X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ

บทความ 3 นาที
แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ

แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ เพราะนอกจากจะไม่มีสารอาหารและไม่มีประโยชน์แล้ว ยังเสี่ยงติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ทำลูกอาการหนักอีกด้วยค่ะ

แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ

แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ กระแสคนดังฝั่งอเมริกานั้นมีการกินรกหลังคลอดลูก และกลายเป็นกระแสที่บรรดาแม่มือใหม่ทำตามกันมากขึ้นค่ะ แพทย์จึงออกมาเตือนว่านอกจากจะไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแม่แล้ว ยังเสี่ยงติดเชื้ออีกด้วย

ไม่ควรนะไม่ควร ไม่ควรกินเลยจริงๆ

ไม่ว่าจะกินดิบ กินสุก หรือทำให้เป็นแคปซูล มีความเสี่ยงต่อตัวคุณแม่อยู่ค่ะ ล่าสุดศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคในโอเรกอนออกมาเปิดเผยว่า มีเด็กทารกติดเชื้อ Streptococcus หลังคลอดเพียงไม่กี่วัน คุณหมอต้องทำการรักษาและฉีดยาปฏิชีวนะ การรักษาติดต่อกันนานถึง 11 วัน เด็กน้อยและคุณแม่จึงกลับบ้านได้ แต่เพียง 5 วันต่อมา เด็กน้อยกับคุณแม่ก็ต้องกลับมาที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เนื่องจากเด็กกลับไปติดเชื้ออีกรอบ สร้างความงุนงงให้กับคุณหมอเป็นอย่างมาก 

คุณแม่เล่าว่าเธอนำรกที่คลอดออกมากลับบ้านด้วย นำไปทำให้แห้งและทำเป็นผง และกินทุกวัน หลังจากที่ทีมแพทย์นำแคปซูลรกของคุณแม่ไปตรวจก็พบเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus ซึ่งเป็นเหตุว่าทำไมเด็กน้อยถึงกลับมาติดเชื้ออีกรอบค่ะ โชคดีที่เคสนี้เจ้าหนูหายดีหลังจากต้องกลับมารักษาตัวไม่กี่อาทิตย์อีกรอบนึง 

แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ

แพทย์ยังไม่ชัวร์เลย

สูติ-นรีแพทย์จำนวน 53% บอกว่าไม่แน่ใจเกี่ยวการกินรกของคุณแม่ว่ามีความเสี่ยงและประโยชน์ใดบ้าง อีก 60% บอกว่าไม่แน่ใจแม่ๆ ควรจะกินรกของตัวเอง

หลายๆ บริษัทที่รับทำแคปซูลรกนั้นเคลมว่า การกินรกจะช่วยให้คุณแม่มีพลังงานมากขึ้น ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น ช่วยให้น้ำนมมามากขึ้น และช่วยให้ฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้น และยังนำไปเปรียบเทียบอีกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างก็กินรกของตัวเองทั้งนั้น

ไม่ได้ช่วยเพิ่มธาตุเหล็ก

มีบทความในวารสารสุขภาพผดุงครรภ์และสตรี ที่สนับสนุนเรื่องของการกินรกบอกไว้ว่า แม่หลังคลอดต้องการปริมาณธาตุเหล็กที่สูงมากในช่วงที่ตั้งครรภ์และหลังคลอด การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอนั้นพบบ่อย การกินรกจะช่วยเพิ่มธาตุเหล็กให้มากขึ้น

และเพื่อที่จะพิสูจน์เรื่องดังกล่าว นักมานุษยวิทยาด้านการแพทย์ มหาวิทยาลัยเนวาดาลาสเวกัส (UNLV) จึงได้ลองให้คุณแม่มือใหม่ 23 คน กินแคปซูลแคปซูลรกและแคปซูลหลอกที่ใส่เนื้อวัวผง (ที่มีการเคลมว่าเนื้อวัวมีธาตุเหล็กน้อยกว่ารก) คุณแม่ต้องกินทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ พร้อมทั้งมีการตรวจเลือดก่อนและหลังคลอด และในสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 3 อีกด้วย ซึ่งผลการทดสอบออกมาว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ

นอกจากนี้แคปซูลทั้งสองตัว เข้าไปเพิ่มปริมาณธาตุเหล็กแค่ 24% ของปริมาณที่คุณแม่ให้นมควรจะได้รับต่อวันเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายสำหรับคุณแม่ที่กินแคปซูลรกมาก เนื่องจากคุณแม่อาจไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายของตัวเอง

นอกจากนี้ยังไม่มีรายงานที่พบว่าการกินรกนั้น มีประโยชน์ต่อสุขภาพตามที่มีการกล่าวอ้างไว้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นช่วยในเรื่องของการซึมเศร้าหลังคลอด ช่วยแก้ปวดแก้เจ็บแผลคลอด ให้พลังงาน ช่วยเพิ่มนมแม่ หรือแม้กระทั่งการช่วยสานสัมพันธ์แม่ลูก หรือความยืดหยุ่นของผิวพรรณ

ไม่ช่วยแล้วยังอันตรายอีก

อย่างกรณีข้างต้นที่คุณแม่ติดเชื้อแล้วส่งผ่านไปถึงลูก เนื่องจากขั้นตอนของการทำแคปซูลรกนั้น ไม่ได้ตรวจโรคต่างๆ เช่น ตับอักเสบ เริม หนองในเทียม และโรคลายม์ นอกจากนี้ยังไม่มีมาตรฐานป้องกันการปนเปื้อนในการทำแคปซูลอีกด้วย ซึ่งหากรกไม่ได้ผ่านความร้อนสูงพอที่จะฆ่าเชื้อโรค ก็อาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ค่ะ

ดังนั้นอย่ากินรกนะคะคุณแม่ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกนั่นเองค่ะ

ที่มา Health

บทความที่น่าสนใจ

กินรกหลังคลอดฟื้นฟูร่างกาย เพิ่มมน้ำนม ?!! เป็นคุณจะกล้ามั๊ย!! กินรกตัวเอง

กินรกตัวเอง ดีจริงหรือ

parenttown

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ
แชร์ :
  • สามี"กินรก"ภรรยา น่าขยะแขยงหรือมีคุณค่าทางอาหาร

    สามี"กินรก"ภรรยา น่าขยะแขยงหรือมีคุณค่าทางอาหาร

  • แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

    แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • สามี"กินรก"ภรรยา น่าขยะแขยงหรือมีคุณค่าทางอาหาร

    สามี"กินรก"ภรรยา น่าขยะแขยงหรือมีคุณค่าทางอาหาร

  • แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

    แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ