X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เกิดขึ้นเพราะอะไร? สาเหตุของภาวะตายคลอด

บทความ 5 นาที
ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เกิดขึ้นเพราะอะไร? สาเหตุของภาวะตายคลอด

ภาวะตายคลอด (Stillbirth) คือการที่ทารกในครรภ์เสียชีวิตเป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่พบไม่บ่อย แต่เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับคุณแม่เองและแพทย์ผู้ดูแลรักษา ซึ่งอาจจะไม่ได้ยินบ่อยในประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เพราะหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยิน แต่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนไทยนัก วันนี้มาดูว่า ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เกิดขึ้นเพราะอะไร ? สาเหตุของภาวะตายคลอด

 

การตายคลอด (Stillbirth)

ภาวะตายคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขณะตั้งครรภ์หรือคลอดบุตร ซึ่งมีการให้คำจำกัดความที่หลากหลาย มีความคาบเกี่ยวกับภาวะแท้งบุตร ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ กล่าวคือ พบเหตุการณ์ในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อย ในช่วงที่หากทารกคลอดแล้วยังเลี้ยงไม่รอด เรียกว่าแท้งบุตร หากอายุครรภ์มากขึ้นเป็นช่วงที่สามารถเลี้ยงทารกหลังคลอดรอดได้ เรียกตายคลอด ในอเมริกาหรือยุโรปจึงกำหนดจุดตัดอายุครรภ์ไว้น้อยที่ 20-24 สัปดาห์ ส่วนในประเทศไทยกำหนดไว้ที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป

 

อาการตายคลอด และ การแท้ง แท้จริงแล้วไม่เหมือนกัน

ในทางการแพทย์แล้ว สองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน นอกจากเหตุผลที่เราอธิบายไปข้างต้นแล้ว สิ่งที่ทำให้ทั้งสองสิ่งต่าง กันยังมีอีกก็คือ การแท้งส่วนมากจะเกิดในเด็ก มดลูก แต่ อาการตายคลอดนั้น เด็กอาจจะยังคลอดออกมาได้อยู่ แต่หัวใจของเขาไม่เต้นแล้ว

 

สาเหตุของภาวะตายคลอด (Stillbirth)

ภาวะตายคลอด

 

  • ทารกมีโครโมโซมผิดปกติ
  • สายสะดือผิดปกติ
  • แม่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ (เช่น ปากมดลูกสั้น ครรภ์เป็นพิษ ภาวะน้ำคร่ำน้อยผิดปกติ ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เกินกำหนด)
  • แม่มีโรคที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด มีการติดเชื้อในครรภ์ (เช่น เชื้อซิฟิลิส เชื้อไวรัสบางชนิด) เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของสายสะดือ เช่น สายสะดือยาวผิดปกติ ทำให้พันกันเอง หรือพันรอบคอทารก การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ทารกพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรง นอกจากนี้ยังมีสภาวะที่เพิ่มโอกาสการตายคลอด เช่น ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด
  • แม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา 
  • การใช้ยาเพื่อการพักผ่อน หรือการทานยานอนหลับ
  • โรคประจำตัวของแม่ เช่น โรคลมชัก เบาหวาน เป็นต้น

แม้จะมีสาเหตุที่เป็นไปได้ของการตายคลอด และแม้จะป้องกันการแท้งมากน้อยแค่ไหน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในการดูแลตัวเอง อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่อยู่ในสภาพจิตใจที่อ่อนแอ ก็จะส่งผลทำให้จิตใจแย่ลงกว่าเดิม รวมถึงภาวะซึมเศร้า โรคเครียดหลังบาดแผล PTSD และความเศร้าโศกที่ซับซ้อน 

 

แนวทางการป้องกันภาวะตายคลอด

ภาวะตายคลอด

 

ขึ้นอยู่กับ สาเหตุเป็นหลัก หากเป็นกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ จะมีความยากลำบากในการป้องกัน เนื่องจากไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะที่ได้ผลดี โดยหลักทั่วไป จึงแนะนำให้ฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์สม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่สุกและสะอาดเท่านั้น ดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงสารพิษหรือการรับประทานยาที่ไม่มีคำสั่งแพทย์ และเมื่ออายุครรภ์เกิน 28 สัปดาห์แนะนำให้นับลูกดิ้นเป็นกิจวัตรประจำวัน หากทารกดิ้นน้อยผิดสังเกตให้รีบไป พบแพทย์ทันที

 

วิธีปลอบใจคนที่เกิดภาวะตายคลอด (Stillbirth)

ภาวะตายคลอด

 

ภาวะตายคลอด (Stillbirth) นั้นเป็นเหมือนแผลใจของทุกคน เพราะฉะนั้นการได้พูดคุยกับเขาก็จะเป็นเหมือนคำพูดที่จะสร้างให้พ่อหรือแม่ ที่เกิดสภาวะตายคลอดนั้นมีกำลังใจในการก้าวต่อไป วันนี้เรามีคำพูดที่เหมาะสมในการพูดกับ พ่อแม่ที่เกิด ปัญหาภาวะตายคลอด (Stillbirth)

  • ฉันเสียใจที่ได้ยินข่าวเรื่องนี้แต่เธอสามารถเล่าให้ฉันฟังได้
  • ฉันยังอยู่ตรงนี้กับเธอเสมอไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • เล่าให้ฉันฟังได้นะว่าเธอรู้สึกยังไง
  • ถ้าเธอพร้อมแล้วฉันจะรอฟังนะ
  • คุณสามารถเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับลูกของคุณให้เราฟังได้นะ 
  • ฉันจะอยู่ตรงนี้ ที่นี่กับคุณ 
  • รู้สึกอย่างไรบ้าง บอกเราได้นะ 

สำหรับพ่อแม่ที่เสียลูกไป ในขณะที่คุณรู้สึกอยากปิดกั้นตัวเอง ไม่อยากบอกคนอื่น แต่คนรอบข้าง จะพาคุณไปในทางที่ดีคิดบวก และสามารถช่วยคุณให้ผ่านในช่วงนี้ไปได้ และบางที อาจไม่มีใครรู็ความรู้สึกของพ่อแม่ที่เสียลูกไปดีกว่าคนอื่น และเราหวังว่าคุณจะสบายใจ เมื่อรู้ว่าคุณก็ไม่ได้อยู่คนเดียว ในการต่อสู้ครั้งนี้ ! 

 

Project Sidekicks

ที่ theAsianparent เรามีฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณนับลูกได้ง่ายขึ้น ใน App ของเรา เราอยากแนะนำให้คุณแม่ทำบ่อย ๆ เพื่อตรวจดูอาการของคุณลูก หาก คุณแม่ มีข้อสงสัย หรืออยากได้ข้อมูล เพิ่มเติม สามารถเข้ามาได้ที่ Project Sidekicks

ภาวะตายคลอด

 

theAsianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ท้องอ่อนๆ ปวดท้องน้อย ทำไมปวดมาก เสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

คุณแม่ท้องโปรดทราบ ! การดื่มกาแฟวันละแก้วอาจทำให้ แท้งลูกง่ายขึ้น

 ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อ การแท้งลูก แม่ท้องต้องรู้ก่อนสายเกินไป !

 

ที่มา : 1 

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยแค่ไหนจึงจะดีต่อสุขอนามัยของลูก
ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยแค่ไหนจึงจะดีต่อสุขอนามัยของลูก
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
น้ำนมแม่ อาหารมหัศจรรย์ของลูก
น้ำนมแม่ อาหารมหัศจรรย์ของลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

bossblink

  • หน้าแรก
  • /
  • การสูญเสียบุตร
  • /
  • ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เกิดขึ้นเพราะอะไร? สาเหตุของภาวะตายคลอด
แชร์ :
  • ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด

    ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด

  • 6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด บางอย่างคุณอาจไม่รู้

    6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด บางอย่างคุณอาจไม่รู้

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด

    ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด

  • 6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด บางอย่างคุณอาจไม่รู้

    6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด บางอย่างคุณอาจไม่รู้

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ