X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สัปดาห์แรกของลูกแรกเกิด แม่ต้องดูแลทารกแรกเกิดอย่างไร วิธีดูแลลูก หลังคลอด

บทความ 5 นาที
สัปดาห์แรกของลูกแรกเกิด แม่ต้องดูแลทารกแรกเกิดอย่างไร วิธีดูแลลูก หลังคลอด

สัปดาห์แรกหลังคลอดของหนู แม่ต้องเจอกับอะไรบ้าง มาดูวิธีดูแลทารกแรกเกิด สิ่งที่แม่ต้องรู้และใส่ใจ ในสัปดาห์แรกของลูกแรกเกิด

สัปดาห์แรกของลูกแรกเกิด แม่ต้องดูแลอย่างไร

สิ่งที่แม่ต้องใส่ใจ สัปดาห์แรกของลูกแรกเกิด วิธีดูแลเจ้าตัวน้อย การดูแลทารกหลังคลอด ต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง

 

การดูแลทารกแรกเกิด

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูติแพทย์ แนะนำว่า คุณแม่ทุกคนควรศึกษา หาความรู้เพิ่มเติมเรื่องการดูแลเด็กทารกแรกคลอด หรือปรึกษาผู้รู้ หรือเข้ารับฟังการอบรมระหว่างการฝากครรภ์ เพื่อจะได้รับสถานการณ์หลังคลอดได้อย่างดีและถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยเฉพาะแม่ป้ายแดง อาจต้องมีการเตรียมอุปกรณ์เด็กทารกแรกเกิดบางอย่างล่วงหน้า เช่น เสื้อผ้า ผ้าอ้อม เตียงนอน อ่างอาบน้ำ สบู่ เป็นต้น สามารถแบ่งเป็นหัวข้อหลักได้ดังนี้

 

นมแม่ อาหารมากประโยชน์ของทารกแรกเกิด

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในช่วง 2-3 วันแรก จะเริ่มมีหัวน้ำนมไหลออกมาก่อนลักษณะสีเหลืองข้น ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสีขาวข้น คุณแม่ควรหมั่นให้ลูกเข้าเต้าบ่อยทุก 3 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สร้างน้ำนมได้ต่อเนื่องและเพียงพอสำหรับทารก การจัดท่าเข้าเต้าก็มีความสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกน้อยดูดนมได้อย่างเต็มที่โดยที่คุณแม่รู้สึกสบาย

 

การอาบน้ำทารก

การอาบน้ำทารก คุณแม่ควรเรียนรู้และปฏิบัติจริงระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาล อุ้มอย่างไร จัดท่าอย่างไร ปิดหูเด็กอย่างไร เช็ดตัวอย่างไร ห่อผ้าอ้อมอย่างไร เป็นต้น

 

แม่อย่าลืม ทำความสะอาดสะดือลูกแรกเกิด

การทำความสะอาดสะดือ ต้องหมั่นทำความสะอาดสะดือลูกน้อย เช็ดอย่างไร ดูแลอย่างไร ระวังอย่างไร สะดือจะค่อย ๆ แห้งและหลุดไปเองภายใน 2 สัปดาห์

 

ลูกแรกเกิดถ่ายขี้เทา

การขับถ่าย เด็กทารกทุกคนจะต้องมีถ่ายปัสสาวะและอุจจาระภายใน 24 ชั่วโมงแรก โดยอุจจาระของทารกจะคงเป็นสีเขียวเข้มในช่วงต้น ที่เรียกว่าขี้เทา ต่อมาเมือทารกดูดนมแม่แล้ว เริ่มมีการดูดซึมและย่อยจากกระเพาะอาหารและสำไส้ จึงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเหมือนปกติต่อไป

 

สิ่งที่แม่ต้องระวังสำหรับเด็กแรกเกิด

ควรสังเกตอาการต่าง ๆ ของทารกอย่างใกล้ชิด ที่พบบ่อย เช่น

  • อาการตัวเหลืองหลังคลอด
  • อาการสะดืออักเสบ
  • อาการแหวะนมบ่อย
  • ท้องเสีย
  • อาการง่วงซึม
  • อาการหยุดหายใจ/เขียวขณะหลับ

อ่านเพิ่มเติม สิ่งที่หมอสูติอยากให้แม่รู้ก่อน ดูแลทารกแรกเกิด และการดูแลทารกแรกคลอดในห้องคลอด

 

ข้อควรระวังสำหรับการเลี้ยงทารกแรกเกิดตั้งแต่สัปดาห์แรก

ในช่วงวัยของทารกแรกเกิด นับตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอดไปจนถึง 1 เดือน เป็นระยะเวลาที่สำคัญมาก ๆ เพราะทารกแรกเกิด เพิ่งจะออกมาสู่โลกภายนอก จึงจำเป็นต้องให้เวลาปรับตัว

การอาบน้ำทารกแรกเกิด ควรอาบน้ำทารกแรกเกิดในที่ที่ไม่มีลมโกรกแรง โดยอาบเพียงวันละสองครั้งก็เพียงพอ สำหรับการสระผมให้ทารกแรกเกิด ก็สระผมลูกเพียงวันละครั้ง ในช่วงสายหรือช่วงบ่าย ตอนที่อากาศอบอุ่นกำลังดี และอาบน้ำทารกแรกเกิดเพียง 5 – 7 นาทีก็พอ ที่สำคัญ ไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังให้นมแม่

การดูแลสุขภาพช่องปากทารกแรกเกิด อย่าละเลยเพราะคิดว่าลูกไม่มีฟัน การทำความสะอาดช่องปากของทารกทำได้ตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่ใช้นิ้วพันผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำต้มสุกที่สะอาด เช็ดลิ้น เหงือก เพดานปาก กระพุ้งแก้ม ให้ทั่ว เพื่อไม่ให้มีคราบน้ำนมติดอยู่ การทำความสะอาดช่องปากทารก ทำเพียงวันละสองครั้งก็พอ เช้า เย็นหลังให้นมแม่ แต่ไม่ควรทำความสะอาดช่องปากทารกหลังเพิ่งกินนมอิ่ม

ทารกแรกเกิดแหวะนม ภาวะปกติปกติของลูกแรกเกิดหรือทารก การแหวะนม สำรอกนม เกิดขึ้นเพราะหูรูดของกระเพาะอาหารทารกยังไม่แข็งแรง แม่ควรปรับการให้นมแม่ ด้วยการให้ทารกดูดนมในปริมาณน้อย ๆ แต่ดูดบ่อย และอุ้มเรอประมาณ 10-15 นาทีหลังมื้อนมทุกครั้ง เพื่อช่วยลดอาการแหวะนม

แม่อย่าลืมอุ้มเรอลูกแรกเกิด วิธีอุ้มเรอทารกมีสองท่าหลัก ๆ แม่คอยอุ้มพาดบ่า หน้าท้องของทารกจะกดที่ไหล่ของแม่เพื่อไล่ลม หรือใช้ท่าอุ้มเรอนั่งบนตัก ให้ทารกหันหน้าออกแล้วใช้มือแม่จับที่หน้าอก มืออีกข้างลูบหลัง ระหว่างที่ลูบลูกอยู่นั้น โน้นตัวลูกไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อให้หน้าท้องน้อย ๆ ของลูกถูกกดไล่ลม

ที่มา : https://th.yanhee.net

 

จะเห็นได้ว่าสัปดาห์แรกของลูกแรกเกิด เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก แม่ต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ทารกแรกเกิดอย่างใกล้ชิดจนถึง 1 เดือน หลังจากนั้น แม่ก็ห้ามชะล่าใจ หากลูกมีอาการผิดสังเกต ทารกป่วย หรือทารกมีอาการผิดปกติ แม่ต้องรีบพาลูกไปโรงพยาบาลนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกชอบกินโปรตีน อมเท้า ดูดนิ้ว งับกำปั้น ติดมาตั้งแต่เป็นทารก ทำไงจะเลิกสักทีเนี่ย

ฝันเห็นเด็ก ฝันเห็นทารก ฝันว่าได้อุ้มเด็ก หมายความว่าอะไร มาดูคำทำนายฝันแม่นๆ กัน!

อยากให้ลูกสมองดีเริ่มได้ตั้งแต่แรกเกิด แค่ทำสิ่งนี้วันละไม่ถึงนาที​ลูกฉลาดแน่นอน

5 สิ่งห้ามใช้กับสะดือเด็กแรกเกิด ถ้าไม่อยากให้สะดือลูกติดเชื้อ

 

ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และรูปภาพนำไปเผยแพร่ต่อ ไม่ว่าวิธีใดๆ ถ้าฝ่าฝืนทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้ณแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
  • /
  • สัปดาห์แรกของลูกแรกเกิด แม่ต้องดูแลทารกแรกเกิดอย่างไร วิธีดูแลลูก หลังคลอด
แชร์ :
  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว