theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง สาเหตุและอาการ วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง อาการใกล้คลอด ที่คนท้องไตรมาสสุดท้ายต้องรู้

บทความ 3 นาที
•••
เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง สาเหตุและอาการ วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง อาการใกล้คลอด ที่คนท้องไตรมาสสุดท้ายต้องรู้เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง สาเหตุและอาการ วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง อาการใกล้คลอด ที่คนท้องไตรมาสสุดท้ายต้องรู้

เจ็บครรภ์เตือนต่างจากเจ็บครรภ์จริงอย่างไร และวิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง

เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง

สาเหตุและอาการ เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง การเจ็บท้องเตือนกับเจ็บท้องคลอด ต่างกันอย่างไร วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง

 

เจ็บครรภ์เตือน VS เจ็บครรภ์จริง

อ.พญ.วิรดา ดุลยพัชร์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง และอาการท้องแข็ง ว่า

ตั้งครรภ์ ท้องแข็ง คืออะไร ต้องทำเช่นไร

อาการท้องแข็งหรือเจ็บครรภ์

อาการท้องแข็งเกิดจากการบีบตัวของมดลูก เกิดขึ้นได้เสมอในระหว่างตั้งครรภ์ ความสำคัญคือต้องแยกให้ได้ว่าเป็นเพียงการเจ็บครรภ์เตือนหรือเจ็บครรภ์จริง โดยมีสาเหตุและลักษณะดังต่อไปนี้

 

เจ็บครรภ์เตือน

สาเหตุการเจ็บครรภ์เตือน

  • ทารกดิ้นแรง
  • แม่ท้องทำงานหนัก
  • แม่ท้องเดินมาก
  • มดลูกหดรัดตัวตามปกติระหว่างตั้งครรภ์ Braxton Hick Contraction

อาการเจ็บครรภ์เตือน

  • อาการเจ็บเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ
  • เจ็บครรภ์เตือนมักจะปวดแค่บริเวณท้องน้อย
  • ระยะห่างของอาการปวดเจ็บครรภ์เตือนไม่ถี่ อาจเจ็บทุก ๆ 15-20 นาที
  • ความรุนแรงของอาการเจ็บครรภ์เตือนเท่า ๆ เดิม อาการเจ็บท้องไม่รุนแรงมาก
  • ไม่มีอาการอื่น ๆ เช่น มูกหรือมูกปนเลือดไหลออกจากช่องคลอด
  • อาการเจ็บครรภ์เตือนสามารถทุเลาหรือหายได้เอง หลังจากที่นอนพัก หรือทานยาแก้ปวด
  • การเจ็บครรภ์เตือนจะไม่ทำให้ปากมดลูกเปิดหรือปากมดลูกขยาย

 

เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง สาเหตุและอาการ วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง อาการใกล้คลอด ที่คนท้องไตรมาสสุดท้ายต้องรู้ เจ็บท้องเตือน, เจ็บท้องจริง, ใกล้คลอด, ไตรมาสสุดท้าย, ท้องแข็ง, เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง 

เจ็บครรภ์เตือนหรือเจ็บครรภ์จริง

เจ็บครรภ์จริง

สาเหตุการเจ็บครรภ์จริง

  • มดลูกหดรัดตัวเพื่อเข้าสู่ระยะคลอด

อาการเจ็บครรภ์จริง

  • อาการเจ็บครรภ์จริงจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ อาจปวดหลังใกล้บั้นเอวร้าวมาบริเวณที่หน้าท้องได้
  • ระยะห่างของอาการเจ็บครรภ์จริงจะค่อย ๆ ถี่ขึ้น เช่น อาการเจ็บครรภ์ทุก ๆ 15 นาที เป็นทุก ๆ 5-10 นาที
  • ความรุนแรงของอาการเจ็บท้องเพิ่มมากขึ้น เจ็บท้องนานขึ้น จากที่เจ็บท้อง 15-20 วินาที เป็นเจ็บท้องนาน 45-50 วินาที
  • มีมูกหรือมูกปนเลือดไหลออกจากช่องคลอด
  • อาการเจ็บครรภ์จริงจะเจ็บเรื่อย ๆ ไม่หายไป ควรรีบไปพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาลทันที
  • เมื่อแพทย์ตรวจภายในจะพบว่า ปากมดลูกมีการเปิดขยายและคอมดลูกมีความบางลง

 

วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง

  • การดูแลเมื่อมีอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องควรนั่งหรือนอนพักเฉย ๆ อยู่นิ่ง ๆ ซักระยะ อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง
  • ถ้าท้องแข็งควรสังเกตอาการให้ดีว่า ลักษณะอาการเป็นการเจ็บครรภ์เตือนหรือเจ็บครรภ์จริง หากอาการเจ็บท้องถี่ขึ้น เจ็บท้องนานขึ้น ไม่หายไปแม้ว่าจะนอนพักหรือทานยาแก้ปวด ให้รีบไปโรงพยาบาล
  • อาการอื่น ๆ ประกอบการเจ็บครรภ์จริง เช่น น้ำเดิน ทารกดิ้นน้อยลง แม้ว่าไม่มีอาการท้องแข็ง แต่มีอาการเหล่านี้ ก็ควรไปโรงพยาบาล

อาการเจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง นั้นแตกต่างกัน แม่สามารถสังเกตว่า ถ้าท้องแข็ง น้ำเดิน เจ็บท้องถี่ ให้รีบไปโรงพยาบาล

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีดูแลลูกในท้องให้แข็งแรง การดูแลทารกในครรภ์ บำรุงครรภ์ คนท้องดูแลตัวเอง อย่างไร

อาหารคนท้อง แต่ละไตรมาส คนท้อง ควรกินกี่มื้อ กับข้าวแม่ท้อง กินบำรุงทารกในครรภ์ ทุกไตรมาส

ลูกในท้องได้อะไรจากพ่อ ความเก่ง อารมณ์ หรือรูปร่างหน้าตา เช็คเลย!!

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก ลูกในท้องยังปกติอยู่ไหม จะเป็นอันตรายหรือเปล่า

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง สาเหตุและอาการ วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง อาการใกล้คลอด ที่คนท้องไตรมาสสุดท้ายต้องรู้
แชร์ :
•••
  • ท้องแข็ง คือ สัญญาณเตรียมพร้อมก่อนคลอดรึเปล่า

    ท้องแข็ง คือ สัญญาณเตรียมพร้อมก่อนคลอดรึเปล่า

  • อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ ต้องแยกอาการให้ออก แก้ไขให้ถูกวิธี

    อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ ต้องแยกอาการให้ออก แก้ไขให้ถูกวิธี

  • ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ลูกกลับหัว รู้สึกยังไง แล้วถ้าลูกไม่กลับหัวล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

    ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ลูกกลับหัว รู้สึกยังไง แล้วถ้าลูกไม่กลับหัวล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

app info
get app banner
  • ท้องแข็ง คือ สัญญาณเตรียมพร้อมก่อนคลอดรึเปล่า

    ท้องแข็ง คือ สัญญาณเตรียมพร้อมก่อนคลอดรึเปล่า

  • อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ ต้องแยกอาการให้ออก แก้ไขให้ถูกวิธี

    อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ ต้องแยกอาการให้ออก แก้ไขให้ถูกวิธี

  • ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ลูกกลับหัว รู้สึกยังไง แล้วถ้าลูกไม่กลับหัวล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

    ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ลูกกลับหัว รู้สึกยังไง แล้วถ้าลูกไม่กลับหัวล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป