X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน อาการของคนท้อง พร้อมวิธีรับมือ บรรเทาอาการ

บทความ 8 นาที
อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน อาการของคนท้อง พร้อมวิธีรับมือ บรรเทาอาการ

อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่แล้วมักมี อาการคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียมากกว่าปกติ และจะเริ่มแสดงอาการแพ้ท้องมากขึ้นเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 3  สำหรับสาเหตุของการแพ้ท้องนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่หลายคนเชื่อว่าเป็นผลมาจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเอชซีจี (HCG – Human chorionic gonadotropin) ที่รกสร้างสูงขึ้นนั่นเองค่ะ

 

 

คนท้องส่วนใหญ่จะรู้สึกแพ้ท้องมากช่วงตื่นนอนตอนเช้า และจะยิ่งหนักขึ้นเรื่อย ๆ หากปล่อยให้ท้องว่างมากเป็นพิเศษ ซึ่งคุณแม่แต่ละคนเวลาแพ้ท้องจะมีอาการรุนแรงไม่เท่ากัน บางคนก็แค่พะอืดพะอม บางคนก็อาเจียนออกมาเป็นบางครั้ง ในขณะที่บางคนแพ้รุนแรงมากถึงขั้นทานอะไรไม่ได้เลย จนดูโทรม ตาลึกโบ๋ ปากแห้ง ปัสสาวะน้อย หรือปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ซึ่งถ้าเป็นกรณีหลังคุณแม่ต้องรีบไปพบคุณหมอด่วนเลยนะคะ

 

อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน

Advertisement

อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน เป็นอย่างไร

  1. น้ําลายเยอะ คลื่นไส้ คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดท้องและหน้าอกมากจนต้องอาเจียนออกมา เมื่ออาเจียนออกมาตอนท้องว่างและไม่มีอะไรออกมา คุณแม่จะรู้สึกทรมานมาก (บางคนถึงกับต้องยอมกินทั้งที่ไม่อยากกิน เพราะหากไม่มีอะไรตกถึงท้องก็จะรู้สึกคลื่นไส้อยู่ตลอดเวลา)
  2. เหม็นไปหมด อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติไม่มั่นคง ทำให้คุณแม่อาจรู้สึกไม่สบายในทันทีเมื่อได้กลิ่นเหม็น ๆ เช่น บางคนอาจรู้สึกไม่ชอบกลิ่นอาหาร เช่น เนื้อ กลิ่นกระเทียม กาแฟ กลิ่นน้ำหอมที่เคยชอบกลับไม่ชอบ บางทีก็รู้สึกเหมือนกลิ่นคุณพ่อ แต่บางทีก็รู้สึกหอมมากกับบางสิ่ง เช่น กลิ่นหุงข้าว กลิ่นไอน้ำจากของต้ม
  3. เหนื่อยง่าย รู้สึกเหน็ดเหนื่อย อยากนอนหลับตลอดเวลา เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้นมีผลทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายคลายตัวเหมือนยากล่อมประสาท ภายในร่างกายมีการเผาไหม้อาหารสำหรับทารกตัวน้อยมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงและสูญเสียพลังงานมากขึ้น ถ้าคุณแม่ได้พักผ่อนก็จะสบายขึ้น
  4. อยากกินอะไรแปลก ๆ บางครั้งคุณแม่อาจอยากกินอาหารแปลก ๆ เช่น อาหารที่มีรสเปรี้ยวอย่างมะม่วง มะกอก มะดัน ฯลฯ หรือจู่ ๆ ก็ไม่สามารถกินของที่ตัวเองเคยชอบได้ และบางครั้งก็อยากกินของที่ไม่เคยชอบอย่างมาก แต่คุณแม่บางรายก็ไม่อยากจะกินอะไรเลยก็มี ซึ่งอาจเป็นเพราะมีอาการขมเฝื่อนในปาก เพราะร่างกายเปลี่ยนไป ทำให้กินอาหารไม่อร่อย
  5. ปวดแสบลิ้นปี่ ในช่วงที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้องและอาเจียนบ่อย ๆ อาจมีอาการแสบบริเวณลิ้นปี่เกิดขึ้นตามมาได้ เพราะน้ำย่อยที่อาเจียนออกมาทำให้แสบหลอดอาหารและคุณแม่อาจมีความรู้สึกขมที่ลิ้น รู้สึกเจ็บปวดในอก และอาจกระจายถึงคอ จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บคอและมีอาการไอเรื้อรังได้ นอกจากนี้อาการปวดแสบลิ้นปี่ยังอาจเกิดจากการที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารได้รับผลกระทบ จึงอาจมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารและระคายเคืองหลอดอาหารจนทำให้คุณแม่รู้สึกแสบที่ลิ้นปี่ได้
  6. อารมณ์แปรปรวน รู้สึกหงุดหงิด และอาจปวดศีรษะบ่อยขึ้น แต่ไม่รุนแรงมากนัก
  7. ง่วงนอนตลอดเวลา คุณแม่บางคนอาจจะรู้สึกว่าร่างกายเหนื่อยล้า นอนเท่าไรก็ไม่เต็มอิ่ม

อาการแพ้ท้อง จะเริ่มพบในช่วงไตรมาสแรก ประมาณสัปดาห์ที่ 6 บางคนอาจจะรู้สึกเร็วกว่านั้นค่ะ หรือไม่ก็กว่าจะรู้อีกทีในช่วงสัปดาห์ที่ 12-16 ของการตั้งครรภ์ก็ได้ ส่วนใหญ่คุณแม่จะรู้สึกแพ้ท้องหนักมากในช่วงสัปดาห์ที่ 8-9 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะคุณแม่บางคนกลับไม่รู้สึกแพ้ท้องเลยก็มีค่ะ หรือไม่ก็แพ้ท้องยาวไปจนคลอดเลยก็มี

บทความที่เกี่ยวข้อง : เริ่มแพ้ท้องตอนไหน จะรู้ได้เมื่อไร อาการแพ้ท้องเป็นอย่างไร?

 

อาหารคุณแม่ตั้งครรภ์

 

วิธีการรับมือ อาการแพ้ท้อง

  1. ดื่มน้ำมาก ๆ ในช่วงที่ท้องควรดื่มน้ำมาก ๆ หรือว่าเท่าที่จะมากได้ เพราะว่าการดื่มน้ำนั้นจะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งน้ำที่แนะนำนั่นอาจจะเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ จะดีที่สุดค่ะ และควรดื่มน้ำก่อนและหลังรับประทานอาหารประมาณ 30 นาที และไม่ควรดื่มน้ำร่วมกับการรับประทานอาหารหรือหลังอาหารในทันที
  2. ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง คุณแม่อาจจะหาวิธีการโดยนำขนมติดตัว และกินไปเรื่อย ๆ เช่น ขนมจำพวกถั่ว ขนมที่ทำจากถั่วเหลือง เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนที่จะเกิดขึ้นขณะท้องได้
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออาจทำให้เกิดอาการแพ้ท้องได้ง่าย เพราะอาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่รู้สึกเวียนหัวได้ง่าย ทางที่ดีควรเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ดีกว่าค่ะ
  4. หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด คุณแม่ควรพยายามอย่าเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่ร้อนอบอ้าว อากาศไม่ถ่ายเท เพราะจะทำให้คุณแม่เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย ถ้าคุณแม่ต้องออกไปทานข้าวนอกบ้านก็พยายามหลบแดดหน่อยค่ะ หรืออาจจะพกร่ม พัด ยาดม และลูกอมติดตัวไว้ก็ได้
  5. หลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด และรสจัด อาหารบางประเภทที่อาจไปกระตุ้นระบบการย่อยอาหารให้ผิดปกติ และทำให้รู้สึกอยากอาเจียนได้ง่ายขึ้น เช่น อาหารไขมันสูง อาหารทอด อาหารรสจัด หรือมีกรดสูง เปลี่ยนมาเป็นการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนสูง และวิตามินบี 6 ที่มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการแพ้ท้องให้น้อยลง
  6. เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้น วิตามินบี 6 อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ซึ่งพบมากในอาหารประเภทผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ตับ ไข่ ปลา สัตว์น้ำประเภทมีเปลือก ถั่ว พืชประเภทถั่ว ข้าวโพด ผลไม้ผักสด และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมปัง หรือขนมปังกรอบ เป็นต้น
  7. พยายามอย่าเครียด คุณแม่ควรหาเวลาผ่อนคลาย ว่าง ๆ คุณอาจจะนอนแช่น้ำอุ่นในอ่าง หรือนอนนิ่ง ๆ ฟังเพลงสบาย ๆ ลองเปิดใจพูดคุยกับสามีถึงเรื่องที่คุณกังวล หรือลองหากิจกรรมเพลิน ๆ ทำ เช่น อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เล่นเกม ปลูกต้นไม้ เป็นต้น
  8. สวมเสื้อผ้าที่สบายตัว การสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น คุณแม่ควรเลือกสวมใส่เสื้อที่สบายตัว เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : แพ้ท้อง ทำอย่างไรดี แม่อาเจียนจนเหนื่อย กินอะไรก็ไม่ได้ มีวิธีแก้แพ้ท้องไหม?

 

อาการคนท้อง อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน

เนื่องจาก อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน ของแม่ท้องแต่ละท่านมีความแตกต่างกันออกไป โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้อย่างแน่ชัด  เพราะฉะนั้นเรามาดูอาการคนท้องในแต่ละเดือนกันดีกว่าค่ะ มาดูกันว่าแม่ท้องในแต่ละเดือนมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

อาการคนท้อง 1 เดือน

  1. เต้านมเริ่มเปลี่ยน: ร่างกายของคุณจะแสดงอาการคล้ายกับก่อนมีประจำเดือน เช่น เจ็บเต้านม ปัสสาวะบ่อย แต่จะมีอาการเพิ่มหน่อย เช่น อ่อนเพลีย ง่วงนอน และอาจมีเส้นเลือดขึ้นบริเวณเต้านม
  2. มีมูกเหนียวข้น: ในช่วงนี้ ร่างกายจะเริ่มผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการผลิตมูกข้นเพื่อมาปิดช่องปากมดลูกไว้ ไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปถึงตัวลูกค่ะ แต่ว่าพอใกล้คลอดปากมดลูกก็จะบางและเริ่มเปิดขึ้นทำให้อาจเกิดเป็นมูกเลือดได้
  3. ประจำเดือนหยุด: หลังจากที่ตัวอ่อนฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก ถุงน้ำรังไข่จะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อดูแลครรภ์ ทำให้รังไข่หยุดผลิตไข่ คุณแม่จึงขาดประจำเดือนในรอบถัดมานั่นเอง
  4. อารมณ์แปรปรวน: คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าหงุดหงิดง่าย ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ รู้สึกหวาดกลัวต่าง ๆ นานา บางคนอาจเป็นทันที แต่บางคนอาการจะแสดงช้ากว่านี้

 

อาการคนท้อง 2 เดือน

  1. เจ็บเต้านม: ในช่วงนี้ คุณแม่จะรู้สึกถึอาการคัดเต้า เจ็บตึงบริเวณเต้านม หากสังเกตจะเห็นว่าฐานของหัวนมจะมีขนาดกว้าง และนุ่มมากขึ้น
  2. มีตกขาว: คุณแม่จะมีตกขาวมากกว่าปกติ เนื่องจากจะมีเลือดไปเลี้ยงช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกมากขึ้นถึงร้อยละ 25 รวมถึงใช้ในระบบหมุนเวียนของรก ทำให้คุณแม่บางครั้งคุณแม่จะเห็นว่าอัยวะเพศสีคล้ำขึ้น
  3. มีอาการแพ้ท้อง: คุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหม็นไปหมดทุกอย่าง บางครั้งก็อยากลองกินอาหารแปลก ๆ หรือบางคนก็กินอะไรไม่ได้เลย หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ดื่มน้ำขิงจะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้
  4. อารมณ์แปรปรวน: คุณแม่ยังคงมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ แต่บางคนยังรู้สึกเหนื่อยล้า หรือเหนื่อยง่ายมากขึ้น ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการขาดพวกธาตุเหล็กและโปรตีน ดังนั้น คุณแม่ควรทานอาหารให้ครบถ้วนมากขึ้น
  5. หิวบ่อย: สำหรับคุณแม่บางคนจะรู้สึกว่าช่วงนี้ตัวเองจะกินเก่ง หิวบ่อย นั่นเป็นเพราะว่าร่างกายเกิดการเผาพลาญอาหารมากขึ้น เพราะร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น ดังนั้น คุณแม่ควรทานโปรตีนและแป้งให้เพียงพอให้แต่ละมื้อ

 

อาการคนท้องในเดือนที่ 3

  1. หลอดเลือดขยายตัว: ในเดือนนี้คุณแม่บางคนจะรู้สึกว่าตัวเองอาจมีอาการบวมที่แขนหรือขาเล็กน้อย ซึ่งสาเหตุมาจากการฮอร์โมนส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ปริมาณเลือดไหลเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น ในช่วงนี้คุณแม่อาจมีความดันต่ำ ให้ระวังอาการหน้ามืดไว้
  2. น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง: คุณแม่บางคนอาจมีน้ำหนักตัวที่ลดลงเนื่องจากอาการแพ้ท้อง ส่วนบางคนก็อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของทารก หากน้ำหนักที่เพิ่มไม่เกิน 2 กก. อาจมาจากทารก 48 กรัม ที่เหลือเป็นน้ำหนักของมดลูก เต้านม รก น้ำคร่ำ และปริมาณเลือด
  3. เจอยอดมดลูก: หากคุณแม่ไปตรวจครรภ์จะเห็นว่าคุณหมอจะตรวจร่างกายเพื่อดูขนาดของทารกในครรภ์ ซึ่งถ้าคุณแม่คลำจะเจอยอดมดลูกบริเวณหัวหน่าว ซึ่งเป็นตัวการันตีได้ว่าคุรแม่ตั้งครรภ์แน่นอน
  4. อารมณ์แปรปรวน: คุณแม่อาจยังมีอารมรณ์ที่ไม่แน่นอน แต่หลังจากเดือนนี้คุณแม่จะรับมือต่าง ๆ ได้ดีขึ้น อารมณ์แปรปรวนจะน้อยลง

 

อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน

อาการคนท้อง 4 เดือน

  1. หน้าท้องเริ่มออก: คุณแม่หลายคนกังวลว่าทำไมท้องไม่ออกเลย ในเดือนนี้จะเริ่มเห็นบ้างแล้วค่ะ เพราะมดลูกจะเริ่มเข้าสู่ช่วงท้องแล้ว เนื่องจากทารกในครรภ์เริ่มโตขึ้น และเริ่มเห็นเส้นดำ ๆ กลางหน้าท้องด้วย
  2. หัวใจเต้นเร็วขึ้น: ร่างกายของคุณแม่ต้องสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อการล่อเลี้ยงของร่างกาย ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น
  3. หัวนมคล้ำ: หากคุณแม่สังเกตที่เต้านมจะรู้สึกว่าหัวนมเริ่มดำขึ้น และเห็นเส้นเลือดเป็นสีเขียว ๆ ชัดขึ้น อีกทั้งเวลาที่สัมผัสก็จะรู้สึกเจ็บ
  4. เริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้น: คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกตอดเป็นคลื่ชน ๆ ในช่วงต้น ๆ เดือน พอปลายเดือนคุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงลูกดิ้นครั้งแรกแล้ว

 

อาการคนท้อง 5 เดือน

  1. เริ่มเป็นตะคริว: คุณแม่บางคนจะเริ่มรู้สึกว่าช่วงนี้ทำไหมตัวเองรู้สึกขาชา ตัวชาบ่อย บ้างก็เปนตะคริวนาน ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการได้รับแคลเซียมที่ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม อาการนี้พบบ่อยในคนท้องมาก
  2. เริ่มเกิดท้องลาย: คุณแม่จะเริ่มมีอาการเปลี่ยนแปลงตามร่างกายทั้งเห็นเส้นเลือดฝอยขึ้นตามส่วนต่าง ๆ เช่น ใบหน้า และแขน บางคนขึ้นเป็นริ้ว ๆ ที่หน้าท้อง และมีอาการคันเพราะหน้าท้องเริ่มขยาย และอาจเริ่มมีอาการท้องลายได้
  3. ลูกดิ้น: หากเดือนที่แล้วคุณแม่ยังไม่รู้สึกถึงลูกดิ้น เดือนนี้คุณแม่จะรู้สึกถึงลูกดิ้นแน่ ๆ ไม่ต้องกังวลใจไป
  4. ร้อนง่าย: เนื่องจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานหนักมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกว่าช่วงนี้ตัวเองกลายเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย และหายใจหอบด้วย เพราะฉะนั้นพยายามหลีกเลี่ยงในที่ที่มีคนเยอะ ๆ หรือที่แออัด
  5. เกิดอาการต่าง ๆ : คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงอาการต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะอักเสบ เป็นกรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย และท้องผูก

 

อาการคนท้องในเดือนที่ 6

  1. อาการปวดเมื่อยตามชายโครง: เนื่องจากขนาดของครรภ์คุณแม่ใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดการเสียดสีที่ชายโครงคุณแม่จึงรู้สึกปวด และบางครั้งอาจไปกดทับเอากระเพาะอาหารและเกิดแสบร้อนได้
  2. มดลูกหดเกร็ง: ให้ช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกปวดท้องบ้าง ซึ่งสาเหตุมากจากการหดเกร็งของมดลูกและเกิดการเสียดท้องน้อย ในขณะที่คุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถในทันที
  3. เป็นตะคริวบ่อย: อีกสิ่งหนึ่งมาจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อช่วงน่อง ต้นขา และปลายเท้า ทำให้เกิดตะคริวขึ้นบ่อยๆ
  4. น้ำหนักเพิ่มขึ้น: โดยปกติแล้วคุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอาทิตย์ละประมาณครึ่งกิโลกรัม หากคุณแม่ยังรู้สึกว่าท้องเล็กอยู่ก็ไม่ต้องกังวลเพราะไม่ได้แปลว่าลูกในท้องจะตัวเล็กไปด้วย
  5. เกิดโรคแทรกซ้อน: คุณแม่ควรระมัดระวังในเรื่องของอาหารการกิน และหมั่นดูแลสุขภาพให้ดี เพราะคุณแม่อาจเกิดภาวะเสี่ยงต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น

 

อาการคนท้องในเดือนที่ 7

  1. นอนลำบาก: ตอนนี้ท้องคุณแม่ใหญ่แล้วจะนอนก็ลำบาก นอนก็ไม่ค่อยหลับ ไม่สบายตัว หากคุณแม่รู้สึกแบบนี้ อนะนำให้นอนตะแคงซ้ายแล้วใช้หมอสอดระหว่างขา เพื่อให้นอนได้สบายตัวมากขึ้น
  2. อาการปวดหลัง: มาในเดือนนี้คุณแม่หลายท่านมักจะมีอาการปวดหลัง เพราะว่าต้องพยุงน้ำหนักของครรภ์ที่มากขึ้น อีกทั้งกระดูกเชิงกรานเกิดการขยายตัวเพื่อรองรับน้ำหนักทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดหน่วง ๆ ด้วยเช่นกัน
  3. ปัสสาวะบ่อย: แน่นอนว่าเมื่อหน้าท้องที่ใหญ่ ขนาดตัวของทารกที่โตขึ้น ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ คุณแม่จึงเข้าห้องน้ำบ่อย บางคนก็ปัสสาวะเล็ดเพราะลูกดิ้นด้วย
  4. น้ำนมไหล: คุณแม่บางท่านอาจเกิดภาวะน้ำนมไหลซึม หากสังเกตดูจะเห็นว่าน้ำนมมีสีเหลืองใสค่ะ ซึ่งเกิดจากที่ร่างกายเริ่มเตรียมพร้อมก่อนที่จะคลอด
  5. น้ำหนักขึ้นเร็ว: คุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ รู้สึกอึดอัด บ่อยครั้งที่กินได้น้อยลง และเริ่มรู้สึกว่าอาหารไม่ย่อย ดังนั้น คุณแม่ควรแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อย ๆ และเคี้ยวให้ละเอียดมากขึ้นก็จะช่วยได้

 

อาการคนท้อง 8 เดือน

  1. ปวดหน่วง ๆ : อาการนี้คุณแม่อาจเป็นมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว แต่มาเดือนนี้จะรู้สึกมากขึ้น เนื่องจากบริเวณข้อต่อของกระดูกเชิงกรานเกิดการหย่อนตัว ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดหน่วงๆ ระหว่างเปลี่ยนอิริยาบทไม่ว่าจะเดิน นั่ง หรือเปลี่ยนท่านอน
  2. เจ็บท้องเตือน: ช่วงนี้มดลูกของคุรแม่จะเกิดอาการหดตัวเป็นระยะ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การคลอดลูกจริงไ ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดท้องและท้องแข็งเป็นระยะ โดยที่จะรู้สึกว่าท้องนูนแข็งครั้งละไม่เกิน 30 นาที
  3. เกิดอาการจุกเสียด: เมื่อยอดมดลูกเกิดการขยายตัวไปเบียดเอายอดอกและชายโครง ทำให้คุณแม่เกิดอาการจุกเสียดเอาได้ง่าย หากสังเกตจะเห็นว่าสะดือคุณแม่จะตื้นขึ้นและมีสีคล้ำลง อีกทั้งเส้นดำกลางลำตัวจะมีสีที่เข้มขึ้นด้วย
  4. เท้าบวม: ในเดือนนี้คุณแม่จะเห็นเท้าตัวเองบวมง่าย ซึ่งสาเหตุมากจาการที่น้ำหนักตัวที่กดทับหลอดเลือดดำใหญ่ด้านหลังลำตัว ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีอาการเท้าบวมมาก ๆ แนะนำให้พบแพทย์

 

อาการคนท้อง 9 เดือน

  1. หน้าท้องลด: ทารกจะเริ่มกลับหัว ทำให้หน้าท้องลดลง ช่วงนี้คุณแม่จึงรู้สึกหายใจได้สะดวกมากขึ้น แต่ระยะเวลาที่ทารกเริ่มกลับหัวไม่แน่นอนค่ะ บางคนก็เกิดขึ้นเร็วบางคนก็ช้าคุณแม่ไม่ต้องกังวล
  2. นอนไม่ค่อยหลับ: ด้วยความที่ท้องโตมาก ๆ คุณแม่จึงนอนยาก ไหนจะลูกดิ้นแรง ไหนจะลุกเข้าห้องน้ำบ่อย และอาการปวดต่าง ๆ นาน ทำให้การนอนของคุณแม่เริ่มยากขึ้น ดังนั้น คุณแม่อาจจะอาศับการงีบหลับเพิ่มในระหว่างวัน และอย่าลืมหนุนเท่าให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อยเวลานอนด้วย
  3. กังวลมากขึ้น: ยิ่งใกล้กำหนดคลอดคุณแม่ก็จะยิ่งกังวล เพราะต้องกังวลว่าเตรียมของให้ลูกครบหรือยัง ลูกจะคลอดเมื่อไหร่ ปวดท้องบ่อย ๆ แบบนี้จะคลอดหรือยังนะ และอีกสารพัด ทำให้คุณแม่เครียด และอาการอารมณ์แปรปรวนอาจกลับมาได้

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

คุณมักจะมีอาการแพ้ท้องช่วงไหน?

เช้า
กลางวัน
บ่ายๆ
เย็นๆ
กลางคืน

9933 คนที่ตอบกลับ

โหวต

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แพ้ท้องมาก อันตรายไหม วิจัยเผย แม่แพ้ท้องมีโอกาสที่จะไม่แท้ง! 

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง แม่ตั้งครรภ์แพ้ท้องหนักมาก แก้อาการแพ้ท้องอย่างไร ?

ทำไมถึงแพ้ท้อง 5 เหตุผล สาเหตุที่ก่อให้เกิดการแพ้ท้องได้

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ท้อง ได้ที่นี่!

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

อาการแพ้ท้อง มีอาการยังไงบ้างคะ ที่นอกจากเหม็นกลิ่นฉุน อาเจียน อ่ะค่ะ

ที่มา : medthai, mamastory

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน อาการของคนท้อง พร้อมวิธีรับมือ บรรเทาอาการ
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว