X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ประจำเดือนไม่มา อย่าชะล่าใจ เช็ก 8 สาเหตุที่อันตรายกว่าที่คิด

บทความ 5 นาที
ประจำเดือนไม่มา อย่าชะล่าใจ เช็ก 8 สาเหตุที่อันตรายกว่าที่คิด

สาว ๆ ต้องระวัง หากประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือ ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนไม่มาแต่ไม่ท้อง ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน ประจำเดือนไม่มา 4 เดือน สาเหตุคืออะไร อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพได้ สาเหตุที่ ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนผิดปกติ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง

 

สาเหตุที่ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน ประจำเดือนไม่มา 4 เดือน เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

การนับรอบเดือนแบบง่าย ๆ คือ นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนไปอีกประมาณ 28 – 30 วัน หากเกินกว่านั้น ประจำเดือนอาจจะมาช้า หรือหากขาดไปเกินกว่า 6 สัปดาห์ นั่นหมายความว่า ประจำเดือนขาด ประจำเดือนไม่มา4 เดือน การขาดช่วงของรอบเดือน อาจเกิดขึ้นได้จากเหตุผลเหล่านี้

 

  • เหตุเกิดจากความเครียด ทำให้ประจำเดือนไม่มา

ความเครียดส่งผลกระทบหลายอย่างต่อชีวิต และจิตใจ รวมถึง ความผิดปกติของประจำเดือนด้วย บางครั้งที่เราเครียดมาก ๆ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน GnRH น้อยลง ทำให้ไม่เกิดการตกไข่ตามรอบของประจำเดือน ลองปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำว่า ควรจะทำอะไร เพื่อเป็นการผ่อนคลายได้บ้าง นั่นอาจจะช่วยให้ประจำเดือนกลับมาตรงตามรอบเดือนได้ดังเดิม แม้ว่าจะต้องใช้เวลา 2 – 3 เดือนขึ้นไปก็ตาม

 

  • สัญญาณของสุขภาพ และโรคร้ายบางอย่าง

การเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่กระทบต่อประจำเดือน เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะกระทบต่อการผลิตฮอร์โมน GnRH ซึ่งทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ภาวะ PCOS หรือถุงน้ำรังไข่ ทำให้ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ 2 – 3 เดือน ประจำเดือนไม่มา4 เดือน เป็นประจำเดือน 1 ครั้ง มักจะทำให้น้ำหนักขึ้น ขนดก หรือมีหนวดเพิ่มขึ้นด้วย

 

  • นาฬิกาชีวิตที่เปลี่ยนไป

หากนาฬิกาชีวิตเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการทำงานเป็นกะ เปลี่ยนจากการทำงานกลางวัน เป็นกลางคืน หรือกลางคืน เป็นกลางวันบ่อย ๆ อาจพบปัญหารอบเดือนเปลี่ยนแปลงได้ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงงาน ที่ทำให้ตารางชีวิตคุณผันผวน รอบเดือนก็จะกลับมาเป็นปกติได้

Advertisement

 

ประจำเดือนไม่มา

 

  • ผลจากการใช้ยาบางชนิด

การได้รับยาบางอย่าง อาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ ประจำเดือนไม่มา4 เดือน เช่น การฉายรังสี เพื่อรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก หรือการให้ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งทุกชนิด จะไปทำลายรังไข่ ทำให้รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จึงไม่มีประจำเดือน รวมถึงการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาฉีดคุมกำเนิด หรือ ยาเม็ดคุมกำเนิด

 

  • น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ หรือความอ้วน

โรคอ้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาดไปครั้งละหลายเดือน เนื่องจากผิวหนังเปลี่ยนเซลล์ไขมัน ไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ คุณแม่ส่วนใหญ่ที่ลดน้ำหนักลงมาได้ ก็จะสามารถกลับมามีรอบเดือนปกติได้

 

  • ผอมเกินไป ร่างกายขาดสารอาหาร

ถ้าร่างกายคุณมีไขมันน้อยเกินไป อาจทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้เช่นกัน การเพิ่มน้ำหนักตัวจะช่วยให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้อาการประจำเดือนขาด มักพบบ่อยในผู้หญิงที่ออกกำลังกายอย่างหนัก หรือเป็นนักกีฬา รวมถึงคนที่มีภาวะ anorexia ที่ไม่ยอมรับประทานอาหารเนื่องจากกลัวอ้วน ก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน GnRH เช่นกัน

 

  • การคำนวณรอบเดือนผิด

รอบประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกัน โดยเฉลี่ยมักจะอยู่ที่ 28 วัน แต่บางคนอาจสั้น หรือยาวกว่านั้น และก็ไม่ได้คงที่ในทุกเดือนเสียด้วย บางเดือนก็มาเร็ว บางเดือนก็มาช้า ทำให้คุณอาจคำนวณรอบเดือนคลาดเคลื่อน แต่หากคุณรู้วันที่ไข่ตก คุณก็จะสามารถคาดการณ์ได้ว่าวันที่ประจำเดือนจะมาได้ ซึ่งก็คือประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากวันไข่ตก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประจำเดือนไม่มา เช็กด่วน! 8 สาเหตุ อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายกว่าที่คิด

 

  • อาการเริ่มต้นของวัยทอง

สัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณอยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน ก็คือ ความผันผวนของฮอร์โมน อันเกิดจากรังไข่ทำงานผิดปกติ ซึ่งอาการวัยทองนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 40 ปีเป็นต้นไป คุณอาจพบว่า ประจำเดือนมีสีจางลง หรือเข้มขึ้น ประจำเดือนมาบ่อยขึ้น หรือบางทีก็ทิ้งช่วงไปนาน หากไม่ต้องการมีบุตร ก็ต้องแน่ใจว่าได้คุมกำเนิดแล้ว เพราะแม้ว่าจะไม่มีประจำเดือน แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในวัยเจริญพันธุ์

 

ประจำเดือนไม่มา

 

หากประจำเดือนมาไม่ปกติ ควรทำอย่างไร ?

หากประจำเดือนขาด หรือ ประจำเดือนไม่มา4 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ และแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ถ้าหากประจำเดือนไม่มา4 เดือน ในขั้นแรกแนะนำให้รออีกสักหนึ่งสัปดาห์ และทำการทดสอบการตั้งครรภ์อีกครั้ง หากผลยังเหมือนเดิม ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาต้นเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เพราะรอบเดือนเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่จะบอกได้ว่า ร่างกายมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ อย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำหนักขึ้น ประจำเดือนมาไม่ปกติภัยเงียบจาก PCOS

 

บันทึกหนึ่งรอบเดือน ดูอย่างไรว่าวันไหนไข่ตก ?

โดยทั่วไป รอบเดือนของผู้หญิงจะอยู่ที่ 28 – 30 วัน ในหนึ่งรอบเดือนนั้น มีเพียงไม่กี่วันที่การมีเพศสัมพันธ์ จะทำให้มีการตั้งครรภ์ได้ มาดูกันว่า ในหนึ่งรอบเดือนนั้น เกิดอะไรขึ้นกับรังไข่ของเราบ้าง

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
  • วันที่ 1 – 5 วันแรกของการมีประจำเดือน นับเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนนาน 3 – 8 วัน หรือ 5 วันโดยเฉลี่ย ซึ่งวันที่ 2 มักจะเป็นวันที่ประจำเดือนมามากที่สุด
  • ในวันที่ 6 – 14 หลังจากหมดระดู เยื่อบุโพรงมดลูกจะเริ่มทำงานอีกครั้ง หนาขึ้น อุดมไปด้วยเลือด และสารอาหาร เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจริญพันธุ์
  • ตั้งแต่วันที่ 14-25 ของรอบเดือน จะเป็นวันตกไข่ (Ovulation day) โดยไข่ที่ตกลงมาจะนำตัวเองเดินทางผ่านท่อนำไข่ เพื่อไปยังมดลูก หากไข่ได้พบกับอสุจิในวันนี้ การปฏิสนธิก็จะเกิดขึ้น และไข่ก็เคลื่อนที่ไปฝังตัวบนผนังมดลูกในที่สุด
  • วันที่ 25 – 28 แต่หากการปฏิสนธิไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม ไข่ที่ไม่ได้รับการผสม ก็จะฝ่อ และหลุดล่อนออกมาพร้อม ๆ กับผนังมดลูก กลายเป็นระดู หรือประจำเดือน เป็นการเริ่มต้นรอบเดือนรอบใหม่นั่นเอง

 

การจดบันทึกรอบเดือนให้แม่นยำ ทำอย่างไร ?

สาว ๆ ควรจะมีการจดบันทึกรอบเดือนของตัวเอง เพื่อให้สามารถที่จะติดตามได้ว่า ประจำเดือนมาเป็นปกติหรือไม่ ประจำเดือนไม่มา 4 เดือน การจดบันทึกรอบเดือน ควรจะมีการบันทึก เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย

  • วันแรก และวันสุดท้ายที่ประจำเดือนมา
  • ปริมาณของประจำเดือนในแต่ละวัน มาก หรือน้อยอย่างไร
  • อาการต่าง ๆ เช่น ท้องอืด เจ็บหน้าอก เป็นต้น
  • อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด อ่อนไหว อยากอาหารบางอย่างมาก ๆ เป็นต้น

 

ประจำเดือนไม่มา

 

หากประจำเดือนไม่มา4 เดือน หรือ ประจำเดือนมาไม่ตรงกับวันที่จดบันทึกเอาไว้ อาจจะเกิดจากสาเหตุที่กล่าวมาในข้างต้น เช่น ความเครียด การรับประทานอาหาร การดำเนินชีวิตในช่วงนั้น ๆ ก็เป็นได้ ประจำเดือนอาจจะมาช้า หรือเร็วกว่ากำหนดบ้าง 1 – 2 ครั้งต่อปี ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตในช่วงนั้นด้วย

หากสงสัยว่าประจำเดือนไม่มา 4 เดือน แล้วตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถใช้ชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ หลังจากวันที่ประจำเดือนขาดไปประมาณ 1 สัปดาห์ หรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ 1 – 2 สัปดาห์ เนื่องจากร่างกายต้องมีการพัฒนาฮอร์โมนสำหรับการตั้งครรภ์ก่อน ชุดตรวจครรภ์จึงจะสามารถตรวจสอบการตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สัญญาณเตือนโรคอันตราย บอกได้จากประจำเดือน

ช่วงให้นมลูกแต่ประจำเดือนไม่มา…ปกติไหม?

คนท้องประจำเดือนขาดกี่วัน ถึงจะตรวจพบว่าตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 1

ที่มา : verywellhealth, haamor


theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ประจำเดือนไม่มา อย่าชะล่าใจ เช็ก 8 สาเหตุที่อันตรายกว่าที่คิด
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว