X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สารพันเรื่อง ลูกดิ้น ที่เเม่ท้องไม่รู้ไม่ได้

บทความ 3 นาที
สารพันเรื่อง ลูกดิ้น ที่เเม่ท้องไม่รู้ไม่ได้

สารพันเรื่อง ลูกดิ้น ที่เเม่ท้องไม่รู้ไม่ได้ เเม้ว่าอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดูสำคัญ เเต่จริงๆ เเล้วสำคัญมากค่ะเเละอาจจะทำให้คุณเเม่รู้สึกผูกพันธ์กับลูกยิ่งขึ้น

สารพันเรื่อง ลูกดิ้น ที่เเม่ท้องไม่รู้ไม่ได้

สารพันเรื่อง ลูกดิ้น ที่เเม่ท้องไม่รู้ไม่ได้ เเม้ว่าเด็กบางคนอยู่ในท้องจะไม่ดิ้น จนทำให้คุณเเม่ใจเสียว่าลูกยังมีชีวิตอยู่ไหมเนี่ย เเต่หลายๆ ครั้งที่ลูกก็ดิ้นปกติน่ะเเหละค่ะ เพียงเเต่เเค่คุณเเม่ไม่รู้สึกเท่านั้นเอง

ลูกดิ้น คืออะไร

คำว่า quickening หรือลูกดิ้น หรือการเคลื่อนไหวของตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ คือสัญญาณสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ได้เริ่มก่อเกิดขึ้นมาในตัวของคุณเเม่เเล้วละค่ะ ซึ่งคำว่า quick หมายถึง alive หรือมีชีวิตนั่นเอง ในศตวรรษที่ 18 วิลเลี่ยม เเบล็คสโตน นักวิชาการทางกฎหมาย ได้คำนิยามคำว่า quickening หรือการเคลื่อนไหวของตัวอ่อนในครรภ์ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตค่ะ

วิลเลี่ยมอธิบายว่า การเคลื่อนไหวของเด็กทารกหรือตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ถูกมองว่า เด็กในครรภ์เป็น 1 ชีวิต ซึ่งในแง่กฎหมายหมายเเล้ว เเนวคิดนี้มีไว้เพื่อปกป้องเด็กและแม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับเด็กในครรภ์หรือหญิงตั้งครรภ์

“Life… begins in contemplation of law as soon as an infant is able to stir in the mother’s womb.”

"ตามกฎหมายเเล้ว ชีวิตนั้นเริ่มขึ้นตั้งเเต่ตัวอ่อนสามารถเคลื่อนไหวอยู่ในครรภ์ของมารดา" (เเม้ว่ากฎหมายไทยจะระบุว่าทารกในครรภ์จะไม่นับว่าเป็นคนก็ตามค่ะ)

ทำไมลูกถึงดิ้น

ลูกอึดอัดรึเปล่า หรืออยู่ในท้องเเม่มันไม่สบายตัว จริงๆ คือเป็นพัฒนาการที่ปกติค่ะ การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่เป็นการฝึกซ้อมเพื่อรับมือกับชีวิตในโลกกว้าง เด็กๆ จะฝึกใช้ปอดโดยการหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าไป เเละยังเป็นการออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้ออีกด้วยค่ะ

การเคลื่อนไหวบางอย่างก็เป็นการตอบสนองกับสิ่งเร้าภายนอก อย่างเเสงหรือเสียง นอกจากนี้มันก็คือความสงสัยของลูกล้วนๆ เช่น "เฮ้ เจ้าเเขนที่มันอยู่ข้างหน้าหนูเพิ่งขยับ สงสัยจังเลยว่าจะขยับมันอีกได้ไหม ว้าว ยอดไปเลย"

เด็กบางคนก็ถูกจับได้ระหว่างการทำอัลตราซาวน์ ว่าเเอบเล่นกับสายสะดืออยู่ หรือเเม้กระทั่งบางทีก็ฝึก "เดิน" อยู่ในท้องคุณเเม่นี่เเหละค่ะ เพื่อฝึกการเดินทางครั้งเเรกของตัวไปที่หน้าอกของคุณเเม่ นั่นคือสาเหตุมาทำไมการสัมผัสเนื้อเเนบเนื้อถึงสำคัญมาก

เมื่อไหร่ที่ลูกจะดิ้น

ครั้งเเรกที่คุณเเม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นนั่นคือประมาณอายุครรภ์ได้ 16-25 สัปดาห์ค่ะ เเต่คุณเเม่บางคนก็อาจจะรู้สึกหลังจากนั้น เเตกต่างกันไปเเล้วเเต่คน เเต่คุณเเม่บางคนก็อาจจะรู้สึกได้เร็วกว่านั้นเช่นกัน เนื่องจากมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง

เช่น คุณเเม่ที่เคยคลอดลูกมาเเล้วจะมีความไวต่อการดิ้นของลูกมากกว่าคุณเเม่มือใหม่ เเละอีกหนึ่งปัจจัยคือ คุณเเม่อาจจะต้องเเยกให้ออก ระหว่างลูกดิ้นกับเสียงของอวัยวะภายใน

ลูกดิ้นเเล้วจะรู้สึกยังไง

คุณเเม่บางคนอาจจะรู้สึกเหมือนมีปีกกระพืออยู่ภายในท้อง เเต่คุณเเม่บางคนก็อาจจะรู้สึกกระตุกๆ ได้ค่ะ ซึ่งในไตรมาสเเรกเเม้ลูกจะมีการเคลื่อนไหว เเต่ลูกยังตัวเล็กมากๆ อยู่ ในไตรมาสที่ 2 เเละ 3 เมื่อลูกตัวโตขึ้น คุณเเม่จึงคิดว่าลูกดิ้นบ่อยขึ้นนั่นเองค่ะ

เจ็บไหม เมื่อลูกดิ้น

เริ่มเเรกจะเป็นเหมือนการสะกิดเบาๆ ค่ะ ซึ่งไม่ทำให้เจ็บหรือรู้สึกอะไรมาก เพียงเเต่เมื่อครรภ์เริ่มเเก่ขึ้น จากนิ้วเล็กๆ เท้าเล็กๆ ก็เริ่มใหญ่ขึ้น ใช่ค่ะ อาจจะเจ็บเเละจุกได้ เเต่ก็เป็นความเจ็บเเละความจุกที่ยอมรับได้ (เเน่ละ) คุณเเม่บางคนถึงกับบอกว่า การดิ้นของลูกช่วยให้คุณเเม่รู้สึกผูกพันธ์กับลูกมากขึ้นด้วยค่ะ เมื่อลูกกลับหัวพร้อมจะออกมาเเล้ว คุณเเม่ก็อาจจะรู้สึกถึงการยืดเหยียดได้บ้าง

เเต่หากเมื่อใดที่คุณเเม่รู้สึกว่าเวลาลูกดิ้นเเละเจ็บมากหรือจุกมาก อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจนะคะ ควรรีบไปพบคุณหมอทันทีค่ะ

คุณแม่รู้ไหม การดิ้นของลูกในครรภ์ถือเป็นหนึ่งในพัฒนาการที่กำลังบอกให้คุณแม่รู้ว่าลูกแข็งแรงดี
ซึ่งสิ่งที่แม่ๆ ต้องทำคือจดบันทึกการดิ้นของลูกทุกวันด้วยนะคะ รวมทั้งต้องดูแลโภชนาการสารอาหาร คุณแม่ต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อที่ลูกจะได้แข็งแรงสมบูรณ์ค่ะ

ที่มา mamanatural

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณแม่รู้ไหม “ลูกดิ้น” บอกอะไร? “ลูกไม่ดิ้น” อันตรายไหม?

กิจกรรมที่ทำเเล้ว "ลูกไม่ดิ้น"

ลูกดิ้นครั้งเเรก ในไตรมาสที่ 2

parenttown

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • สารพันเรื่อง ลูกดิ้น ที่เเม่ท้องไม่รู้ไม่ได้
แชร์ :
  • แม่ท้องไม่รู้ตัว ไม่แพ้ท้อง ลูกไม่ดิ้น เป็นไปได้ไหม?

    แม่ท้องไม่รู้ตัว ไม่แพ้ท้อง ลูกไม่ดิ้น เป็นไปได้ไหม?

  • ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

    ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

  • แม่ท้องไม่รู้ตัว ไม่แพ้ท้อง ลูกไม่ดิ้น เป็นไปได้ไหม?

    แม่ท้องไม่รู้ตัว ไม่แพ้ท้อง ลูกไม่ดิ้น เป็นไปได้ไหม?

  • ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

    ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ