สมาชิกเฟสบุ๊กนามว่า Weanploy Warinwan ได้แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเองเพื่อเป็นการเตือนใจผู้หญิงทุกคนให้หันมาดูแลและให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้น โดยเธอเล่าว่า ตอนแรกเธอนึกว่าตัวเองอ้วนลงพุงเพราะการดื่มเบียร์ จึงเริ่มควบคุมอาหารจนร่างกายผอมลง แต่หน้าท้องกลับไม่ยุบและยื่นมากกว่าเดิม ท้องตึงกดไม่ลง อ่อนเพลีย แต่พอไปตรวจจริงจัง กลับพบว่าตัวเองมีเนื้องอกอยู่ในท้อง!!
เธอเล่าอีกว่า เธอมีอายุเพียง 23 ปี ประจำเดือนมาปกติ มีอาการปวดท้องน้อย แต่ก็ยังไม่ไปพบแพทย์ จากนั้นก็มีอาการท้องอืด ถ่ายยาก ปัสสาวะแสบขัด เหมือนมีก้อนอะไรในท้อง จนไปตรวจจริงจังและพบเนื้องอกขนาด 13 เซนติเมตร จึงต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออก
“คุณหมอทำการผ่าตัดให้ค่ะ แต่เป็นเรื่องที่ตกใจกับตัวเองและคนรอบข้างเนื่องจากคุนหมอบอกว่า ก้อนมันแตกตั้งแต่อยู่ในท้องแล้ว ได้ทำการผ่าออกมา พบว่าก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่มาก 20 เซนติเมตร ถือว่าใหญ่ระดับนึงเลยค่ะ ในนั้นมีเส้นผม ไขมัน ฟัน และ กระดูก เป็นต้น หมอบอกว่ามันเป็นการเจริญผิดที่ค่ะ ก้อนเท่าแตงโมขนาดเล็กก็ว่าได้เราจึงถูกตัดปีกมดลูกและรังไข่ด้านขวาไปแล้วค่ะ อีกทั้งตัดต่อมน้ำเหลืองเชิงกรานออกด้วยเนื่องจากตอนนั้นคุณหมอต้องนำชิ้นเนื้อไปพิสูจน์ต่อว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ จึงต้องตัดต่อมน้ำเหลืองเพื่อลดการแพร่กระจายไปก่อน ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ แล้วค่ะ แล้วตอนนี้เราไปรักษาต่อ ที่โรงพยาบาลใหญ่เพื่อทำการเคมีบำบัดกันต่อไป”
เนื้องอกรังไข่แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
- ถุงน้ำ (Cyst)เป็นเนื้องอก ที่มีลักษณะเป็นถุง ภายในบรรจุของเหลว น้ำ เนื้อเยื่อ
- เนื้องอกธรรมดาหรือชนิดไม่ร้ายแรง (Benign)
- เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง (Malignant)
อาการของเนื้องอกรังไข่
– มีความผิดปกติของประจำเดือน
– ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากเนื้องอกอาจไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
– ท้องผูก เนื่องจากเนื้องอกไปกดเบียดลำไส้
– ท้องโตขึ้น
– ปวดท้องเฉียบพลัน อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นเกิดการแกว่งตัวบิดขั้ว แตกออก เกิดการตกเลือด ติดเชื้อ
– ท้องอืด เบื่ออาหาร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!