  • แม่จ๋า...อยากรู้ไหม อะไรบ้างที่หนูไม่ชอบ

    แม่จ๋า...อยากรู้ไหม อะไรบ้างที่หนูไม่ชอบ

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • แม่จ๋า...อยากรู้ไหม อะไรบ้างที่หนูไม่ชอบ

    แม่จ๋า...อยากรู้ไหม อะไรบ้างที่หนูไม่ชอบ

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว