X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการข้างเคียงของวัคซีน แต่ละชนิดส่งผลอะไรกับลูกบ้าง

บทความ 5 นาที
อาการข้างเคียงของวัคซีน แต่ละชนิดส่งผลอะไรกับลูกบ้าง

อาการข้างเคียงของวัคซีน แต่ละชนิดส่งผลกับลูกอย่างไร ผลข้างเคียงของวัคซีนชนิดต่าง ๆ ที่คุณแม่ควรรู้ก่อนให้ลูกฉีดวัคซีนมีอะไรบ้าง แล้วควรทำอย่างไรเมื่อต้องพาลูกไปฉีดวัคซีน

อาการข้างเคียงของวัคซีน

แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านย่อมต้องเป็นห่วงลูกน้อยเป็นธรรมดา โดยเฉพาะเวลาที่ต้องพาลูกไปฉีดวัคซีน กลัวว่าลูกจะเจ็บ หรืออาจมีผลข้างเคียงตามมา เรามาดูกันว่า อาการข้างเคียงของวัคซีน ชนิดต่าง ๆ ที่คุณแม่ควรรู้ก่อนให้ลูกฉีดวัคซีนนั้นมีอะไรบ้าง

อาการข้างเคียงสามัญ

หลังจากเข้ารับการฉีดวัคซีนแล้ว อาการข้างเคียงสามัญที่สามารถเกิดขึ้นได้ทันที อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ดังนี้

  • มีไข้อ่อน ๆ (<38.5 องศาเซลเซียส) ซึ่งมันจะเป็นอยู่ไม่นาน
  • ทำให้เด็กมีอาการงอแง กระวนกระวาย หรืออาจมีอาการง่วงนอนได้
  • มีอาการเจ็บ แดง ปวดแสบปวดร้อน คัน หรือบวมบริเวณจุดที่ฉีดวัคซีน โดยอาจเป็นอยู่ประมาณ 1-2 วัน และ/หรือมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ เกิดขึ้นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์
อาการข้างเคียงของวัคซีน

ผลข้างเคียงของวัคซีน

อาการข้างเคียงของวัคซีน แต่ละชนิดส่งผลอะไรกับลูกบ้าง

ชนิดและอาการข้างเคียงของวัคซีน(เฉพาะวัคซีนที่ใช้บ่อย) ที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับวัคซีนมีดังนี้

วัคซีนวัณโรค BCG

ให้ตั้งแต่แรกเกิด  ฉีดชั้นใต้ผิวหนังที่ตำแหน่งหัวไหล่หรือสะโพก

อาการข้างเคียงของวัคซีน

หลังฉีดวัคซีน จะมีตุ่มนูนขนาดประมาณ 6-8 มม. และตุ่มนูนนี้จะหายไปในไม่ช้า แต่หลังจากฉีดวัคซีนประมาณ 2 สัปดาห์ ตุ่มก็อาจจะนูนแดง และแตกเป็นแผลมีหนอง โดยอาจเป็น ๆ หาย ๆ อยู่นานถึง 6 สัปดาห์จึงหายไป และอาจจะเหลือเป็นรอยแผลเล็ก ๆ แทน

นอกจากนี้ยังอาจพบต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงโต (ใต้รักแร้หรือขาหนีบ) หรือกระดูกอักเสบได้

วัคซีนตับอักเสบบี HBV (HepatitisB)

ให้ครั้งแรกตอนแรกเกิด จากนั้นให้ที่อายุ 1-2 เดือน และ 6 เดือน

อาการข้างเคียงของวัคซีน

อาการข้างเคียงของวัคซีนชนิดนี้พบได้น้อยมาก แต่อาจมีอาการเจ็บแสบขณะฉีด หรืออาจทำให้มีไข้ต่ำ ๆ บางรายอาจพบอาการแพ้รุนแรงได้ แต่น้อยพบเพียง 1 ในล้านเท่านั้น

อาการข้างเคียงของวัคซีน

ผลข้างเคียงของวัคซีน

วัคซีนโปลิโอ Polio

เริ่มให้อายุ 2 เดือนขึ้นไป มี 2 ชนิด คือชนิดหยด และชนิดฉีด

อาการข้างเคียงของวัคซีน

ผลข้างเคียงของวัคซีนชนิดหยด คือ อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาตคล้ายโรคโปลิโอได้ แต่พบได้ไม่มาก (พบ 1.4-3.4 ต่อล้านโด๊ส)
ส่วนผลข้างเคียงของวัคซีนชนิดฉีด ซึ่งผสมรวมกับวัคซีนป้องกันคอตีบไอกรนบาดทะยัก จะมีผลข้างเคียงตามวัคซีนป้องกันคอตีบไอกรนบาดทะยัก

วัคซีนคอตีบไอกรนบาดทะยัก DTP (Diphtheria, Pertussis, Tetanus)

เริ่มให้อายุ 2 เดือนขึ้นไป มี 2 ชนิด ได้แก่ชนิดเต็มเซลล์ (DTPw) และชนิดไร้เซลล์ (DTPa)

อาการข้างเคียงของวัคซีน

อาการข้างเคียงของวัคซีนคอตีบไอกรนบาดทะยัก ชนิดเต็มเซลล์ จะพบมากกว่าชนิดไร้เซลล์ ทั้งเรื่องไข้ อาการปวดบวม ฝีปราศจากเชื้อบริเวณที่ฉีด และอาการอาเจียน

อาการข้างเคียงที่รุนแรงของชนิดเต็มเซลล์ คือมีอาการชักภายใน 3 วัน, ร้องกวนไม่หยุดมากกว่า 3 ชั่วโมง ภายใน 2 วัน, ตัวอ่อนปวกเปียก ภายใน 2 วัน, มีไข้มากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส และแพ้วัคซีนทั้งแบบรุนแรงเฉียบบพลัน หรือแพ้ชนิดบวมแดงเฉพาะที่อย่างมาก ควรเปลี่ยนมาใช้ชนิดไร้เซลล์แทน

อาการข้างเคียงของวัคซีนมีอะไรอีกบ้าง แล้วควรทำอย่างไรเมื่อต้องพาลูกไปฉีดวัคซีน ติดตามต่อหน้าถัดไป –>>>

วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบ Hib (Haemophilus influenzae B)

มักผสมรวมกับวัคซีนป้องกันคอตีบไอกรนบาดทะยัก

อาการข้างเคียงของวัคซีน

จะมีอาการข้างเคียงตามวัคซีนป้องกันคอตีบไอกรนบาดทะยัก โดยหากฉีดตัวเดียว อาจพบอาการไข้ต่ำ ๆ ปวดบวม แดง แต่อาการมักไม่รุนแรง และไม่เกิน 24 ชั่วโมง

วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม MMR (Measles, Mumps, Rubella)

เริ่มฉีดเข็มแรกที่อายุ 9-12 เดือน

อาการข้างเคียงของวัคซีน

ผลข้างเคียงของวัคซีนพบน้อย โดยอาจพบไข้ต่ำ ๆ มีผื่นแดง ต่อมน้ำเหลืองโต หรือต่อมน้ำลายโต โดยมักจะพบใน 5-12 วัน และอาจมีอาการชักจากไข้สูง อาการทางสมอง (สมองอักเสบ) ปวดตามข้อ (โดยเฉพาะในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่) แพ้ยาแบบเฉียบพลัน และอาจพบภาวะเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติชั่วคราวทำให้มีอาการเลือดออกผิดปกติได้

วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี JEV (Japanese encephalitis virus)

มี 2 ชนิด คือ แบบเชื้อตาย ซึ่งเพาะเลี้ยงในสมองหนู ฉีด 3 ครั้งช่วงอายุ 1-2ปี ทางสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแนะนำให้กระตุ้นอีก 1 เข็มที่อายุ 4-5 ปี อีกชนิด คือ แบบเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ให้เข็มแรกที่อายุ 9-12 เดือนขึ้นไป และกระตุ้นหลังจากนั้นอีก 3-12 เดือน

อาการข้างเคียงของวัคซีน

ผลข้างเคียงคือ อาจมีไข้ (ร้อยละ10) ปวด บวมแดง ขณะฉีด (ร้อยละ20)

อาการข้างเคียงของวัคซีน

ผลข้างเคียงของวัคซีน

วัคซีนอีสุกอีใส Varicella

ฉีดอายุ 1 ปีขึ้นไป กระตุ้นเข็ม 2 ที่อายุ 4-6 ปี กรณีที่มีการระบาดอาจฉีดเข็ม 2 ก่อนได้โดยอายุน้อยกว่า 13 ปี ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน ถ้าอายุมากกว่า 13 ปี ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 1 เดือน

ผลข้างเคียงของวัคซีน

ผลข้างเคียงได้แก่อาการบวม เจ็บแสบ มีไข้ต่ำ ๆ อาจพบผื่นแดงหรือตุ่มน้ำใสเล็กน้อย ภายใน 5-26 วัน

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Influenza

เริ่มฉีดที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ฉีดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เฉพาะอายุ ต่ำกว่า 9 ปี ในปีแรกให้ 2 เข็มห่างกัน1เดือน

ผลข้างเคียงของวัคซีน

ผลข้างเคียง คืออาจมีไข้ พบน้อยในเด็กต่ำกว่า 13 ปี พบภายใน  6-24 ชั่วโมง อาจพบอาการแพ้เฉียบพลันได้ในคนที่มีการแพ้ไก่หรือไข่แบบรุนแรง และพบอาการปลายประสาทอักเสบเฉียบพลันได้ แต่ก็มีโอกาสน้อยมาก หรือประมาณ 1 ในล้าน

อาการข้างเคียงของวัคซีน

ผลข้างเคียงของวัคซีน

คำแนะนำเมื่อต้องพาลูกไปฉีดวัคซีน

  1. ควรนำสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนติดไปด้วยทุกครั้ง
  2. ไม่ควรรับวัคซีนขณะที่มีไข้สูง หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน
  3. หลังรับวัคซีนควรอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 10 นาทีเพื่อดูปฏิกิริยาแพ้ยาแบบเฉียบพลัน เช่น ผื่นขึ้นหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ หรือหมดสติ เป็นต้น
  4. หากมีอาการปวด บวม ภายใน 24ชั่วโมงแรก ให้ใช้ผ้าเย็นประคบ เพื่อลดเลือดไหลเวียนมาบริเวณนั้น อาการบวมจะลดลง
  5. หลังรับวัคซีนโดยเฉพาะเด็กโต อาจมีอาการหน้ามืด เป็นลม ให้นั่งนิ่ง ๆ อยู่กับที่ หรือนอนราบอย่างน้อย 15 นาที หรือจนอาการดีขึ้น
  6. หากไม่สามารถมาตามนัดสำหรับการฉีดวัคซีนได้ แนะนำว่าไม่ควรเลื่อนออกไปเกิน 2 สัปดาห์
  7. หากเคยฉีดยาแล้วมีอาการแพ้ยา หรือมีอาการแพ้ไข่หรือไก่แบบรุนแรง ให้แจ้งแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ให้ทราบด้วย
  8. หลังจากกลับมาที่บ้านแล้ว ควรให้ทารกกินนมแม่บ่อยขึ้น และอาจจะใช้ผ้าชุบน้ำเย็นวางลงบนบริเวณที่ได้รับการฉีดวัคซีน

อาการข้างเคียงที่เกิดจากการฉีดวัคซีนที่ต้องรับการรักษาพยาบาลทันที

อาการข้างเคียงที่เกิดจากการฉีดวัคซีนที่ต้องรับการรักษาพยาบาลทันทีนั้น ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

  • การชักที่เกิดจากไข้ เกิดจากการมีไข้สูง โดยทั่วไปมักจะเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี
  • ทารกเกิดอาการตัวซีด อ่อนเปลี้ย และไม่สนองตอบ หลังจากรับการฉีดวัคซีน 1 ถึง 48 ชั่วโมง
  • การอุดตันของลำไส้ (ลำไส้เคลื่อนซ้อน) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทารกภายใน 1 ถึง 7 วัน หลังจากรับการฉีดวัคซีนไวรัสโรตาขนานที่ 1 และที่ 2 โดยสังเกตได้ว่าเด็กจะร้องเป็นพัก ๆ หน้าตาซูบซีด งอขาขึ้นมาแนบกับท้อง
  • หากสังเกตเห็นว่าลูกมีอาการผิดปกติอื่น ๆ หรือหากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกเป็นกังวลใจ ให้พาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย

ที่มา thonburi2hospital, health.vic.gov.au

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลมพิษ เกิดจาก อะไร ลูกเป็นผื่นลมพิษบ่อยควรทำอย่างไร? โดยผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี

โรคฮีน็อคในเด็ก อย่าคิดว่าแค่ผื่นธรรมดา..อันตรายหากถึงมือหมอช้า

หัดกุหลาบ ส่าไข้ อันตรายใกล้ตัวทารก แม่ต้องดูลูกให้ดีอย่าประมาท

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อาการข้างเคียงของวัคซีน แต่ละชนิดส่งผลอะไรกับลูกบ้าง
แชร์ :
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

    การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

  • ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

    ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

    การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

  • ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

    ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ