X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สามี"กินรก"ภรรยา น่าขยะแขยงหรือมีคุณค่าทางอาหาร

บทความ 3 นาที
สามี"กินรก"ภรรยา น่าขยะแขยงหรือมีคุณค่าทางอาหารสามี"กินรก"ภรรยา น่าขยะแขยงหรือมีคุณค่าทางอาหาร

มาดูเรื่องราวของนาย Rossco Watson คุณพ่อลูก 2 วัย 32ปี กับเรื่องที่เขากินรกของภรรยาตัวเองกันครับ

เรื่องราวการ กินรก ของตัวเองหลังคลอดของคุณแม่อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น หากแต่การที่สามีกินรกของภรรยาตัวเอง อาจเป็นเรื่องที่ใครหลายคนไม่เคยคิดว่าจะเป็นไปได้ และไม่เคยได้ยินมาก่อน

“ถ้าไม่กินตอนนี้ก็ไม่มีโอกาสแล้ว”

Rossco Watson คุณพ่อลูก 2 วัย 32ปี ได้แชร์วีดีโอที่ถ่ายไว้ในขณะที่เขากินรกของภรรยาตัวเอง ขากว่าวว่า  Lachlan ลูกชายของเขาคงป็นลูกคนสุดท้าย ครั้งนี้เขาจึงอยากกินรกของภรรยาตัวเอง เพราะหลังจากนี้คงไม่มีโอกาสอีกแล้ว เขากล่าวว่า “ผมจะกินรกของภรรยาของผมและผมคิดว่าคงไม่มีสามีคนไหนกินรกของภรรยาตัวเองมาก่อน”

กินรก

 “กินสุกดีกว่านะ”

วัตสันนำรกของภรรยาตัวเองมาปรุงอาหาร แต่ก่อนที่เขาจะเอารกมาปรุงสุก เขาได้ลองกินรกคู่กับถั่วแบบดิบๆ หลังจากนั้น เขาบอกว่า “ทำให้สุกก่อนอร่อยกว่าแน่นอน”

หลังจากนั้นเขาก็จัดแจงนำรกของภรรยาตัวเองไปปรุงเป็นอาหาร  แล้วโรยเกลือลงไป ตามด้วยซอสอีกนิดหน่อย โดยกินคู่กับขนมปังปิ้งและถั่ว “อาหารมื้อนี้ใช้เวลาทำถึง 9 เดือนเลยนะ” นายวัตสันกล่าว

นายวัตสันได้ให้สัมภาษณ์กับ Daily Mail ว่า “ภรรยาผมมีท่าทางขยะแขยงแต่เธอก็ไม่แปลกใจที่เห็นผมเอารกมาปรุงอาหาร และรสชาติของมันก็เป็นรสชาติที่ไม่เหมือนสิ่งใดที่เขาเคยกินมาก่อนในชีวิต”

แต่หลังจากนั้นเขาก็ออกมายอมรับโดยการโพสเฟสบุ๊กว่าเขากินรกไปแค่ไม่กี่คำแล้วเอาที่เหลือให้ไก่ที่เขาเลี้ยงไว้กินหมด
วีดีโอนายRossco Watson กินรกตัวเอง

 

สำหรับคนที่ได้ดูวีดีโอต่างก็แสดงความเห็นกันไปต่างๆนานา บ้างก็ว่าอยากจะลองกินดูบ้าง อีกส่วนก็ว่าเป็นเรื่องที่น่าขยะแขยงที่สุด บางคนถึงขนาดคอมเมนท์ว่า “ฉันไม่อยากเชื่อว่าจะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบนโลก”

อ่านต่อหน้าถัดไป

"กินรก"ดีไหม

ทุกวันนี้ ในหลายๆประเทศเริ่มมีการกินรกตัวเองกันอย่างแพร่หลายด้วยความเชื่อที่ว่าการกินรกนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ บ้างก็ว่าช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยลดอาการซึมเศร้า ในขณะที่ปัจจุบัน การกินรกยังแพร่หลายถึงขนาดที่มีธุรกิจในการนำรกมาทำเป็นแคปซูลกันเลยทีเดียว ซึ่งคุณแม่บางคนก็ชอบกินรกที่อยู่ในรูปแคปซูลเพราะเชื่อในสรรพคุณของมัน

มีการวิจัยแบบไม่เป็นทางการหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่ารกนั้นดีสำหรับลูกน้อย เพราะในรกมีสารอาหารหลายชนิดที่ช่วยในการเพิ่มพัฒนาการของลูกน้อย รวมไปถึง วิตามิน แร่ธาตุ ที่สำคัญต่อการพัฒนาการของเด็ก รกนั้นยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินบี6 และ วิตามินบี12 อีกทั้งในรกยังมีโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญอย่างยิ่งต่อแม่ท้องหลังคลอด บางรายงานก็อ้างว่าการกินรกจะช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์อย่างจริงจังว่า การกินรกตัวเองจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ครับ

ในขณะที่สัตว์บางชนิดอาจกินรกตัวเองเป็นอาหาร แต่อย่างไรก็ตามสัตว์ที่กินรกตัวเองนั้นก็เพื่อเพิ่มสารอาหารให้กับตัวมันเอง ในขณะที่ เหล่าคุณแม่ทั้งหลายที่กินรกของตัวเองแล้วมีผลดีต่ออาการเจ็บป่วยนั้น จริง ๆ แล้วอาจจะแค่มีผลทางจิตวิทยาก็เป็นได้

สำหรับในเมืองไทยเรานั้น การกินรกอาจยังดูเป็นเรื่องที่แปลก แต่หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดมีประสบการณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับการกินรกก็สามารถบอกเล่าสู่กันฟังได้ในคอมเมนท์ด้านล่างครับ

รก (placenta) คือ โครงสร้างที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหาร และ ออกซิเจนจากมารดาเข้าสู่ทารก และ แลกเปลี่ยนของเสียจากทารก ออกมาสู่มารดา โดยส่งผ่านหลอดเลือดตามความยาวของ สายสะดือ รวมถึงทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ที่ในการผลิตฮอร์โมนที่ใช้ทำงานร่วมกับ ฮอร์โมนเพศชนิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อกับการตั้งครรภ์ รกถูกสร้างขึ้นหลังการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว และ จะถูกสร้างขึ้นในปริมาณมาก และ บางส่วนจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งสามารถใช้ทดสอบการตั้งครรภ์ได้

ลักษณะ และ โครงสร้างของรก

รกมีลักษณะคล้ายจาน ประกอบด้วย villus chorion และ decidua basalis และ แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ

1. รกส่วนของทารก (embryonic surface/fetal portion)

รกส่วนนี้ ประกอบด้วย chorionic plate, chorionic vill และ trophoblastic shell โดยจะถูกล้อมรอบด้วย intervillous space

2. รกส่วนมารดา (maternal surface/maternal portion of the placenta)

รกส่วนนี้ คื decidual basalis จึงเป็นชั่นในสุดของรกที่ประกอบด้วยเซลล์ deciduล ทีเบีนเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันขนาดใหญ่ เซลล์มีรูป

ไข่ และรียาว มีนิวเคลียส 1-2 นิวเคลียสในเซลล์เดียวที่สามารถย้อมติตสีเข้มไต้ เซลล์ชนิดนี้จะมีมากในระยะแรกของการตั้งครรภ์ และ จะสลายน้อยลงเมืออายุครรภ์มากขึ้น

หน้าที่ของรก รกมีหน้าที่อะไร

ระหว่างในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ รกทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้ค่ะ

  • ลำเลียงอาหารให้ทารกในครรภ์

ทารกจะได้รับสารอาหารที่อยู่ในกระแสเลือดคุณแม่ โดยเลือดจะวิ่งเข้าสู่รกแล้วจึงผ่านสายสะดือที่เชื่อมลูกน้อยกับคุณแม่ค่ะ

  • ย่อยอาหาร

รกจะทำการย่อยสารอาหารให้เล็กลงเพื่อที่ทารกในครรภ์จะได้ดูดซึมได้ง่ายขึ้น

  • กรองของเสียจากเลือด

รกทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือดที่อาจจะเป็นโทษต่อสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยค่ะ

  • ส่งต่อออกซิเจน

รกทำหน้าที่เสมือนปอดของทารกในครรภ์ คอยส่งต่อออกซิเจนให้ลูกน้อยของคุณแม่ค่ะ

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
  • ขับถ่ายของเสีย

รกจะนำของเสียที่ทารกในครรภ์ขับถ่ายมาที่ระบบการไหลเวียนโลหิตของคุณแม่ หลังจากนั้นคุณแม่จะขับของเสียเหล่านั้นออกมาทางปัสสาวะค่ะ

  • ป้องกันการติดเชื้อ

รกจะทำการแยกระบบไหลเวียนโลหิตของคุณแม่และทารกในครรภ์ออกจากกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้เมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด รกจะส่งสารแอนติบอดี้ให้ทารกในครรภ์ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยของคุณแม่ในช่วงแรกๆ ที่ออกมาจากครรภ์ค่ะ หลังจากที่สารแอนติบอดี้ที่ได้รับจากรกนั้นหมดไป ทารกสามารถได้รับภูมิคุ้มกันได้จากการกินนมแม่ค่ะ

  • ป้องกันการสำลักน้ำคร่ำ

รกจะจับออกซิเจนที่คุณแม่หายใจเข้าไปและส่งต่อไปยังระบบไหลเวียนโลหิตและสายสะดือของลูกน้อย ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญของรกเลยนะคะ เพราะถือว่าเป็นการป้องกันไม่ให้ทารกหายใจหรือสำลักน้ำคร่ำเข้าไป ซึ่งจะเกิดอันตรายรุนแรงต่อทารกในครรภ์ได้

  • ผลิตฮอร์โมนที่เหมาะสมกับการตั้งท้องและคลอด

รกทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจำนวนมาก เพื่อป้องกันการบีบรัดตัวของมดลูกก่อนที่จะถึงเวลาคลอดที่เหมาะสมและเตรียมความพร้อมให้มดลูกสำหรับการคลอดด้วยค่ะ

กินรก

ที่มา ph.theasianparent.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ลูก10เดือนเข้า ICU เพราะติดเชื้อจากรถเข็นของในซูเปอร์

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • สามี"กินรก"ภรรยา น่าขยะแขยงหรือมีคุณค่าทางอาหาร
แชร์ :
  • แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ

    แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ

  • วีดีโอเตรียมคลอด และการคลอดระยะต่าง ๆ

    วีดีโอเตรียมคลอด และการคลอดระยะต่าง ๆ

  • 500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2565 ชื่อเล่นเพราะ ๆ ไม่ซ้ำใคร

    500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2565 ชื่อเล่นเพราะ ๆ ไม่ซ้ำใคร

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

app info
get app banner
  • แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ

    แพทย์เตือนอีกรอบ ลูกอาจเสี่ยงติดเชื้อ อย่ากินรก นะแม่ๆ

  • วีดีโอเตรียมคลอด และการคลอดระยะต่าง ๆ

    วีดีโอเตรียมคลอด และการคลอดระยะต่าง ๆ

  • 500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2565 ชื่อเล่นเพราะ ๆ ไม่ซ้ำใคร

    500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2565 ชื่อเล่นเพราะ ๆ ไม่ซ้ำใคร

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ