X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ร้อน น้ำขัง หลังคาดาดฟ้ารั่ว 3 ปัญหาบนดาดฟ้าที่ต้องจัดการ!

บทความ 3 นาที
ร้อน น้ำขัง หลังคาดาดฟ้ารั่ว 3 ปัญหาบนดาดฟ้าที่ต้องจัดการ!

บ้านเมื่ออยู่อาศัยนาน ๆ มักจะเจอกับปัญหามากวนใจ ไม่ว่าจะเป็นผนัง กำแพง ระบบน้ำ ระบบไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังคาดาดฟ้ารั่ว ถ้าได้เกิดขึ้นแล้วล่ะก็คงทำให้ปวดหัวไม่ใช่น้อย

สำหรับบ้านไหนที่มีพื้นที่ใช้สอยบนอาคารดาดฟ้า คงมักจะเจอกับปัญหาอันเกี่ยวเนื่องจากฤดูกาล เช่น ความร้อนสะสมในหน้าร้อน และ หน้าฝนที่อาจระบายน้ำไม่ทัน จึงก่อให้เกิดปัญหาน้ำขังและ หลังคาดาดฟ้ารั่ว แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะทุกปัญหามีทางแก้ ซึ่งจะมีวิธีการที่จะจัดการกับเจ้า 3 ปัญหาเหล่านี้อย่างไร ต้องติดตาม

 

แก้ปัญหาอากาศร้อน

ปัญหาสุดคลาสสิคของประเทศเมืองร้อน โดยเฉพาะหากไม่ได้สร้างหลังคาบนดาดฟ้า ทำให้ดาดฟ้าเปิดรับแสงแดดเต็มที่ เนื่องจากคอนกรีตเป็นวัสดุที่สะสมความร้อนและสามารถส่งผ่านไอระอุลงมาได้ ทำให้ห้องด้านล่างดาดฟ้าของเรามีอุณหภูมิสูงต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืนวิธีการแก้ไขปัญหามีดังนี้

 

  • ฉนวนกันความร้อน เราสามารถจัดการแก้ปัญหาความร้อนจากดาดฟ้าได้ในบ้าน โดยใช้ฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน ซึ่งสามารถติดตั้งได้ง่าย โดยฉนวนกันความร้อนที่นำมาใช้งานส่วนใหญ่มักเป็นฉนวนใยแก้วความหนาประมาณ 1 นิ้ว 2 นิ้ว 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว เช่น ฉนวนใยแก้วตราช้าง และฉนวนโฟม PU. ทั้งแบบฉีดพ่นใต้หลังคา และแบบแผ่น
  • วัสดุปูดาดฟ้า เนื่องจากคอนกรีตเป็นวัสดุที่สะสมความร้อน เราจึงสามารถแก้ปัญหาได้โดยการเลือกใช้วัสดุอื่นๆปูบนพื้นดาดฟ้าได้ เช่น การปูพื้นไม้ อย่างไม้ระแนงปูพื้นสำเร็จรูป เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้หลังคารับความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง รวมถึงการใช้กระเบื้องปู หรือโซลาร์สแล็บ ซึ่งเป็นแผ่นคอนกรีตขนาด 30×30 ซม. มีขาสูงประมาณ 3 ซม. ทั้งสี่มุม ช่วยป้องกันไม่ให้หลังคารับความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง และช่องว่างอากาศยังเป็นฉนวนป้องกันความร้อนที่จะถ่ายเทจากพื้นไม้หรือแผ่นกระเบื้องลงสู่หลังคาได้เป็นอย่างดี
  • สีสะท้อนความร้อน เรายังสามารถใช้สีเซรามิคโค้ตติ้งที่มีผงเซรามิคโบโรซิลิเกตเป็นส่วนประกอบหลัก โดยเป็นสีสะท้อนรังสีความร้อน และรังสี UV ซึ่งการทาสีสะท้อนความร้อนบนผิวหลังคาจะช่วยให้รังสีความร้อนไม่เข้าเนื้อคอนกรีตและช่วยลดความร้อนที่สะสมในคอนกรีตได้
  • หลังคาสองชั้น การทำหลังคาช่วยป้องกันรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องตรงมายังดาดฟ้าเป็นเรื่องสำคัญเปรียบเหมือนการกางร่มป้องกันแสงแดด และฉนวนกันความร้อนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำรั่วจากหลังคาดาดฟ้าได้ ซึ่งสามารถเลือกได้หลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน เช่น หลังคาปั้นหยา หลังคาจั่ว เป็นต้น
  • สวนดาดฟ้า หากโครงสร้างของหลังคาดาดฟ้าสามารถรองรับน้ำหนักได้เพียงพอสำหรับการทำสวน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความร้อนระอุบนดาดฟ้าแล้ว เรายังได้แหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่เป็นธรรมชาติและสร้างความร่มรื่นในบ้านได้ อย่างไรก็ตาม การปลูกต้นไม้บนดาดฟ้าอาจจะทำให้มีความเสี่ยงเกิดปัญหาดาดฟ้ารั่วหรือน้ำขังให้ต้องแก้ไขต่อไป

หลังคาดาดฟ้ารั่ว

 

แก้ปัญหาน้ำขัง

หากช่วงเริ่มต้นก่อสร้างอาคารไม่ได้มาตรฐาน หรือปรับพื้นไม่ได้ระดับ ซึ่งอาจจะเกิดจากการประกอบแบบ การวางเหล็กเสริม หรือการผสมคอนกรีตเหลวเกินไป จนทำให้เกิดปัญหาน้ำขังตามมา หากเราไม่ต้องการให้น้ำขังส่งผลกระทบบานปลายกลายเป็นปัญหาน้ำรั่วซึม เราควรรีบจัดการกับปัญหาน้ำขังด้วยตัวเองโดยเร็วที่สุด

 

ในเบื้องต้นเราสามารถแก้ไขพื้นที่น้ำขังบนดาดฟ้าได้แบบไม่ต้องพึ่งพาช่างซ่อม เพียงแค่จัดเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ สิ่ว น้ำยาประสาน ปูนปรับระดับ เกรียง กระสอบ และผ้าพลาสติก หลังจากนั้น รอวันที่ฝนตกและรอเวลาให้ฝนหยุดประมาณ 2 ชั่วโมง เราจึงขึ้นไปสำรวจแอ่งน้ำขังบนดาดฟ้า พร้อมนำปากกาเคมีเขียนทำร่องรอยให้ห่างจากขอบของแอ่งน้ำประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อกำหนดขอบเขตการซ่อมแซม

 

เมื่อได้พื้นที่สำหรับซ่อมแซมที่ชัดเจนแล้ว เราจึงใช้สิ่วสกัดปูนในกรอบสี่เหลี่ยมที่ได้ทำร่องรอยแอ่งน้ำขังไว้ โดยสกัดให้ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ล้างปูนออกให้สะอาดและเติมน้ำขังในรอยทิ้งไว้ราว 1 ชั่วโมง เพื่อให้แห้งสนิท หรือใช้ผ้าซับน้ำที่เหลือออก ก่อนจะใช้น้ำยาประสานทาลงในบริเวณพื้นปูนที่ได้รับการสกัดออก

 

หลังจากนั้น เราจึงเริ่มผสมปูนปรับระดับตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ข้างถุง ซึ่งปูนดังกล่าวได้รับการออกแบบสำหรับการปรับระดับพื้นโดยเฉพาะ ด้วยสารเคมีพิเศษเสริมประสิทธิภาพในเนื้อปูน โดยเรานำปูนที่ผสมเรียบร้อยแล้วเทลงในรอยที่สกัดไว้ให้เต็มและใช้เกรียงปาดปรับระดับให้เอียงเล็กน้อย เพื่อให้น้ำได้รับการระบายไปยังท่อระบายน้ำ

 

สุดท้ายให้นำกระสอบชุบน้ำคลุมปิดทับ และผ้าพลาสติกปิดทับอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงจึงนำกระสอบชุบน้ำและผ้าพลาสติกออก

หลังคาดาดฟ้ารั่ว

 

แก้ปัญหาหลังคาดาดฟ้ารั่ว

นอกจากปัญหาน้ำขังบนดาดฟ้าในช่วงฤดูฝน หลายบ้านยังต้องเผชิญกับปัญหาหลังคาดาดฟ้ารั่ว ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น รอยร้าวบริเวณรอยต่อของโครงสร้าง ระบบกันซึมเสี่อมสภาพ การติดตั้งพื้นคอนกรีตไม่ได้มาตรฐาน หรือแสงแดดทำลายเนื้อคอนกรีต

สำหรับการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น เราควรเริ่มจากการค้นหาต้นตอการรั่วซึมที่เกิดขึ้นเพื่อการแก้ไขให้ตรงจุด เช่น บริเวณรอยต่อโครงสร้าง หรือรอยรั่วซึมกลางอาคาร เนื่องจากมีวิธีการซ่อมแซมแตกต่างกัน

  • รอยต่อโครงสร้างอาคาร หากรอยน้ำรั่วบริเวณมุมห้องหรือรอยต่อระหว่างผนังและคานช่วงท้องพื้น เราสามารถซ่อมแซมได้ ด้วยการใช้วัสดุทากันซึมที่เหมาะกับพื้นผิว และติดตั้งระบบกันซึมตามมาตรฐานที่พื้น ซึ่งควรรวมถึงผนังประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการรั่วซึมระหว่างรอยต่อของโครงสร้างอาคาร
  • รอยรั่วซึมกลางอาคาร ถ้าพื้นคอนกรีตมีแอ่งน้ำขังแสดงถึงปัญหารอยรั่วซึมกลางอาคารของเราเกิดจากความลาดเอียงไม่เหมาะสม ทำให้เกิดน้ำรั่วซึมลงด้านล่าง ดังนั้น เราควรเริ่มจากการปรับระดับและความลาดเอียงของพื้นคอนกรีตให้สามารถระบายน้ำได้ โดยใช้ปูนทรายปรับระดับผสมน้ำยากันซึมตามวิธีการแก้ปัญหาน้ำขัง

ในกรณีที่พบปัญหาแตกร้าวเสียหาย เราควรแก้ไขซ่อมแซมรอยร้าวก่อน จากนั้นจึงเพิ่มระบบกันซึมให้พื้น เช่น แบบทาเคลือบโพลียูรีเทนและอะคริลิค แบบแผ่นสำเร็จรูป เป็นต้น

 

บทความข้างต้นเผยแพร่ครั้งแรกที่ DDproperty.com เว็บไซต์สื่อกลางอสังหาริมทรัพย์ ที่รวบรวม ข่าวอสังหาฯ คู่มือซื้อขาย และรีวิวโครงการใหม่ ไว้กว่า 10,000 บทความ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

งานบ้านที่ควรเลี่ยงขณะตั้งครรภ์ เพราะบางอย่าง อาจส่งผลอันตรายต่อลูกในท้องได้

อย่าประมาท! ชาร์จแบตเครื่องเล่นจีนแดง จนไฟฟ้าลัดวงจรทำไฟไหม้บ้าน

บทความจากพันธมิตร
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • ร้อน น้ำขัง หลังคาดาดฟ้ารั่ว 3 ปัญหาบนดาดฟ้าที่ต้องจัดการ!
แชร์ :
  • อย่าละเลยภัยเงียบ น้ำรั่วในบ้าน ก่อปัญหาทำบ้านทรุด

    อย่าละเลยภัยเงียบ น้ำรั่วในบ้าน ก่อปัญหาทำบ้านทรุด

  • 5 เทคนิคโละของให้เรียบ จัดระเบียบบ้านให้เลิศ!

    5 เทคนิคโละของให้เรียบ จัดระเบียบบ้านให้เลิศ!

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • อย่าละเลยภัยเงียบ น้ำรั่วในบ้าน ก่อปัญหาทำบ้านทรุด

    อย่าละเลยภัยเงียบ น้ำรั่วในบ้าน ก่อปัญหาทำบ้านทรุด

  • 5 เทคนิคโละของให้เรียบ จัดระเบียบบ้านให้เลิศ!

    5 เทคนิคโละของให้เรียบ จัดระเบียบบ้านให้เลิศ!

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ