X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด ดียังไง แม่ท้องควรรู้ไว้

บทความ 3 นาที
ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด ดียังไง แม่ท้องควรรู้ไว้

เมื่อทารกคลอดออกจากครรภ์มารดา พิธีการสำคัญอันดับแรก คือการอาบน้ำและทำความสะอาดให้ทารกทันที แต่ปัจจุบันได้เกิดเทรนด์ใหม่ คือการไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด ซึ่งวิธีการนี้คือ ให้คุณแม่ได้อุ้มและอยู่กับลูกน้อยตั้งแต่คลอดออกมา โดยไม่ต้องอาบน้ำทำความสะอาดให้กับทารก คุณแม่บางท่านเลือกที่จะอยู่กับลูก และไม่อาบน้ำให้ทารกนานหลายวัน การทำแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับการเลื่อนเวลาการตัดสายสะดือนั่นเอง ซึ่งการไม่อาบน้ำให้ทารกทันทีเมื่อแรกคลอดนี้ ให้ประโยชน์กับทารกและคุณแม่มือใหม่อย่างมาก

ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด ดียังไง แม่ท้องควรรู้ไว้

แม่ท้องที่เพิ่งคลอดลูก บางคนเลือกให้ลูกไปอาบน้ำทำความสะอาดคราบเลือด ไขที่ติดตามตัวก่อน แต่กลับบางคนเลือกที่จะสัมผัส โอบกอดกับลูกทันที โดยที่น้องคุณพยาบาลยัง ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด เป็นเพราะอะไร ทำไมถึงมีคุณแม่เลือกจะทำแบบนี้กันเยอะ มาดูเหตุผลกันก่อนดีกว่า

 

การไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอดคืออะไร?

คุณแม่หลายท่านเลือกที่จะไม่อาบน้ำหรือทำความสะอาดไขและน้ำคร่ำที่ติดตัวทารก พวกเธอเลือกที่จะกอดลูกไว้เป็นอันดับแรกหลังจากที่คลอดลูกออกมา ทั้งนี้ เนื่องจากการได้อุ้มหรือกอดลูกน้อยไว้แนบออกตั้งแต่แรกคลอดเป็นการสร้างสายใยที่ดีระหว่างแม่และลูก และทำให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ทันที ส่งผลกับการกระตุ้นการให้นมแม่เป็นอย่างดี

คุณแม่ที่มีประสบการณ์การ ไม่อาบน้ำให้ทารกทันทีหลังคลอดนั้นบอกว่า พวกเธอมีช่วงเวลาที่ดีที่ได้กอดลูกไว้แบบนั้น กลิ่นของทารกแรกคลอด เป็นกลิ่นที่มหัศจรรย์ ถึงแม้พวกเธอจะไม่ยอมอาบน้ำให้ทารกแรกคลอดถึง 4 วันก็ตาม

 

ประโยชน์ของการไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด

ไขหุ้มทารกมีหน้าที่ช่วยปกคลุมร่างกายและผิวหนังของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งจะถูกสร้างเมื่ออายุครรภ์ได้ 18 สัปดาห์

ไขที่ห่อหุ้มทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ ช่วยสร้างความชุ่มชื่นให้กับผิวทารก และช่วยสร้างสิ่งหล่อลื่นให้ทารกสามารถคลอดผ่านช่องคลอดได้โดยง่าย และหลังจากที่คลอดออกมา ไขเหล่านี้ยังช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกายของทารกและปกป้องผิวอันบอบบางของทารกจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว

Laurie MacLeod พยาบาลผดุงครรภ์แห่ง the Ohio State University Wexner Medical Center กล่าวว่า “ไขที่ห่อหุ้มร่างกายทารกนั้นไม่จำเป็นต้องชำระล้างออกในทันที เพราะมันทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกแรกคลอด และยังช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวทารกเป็นอย่างดีคุณพ่อคุณแม่สามารถชำระล้างไขเหล่านี้ออกได้ในภายหลัง”

 

ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด

ภาพจาก www.dreamstime.com

 

ติดตาม ประโยช์ของการไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด หน้าต่อไปค่ะ

 

นอกจากนั้นยังมีน้ำคร่ำที่ช่วยห่อหุ้มและปกป้องร่างกายทารกอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ กล่าวว่า น้ำคร่ำเหล่านี้ช่วยปกป้องร่างกายทารกและเป็นตัวช่วยเสริมสร้างวิตามิน เค ได้อย่างดีอีกด้วย เพราะฉะนั้นหากรีบอาบน้ำหรือทำความสะอาดให้ทารก ก็เท่ากับว่า ทารกจะสูญเสียตัวช่วยการสร้างวิตามิน เค ที่สำคัญนี้ไปด้วย และน้ำคร่ำเหล่านี้ก็ยังเป็นตัวช่วยที่ดีของการสร้างจุลินทรีย์ในทารก และเป็นตัวช่วยควบคุมปริมาณของ “แบคทีเรียที่จำเป็น” ที่สำคัญต่อมนุษย์อีกด้วย

ในความจริงนั้น แบคทีเรียที่จำเป็นที่อยู่ในน้ำคร่ำนี้ เป็นตัวสร้างวิตามิน เค ที่จำเป็นต้องร่างกาย และวิตามิน เค ยังเป็นส่วนสำคัญกับทารกแรกคลอด ในการป้องกันโรคร้ายแรง ที่เรียกว่า ภาวะเลือดออกง่ายในเด็กทารกที่เกิดจากการขาดวิตามินเค (haemorrhagic disease of the newborn – HDN)

ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด

ไขที่ห่อหุ้มตัวทารก จะมีสีขาวลักษณะหนานุ่มช่วยทำหน้าที่ปกป้องร่างกายของทารก
ภาพจาก www.dreamstime.com

แต่ความจริงแล้ว จุดประสงค์ที่สำคัญของการไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด คือ เพื่อให้เกิดการสัมผัสจากอ้อมกอดของแม่และลูก ซึ่งให้ประโยชน์มากกว่าการอาบน้ำทารกในทันที

Kay Johnson พยาบาลผดุงครรภ์จาก Atlanta Birth Care กล่าวว่า การอาบน้ำเด็กทารกแรกเกิดนั้นต้องทำการแยกแม่และลูกออกจากกัน และใช้เวลานานหลายชั่วโมง ซึ่งนั่นส่งผลกระทบต่อช่วงเวลาที่แม่และลูกควรจะได้อยู่ด้วยกันหลังคลอด และที่สำคัญคือส่งผลต่อการกระตุ้นน้ำนมแม่จากการให้ลูกดูดนมแม่อีกด้วย

นานแค่ไหนจึงจะควรอาบน้ำให้ทารกได้?

MacLeod กล่าวว่า ระยะเวลาที่จะปล่อยทารกไว้โดยไม่อาบน้ำนั้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของคุณพ่อและคุณแม่ ซึ่งบางครอบครัวเลือกทิ้งไว้ เป็นสัปดาห์ หรือปกติอยู่ที่ราวๆ 12 ชั่วโมง

Dr Aaron Rossi ผู้เชี่ยวชาญการบำบัดโรคกระดูกสันหลัง มีลูกถึง 4 คนด้วยกัน และลูกทุกคนของเธอคลอดที่บ้าน และเธอเลือกที่จะไม่อาบน้ำให้ลูกตั้งแต่แรกคลอด โดยที่เธอปล่อยให้ไขและน้ำคร่ำแห้งไปเองโดยธรรมชาติ ซึ่งหลังจากนั้นเธอก็อาบน้ำพร้อมลูกของๆ ตามปกติ เธอกล่าวว่า ทุกอย่างเรียบร้อย โอเคดี และเธอมีความสุข ไม่มีเรื่องอะไรต้องให้กังวล ที่เธอเลือกสิ่งนี้ให้กับลูกของเธอ

คุณแม่คิดยังไงกับเทรนด์นี้คะ คุณแม่จะลองประสบการณ์ใหม่ๆนี้ หรือยังคงคิดว่าควรอาบน้ำให้ทารกแรกคลอดก่อนพามาส่งให้กับมือคุณแม่? ลองแสดงความคิดเห็นให้เราทราบได้ค่ะ

 

ที่มาจาก sg.theasianparent.com

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

10 เรื่องจริงที่คุณอาจจะไม่รู้ เกี่ยวกับทารก

ภาพหาดูยาก!! ทารกแรกคลอดในถุงน้ำคร่ำ

บทความจากพันธมิตร
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด ดียังไง แม่ท้องควรรู้ไว้
แชร์ :
  • อาบน้ำให้ลูกน้อยทารกแรกเกิด

    อาบน้ำให้ลูกน้อยทารกแรกเกิด

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • อาบน้ำให้ลูกน้อยทารกแรกเกิด

    อาบน้ำให้ลูกน้อยทารกแรกเกิด

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว