theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?

ในช่วงนี้สถานการณ์โควิด-19 ที่ค่อยๆ ดีขึ้นแล้วนั้น แม่ ๆ หลายคนอาจจะยังมีความสงสัยในการพาลูกไปรับวัคซีนว่ามีคำแนะนำอะไรไหม? หรือการเลื่อนนัดรับวัคซีน จะเป็นอันตรายหรือไม่ เรารวบรวมคำตอบมาให้แล้วค่ะ

แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา จะดีขึ้นแล้ว แต่นั่นทำให้แม่ ๆ หลายคนมีความกังวลใจอย่างมากในเรื่องการฉีดวัคซีนของลูกน้อย ซึ่งสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย (PIDST) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับวัคซีนของเด็กเล็ก ในช่วงสถานการณ์โคโรนาไวรัส หรือโควิด-19 ว่า ลูกน้อยควรได้รับวัคซีนตามเวลาและไม่ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไป เพราะการไม่พาลูกไปรับวัคซีน หรือ เลื่อนนัดรับวัคซีน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ มากยิ่งขึ้น

6 เหตุผลที่แม่ไม่ควร เลื่อนนัดรับวัคซีน พื้นฐานสำหรับเด็กเล็ก

 

เลื่อนนัดรับวัคซีน

 

  • วัคซีนบางชนิดจำเป็นต้องได้รับตรงตามช่วงอายุของทารก เพื่อให้ตรงกับช่วงเวลาที่ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานได้อย่างเหมาะสม
  • ป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรค เพราะการรับวัคซีนล่าช้า อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กได้สูงขึ้น
  • การฉีดวัคซีนพื้นฐานในเด็กเล็ก เป็นการป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้ในระยะยาว
  • ลดการแพร่กระจายของโรค เพราะการไปรับวัคซีนตามนัดอย่างครบถ้วน จะช่วยป้องกันการกระจายเชื้อโรคและอาการเจ็บป่วยไปยังผู้อื่นในสังคมได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีครึ่ง เป็นวัยที่ระบบภูมิคุ้มกันยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงเสี่ยงเผชิญกับโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรง เช่น คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ฮิบ ตับอักเสบบี หัด ไข้สมองอักเสบเจอี ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอัตราการป่วยและเสียชีวิตในเด็กเล็กค่อนข้างสูง มากกว่าเด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด
  • แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะค่อยๆ กลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว แต่เด็กเล็กยังมีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนพื้นฐานให้ครบตามนัดทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยป่วยด้วยโรครุนแรงที่สามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะช่วงนี้โรคไข้หวัดใหญ่กำลังระบาด ซึ่งโรคนี้ที่มีอาการคล้ายกับการติดเชื้อ โควิด-19 มาก ๆ

ไขข้อสงสัย โควิด-19 และ ไข้หวัดใหญ่ มีอาการคล้ายกันแค่ไหน ?

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ และ โควิด-19 มีอาการใกล้เคียงกันมาก เช่น มีไข้ ไอ หายใจลำบาก และยังมีอาการร่วมที่ค่อนข้างคล้ายกันอย่าง มีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ท้องเสีย ปวดศีรษะร่วมด้วยในบางกรณี ดังนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำให้มีการ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ในช่วงการระบาดของ โควิด-19 เพื่อลดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในแต่ละปี และยังช่วยลดจำนวนของผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายคลึงกับ โควิด-19 ได้ในบางส่วน ซึ่งเป็นการช่วยลดจำนวนเคสต้องสงสัยและแยกโรคได้ง่ายขึ้น และช่วยแบ่งเบาการทำงานของบุคลาการทางการแพทย์ได้อีกด้วย

พาลูกไปรับวัคซีน ในโรงพยาบาล และคลินิก ในช่วงนี้ปลอดภัยจริงหรือ ?

สำหรับแม่ ๆ ที่กังวลเรื่องความปลอดภัยในการพาลูกไปรับวัคซีน ขอให้เบาใจ เพราะปัจจุบันสถานพยาบาลหลายๆ แห่ง มีมาตรการในการคัดกรองผู้ป่วยที่เข้ารับบริการอย่างเข้มงวด อาทิ วัดไข้ก่อนเข้าสู่สถานพยาบาล ทำแบบคัดกรองก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน ฯลฯ เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้มาใช้บริการในโรงพยาบาล และคลินิกมากขึ้น โดยมีการแยกโซนสำหรับฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกัน หรือ Vaccine Save Zone ออกจากโซนผู้ป่วยเป็นสัดส่วนชัดเจน คุณพ่อคุณแม่จึงมั่นใจได้ว่า การพาลูกมารับวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กเล็ก ตามกำหนด มีความปลอดภัยมาก ๆ

 

เลื่อนนัดรับวัคซีน

 

พาลูกไปรับวัคซีนที่คลินิก หรือโรงพยาบาล ควรเตรียมตัวอย่างไร ?

  • โทรสอบถาม และนัดวันรับวัคซีนกับสถานพยาบาลล่วงหน้าเสมอ
  • คุณพ่อคุณแม่ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอลล์เจล ทุกครั้ง
  • ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัย หรือเฟสชิลล์ ให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ
  • เว้นระยะห่างระหว่างผู้เข้ารับบริการคนอื่น ๆ อย่างน้อย 2 เมตร
  • เลือกวิธีชำระเงินที่หลีกเลี่ยงการสัมผัสกัน เช่น ชำระเงินออนไลน์ หรือจ่ายเงินผ่าน QR Code เป็นต้น
  • เลือกรับวัคซีนที่สามารถลดจำนวนครั้งในการเดินทาง ลดเวลาในการอยู่โรงพยาบาลนานๆ สำหรับเด็กเล็ก เช่น วัคซีนรวม 6 โรค ป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน โปลิโอ ฮิบ และตับอักเสบบี

 

เลื่อนนัดรับวัคซีน

 

วัคซีนรวม คืออะไร ? ดีอย่างไร ?

  1. เป็นวัคซีนรวมแบบเข็มเดียว ที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันได้หลายโรค เช่นวัคซีนรวม 6 โรคที่ป้องกัน โรค คือ โรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน โปลิโอ ฮิบ และตับอักเสบบี
  2. ช่วยให้เด็กเล็กอายุ 2 – 6 เดือน ได้รับภูมิคุ้มกันโรคสำคัญ ๆ ได้อย่างครอบคลุมและครบถ้วน
  3. ลดจำนวนครั้งของการฉีดวัคซีน ช่วยให้ลูกรักเจ็บตัว และหวาดกลัวจากการฉีดวัคซีนน้อยครั้งลง ทั้งยังหลีกเลี่ยงการมาใช้บริการในสถานพยาบาล เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้
  4. ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับวัคซีนหลาย ๆ ครั้ง ลดค่ารักษาพยาบาลหากเจ็บป่วย
  5. วัคซีนได้รับการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนตามมาตรฐานสากล จึงมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย
  6. มีอาการข้างเคียงไม่ต่างจากวัคซีนเข็มแบบแยกเข็ม เช่น มีอาการปวด หรือบวมขึ้นเล็กน้อย

 

จะเห็นได้ว่า การรับวัคซีนรวมเป็นทางเลือกที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างมาก และช่วยคลายความกังวลในการพาลูกเข้ารับวัคซีนตามกำหนดได้อย่างดี เมื่อลูกน้อยเข้ารับวัคซีนตรงตามช่วงเวลา ก็จะมีภูมิคุ้มกันดี เป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย ทั้งสอดรับกับนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดในระดับครอบครัวสู่ชุมชน และลดความรุนแรงของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน (VPDs) ของ กระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก (WHO)

คุณพ่อคุณแม่สามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรับวัคซีนรวมเพื่อเสริมสร้างภูมิได้จากสถานพยาบาลทุกแห่ง

 

อ้างอิง

1.Reasons to Follow CDC’s Recommended Immunization Schedule.เข้าถึงได้จาก www.cdc.gov/vaccines/parents/schedules/reasons-follow-schedule.html?CDC_AA_refVal=https%3A%2F%2Fwww.cdc.gov%2Fvaccines%2Fparents%2Fresources%2Fultimate-babyproofing-plan.html.[ค้นคว้าเมื่อ 19 พฤษภาคม  2563]

2.คำแนะนำการให้บริการวัคซีนในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19).เข้าถึงได้จาก www.pidst.or.th/A885.html.[ค้นคว้าเมื่อ 19 พฤษภาคม  2563]

#วัคซีนรวม6โรค #วัคซีนรวมพร้อมฉีด #ลูกฉันต้องมีภูมิ #VaccineSaveZone #เด็กเล็กต้องได้รับวัคซีนตามนัด #ตารางนัดรับวัคซีนประจำปี #COVID-19

 

MAT-TH-2000068 (06/2020)

 

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • วัคซีน
  • /
  • ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?
แชร์ :
•••
  • ฉีดวัคซีนให้เด็ก ดียังไง ทำไมเด็ก ๆ ควรได้รับการฉีดวัคซีน

    ฉีดวัคซีนให้เด็ก ดียังไง ทำไมเด็ก ๆ ควรได้รับการฉีดวัคซีน

  • ราคาวัคซีนสำหรับลูกน้อยปี 2559

    ราคาวัคซีนสำหรับลูกน้อยปี 2559

  • ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

    ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

app info
get app banner
  • ฉีดวัคซีนให้เด็ก ดียังไง ทำไมเด็ก ๆ ควรได้รับการฉีดวัคซีน

    ฉีดวัคซีนให้เด็ก ดียังไง ทำไมเด็ก ๆ ควรได้รับการฉีดวัคซีน

  • ราคาวัคซีนสำหรับลูกน้อยปี 2559

    ราคาวัคซีนสำหรับลูกน้อยปี 2559

  • ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

    ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป