การเช็ดตัวทารกเมื่อเป็นไข้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูกน้อยใน 3 ขวบปีแรก จะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลง และป้องกันโอกาสชักจากภาวะไข้สูงได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้ วิธีลดไข้เด็ก วิธีเช็ดตัวลดไข้ทารก เช็ดอย่างถูกวิธีก็จะช่วยบรรเทาให้ไข้ลดและอาจไม่ต้องกินยาได้
วิธีเช็ดตัวลดไข้ทารก เช็ดตัวลดไข้ การเช็ดตัวลดไข้ในเด็ก เช็ดให้ลูกน้อยไข้ลดอย่างมีประสิทธิภาพ
หากลูกเป็นไข้ที่วัดอุณหูมิได้ไม่ถึง 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ถือว่ามีไข้ต่ำ เบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่สามารถบรรเทาอาการไข้ให้ลูกน้อยได้ด้วยวิธีการเช็ดตัวลดไข้ ซึ่งเป็นวิธีที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ โดยอาศัยหลักของการนำความร้อนออกจากร่างกายด้วย “น้ำ”
เช็ดตัวลดไข้ วิธีลดไข้ ทารก วิธีลดไข้เด็ก
อุปกรณ์ที่ใช้ การเช็ดตัวลดไข้ในเด็ก วัตถุประสงค์การเช็ดตัวลดไข้
- กะละมังหรืออ่างเช็ดตัว
- ผ้าเช็ดตัว/ผ้าขนหนูสำหรับรองใต้ตัวเด็กเวลาที่เช็ดตัว เพื่อป้องกันที่นอนหรือบริเวณที่ทำการเช็ดตัวเปียกชื้น และเอาไว้ซับที่ผิวเด็กเมื่อเช็ดตัวเสร็จเรียบร้อย ทั้งนี้ ผ้าเช็ดตัว ควรมีขนาดใหญ่กว่าตัวเด็กเล็กน้อย
- ผ้าขนหนูผืนเล็ก ที่อ่อนนุ่ม 2-3 ผืน ความหนาของผ้าให้พอเหมาะกับการใช้เช็ดตัวเด็ก
- ไม่ควรนำน้ำแข็งหรือแอลกอฮอล์มาผสมเช็ดตัวลูก เพราะจะทำให้เด็กเกิดอาการหนาวสั่นได้ง่าย
- ปรอทวัดไข้ ในปัจจุบัน มี 2 แบบ คือ ปรอทวัดไข้แบบที่วัดทาง ผิวหนัง/รักแร้ และแบบดิจิตอล ที่วัดทางหูและทางหน้าผาก
- หากเป็นปรอทแบบธรรมดา วางปรอทให้สัมผัสกับผิวหนังประมาณ 5 นาที
- หากเป็นดิจิตอล รอให้มีเสียงดังขึ้นที่แสดงว่าเครื่องได้อ่านอุณหภูมิเรียบร้อยแล้ว
- นาฬิกา สำหรับไว้จับเวลาว่า เริ่มเช็ดตัวเมื่อไหร่ เช็ดตัวไปนานกี่นาทีแล้ว และเอาไว้จับเวลา ที่จะวัดอุณหภูมิซ้ำหลังจากเช็ดตัว 30 นาที ในรายที่มีไข้สูงมากกว่า 38.8 องศาเซลเซียส แต่ในรายที่มีประวัติชักจากไข้สูง (ไข้ชัก) ต้องวัดอุณหภูมิซ้ำทุก 10-15 นาที
- น้ำที่จะใช้เช็ดตัว เป็นน้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำอุ่น อุณหภูมิน้ำประมาณ 29.4 – 35 องศาเซลเซียส เทน้ำธรรมดาใส่กะละมัง (ขนาด 5 ลิตร) ผสมน้ำร้อนประมาณ 200 ซีซี. หรือ 1 แก้ว เพื่อน้ำจะไม่ร้อนมากเกินไป หากครั้งแรกไม่แน่ใจ สามารถใช้ปรอทวัดอุณหภูมิห้องจุ่มลงไปวัดได้ ครั้งต่อไปหากคุณแม่จำระดับความร้อนได้ก็ไม่ต้องวัดด้วยปรอทแล้ว ใช้ข้อศอกหรือหลังมือแตะทดสอบ เพื่อไม่ให้น้ำที่ใช้อุ่นเกินไป
- เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายบางๆ สำหรับสวมใส่หลังเช็ดตัว
วิธีเช็ดตัวลดไข้ลูก เช็ดตัวลดไข้ วัตถุประสงค์การเช็ดตัวลดไข้
- วิธีลดไข้เด็ก ใช้ผ้าขนหนูปูรองบนเตียงก่อนให้ลูกได้นอนหรือนั่ง และถอดเสื้อผ้าออกเพื่อทำการเช็ดตัว
- ใช้ผ้าชุบน้ำที่ทดสอบแล้วว่าไม่ร้อนจนเกินไป บิดหมาด ๆ เพื่อนำมาเช็ดตัวให้ลูกอย่างนุ่มนวล
- เริ่มทำการเช็ดตัวจากแขนและขาก่อนข้างละอย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้ร่างกายลูกได้ปรับตัวกับอุณหภูมิของน้ำที่ใช้เช็ดตัว โดยเริ่มเช็ดจากปลายแขนเข้าสู่ต้นแขน เพื่อเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ในขณะที่ลูบผ้าไปตามแขน-ขา ควรมีการพักผ้าไว้ที่ข้อพับต่าง ๆ แขนและขาด้วย ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิอีกทางหนึ่ง
- จากนั้นชุบผ้าใหม่เพื่อให้ผ้าร้อนขึ้น นำมาเช็ดลำตัว หลัง และก้นอย่างน้อย 10 -15 นาที ใช้เวลาในการเช็ดตัวลูกรวมอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที เพื่อให้ไข้ลดลง ซึ่งควรมีอุณหภูมิหลังการเช็ดตัว ได้ต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
- หลังเช็ดตัวไม่ควรทาแป้งให้ลูกหรือใส่เสื้อผ้าที่หนามากเกินไป ไม่ควรห่มผ้าคลุมตัวลูกเพราะจะเป็นการขัดขวางการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
- เมื่อเช็ดตัวเสร็จจะช่วยทำให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น ควรให้ลูกได้ดื่มน้ำมาก ๆ (ในกรณีที่ลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป)
เช็ดตัวลดไข้ เช็ดตัวลูกน้อย
โดยทั่วไป การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ลูกจะช่วยให้ผลลัพธ์การลดไข้ได้ดี ช่วยในการลดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเด็กเล็ก แต่ผลในการเช็ดตัวจะอยู่ได้ไม่นาน หากเช็ดตัวครั้งแรกแล้วลูกกลับมาตัวร้อนอีก คุณแม่สามารถให้ลูกกินยาลดไข้ร่วมด้วย ซึ่งชนิดและขนาดของยาควรดูฉลากก่อนให้ลูกกิน ใน 1 วันควรกินยาลดไข้ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 5 ครั้งต่อวัน และไม่ควรให้ลูกกินยาดลดไข้นานติดต่อกันเกิน 5 วันโดยไม่ทราบสาเหตุของไข้ ทั้งนี้การเช็ดตัวลดไข้ให้ลูก จะมีประโยชน์มากหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องการให้ลูกกินยาติดต่อกันหลายครั้ง ในกรณีที่ภายใน 2-3 วันอาการไข้ยังไม่ทุเลา แม้จะเป็นไข้ต่ำ ๆ ก็ ควรพาลูกไปพบแพทย์นะคะ
อ่านเพิ่ม : ควรทำ vs ไม่ควรทำ เมื่อลูกเป็นไข้
ข้อควรระวังในการเช็ดตัวลดไข้ทารก
- ไม่ควรใช้น้ำเย็น น้ำแข็งหรือแอลกอฮอล์ในการเช็ดตัว มาเช็ดตัวลดไข้ เพราะความเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัว การระบายความร้อนออกทางผิวหนังจึงเป็นไปได้น้อย และจะทำให้เด็กหนาวสั่นได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
- ไม่ควรเปิดพัดลมหรือเปิดเครื่องปรับอากาศในขณะที่เช็ดตัวลดไข้ เพราะจะทำให้เด็กมีอาการหนาวสั่นได้ง่าย ทำให้การเช็ดตัวลดไข้ไม่ได้ผลดี
- ไม่ควรใช้แป้งฝุ่นทาบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน หรือขา เพราะแป้งฝุ่นจะไปอุดรูขุมขนทำให้การระบายความร้อนออกได้น้อย ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้แป้งฝุ่นหลังเช็ดตัวลดไข้
- ขณะเช็ดตัวลดไข้ หากเด็กมีอาการเริ่มหนาวสั่น ให้หยุดเช็ดตัวทันที แล้วห่มด้วยผ้าห่มหรือผ้าขนหนูที่แห้ง จนกระทั่งหยุดสั่น ควรวัดอุณหภูมิของเด็กทุก 10 – 15 นาที ถ้าเป็นปรอทธรรมดา วัดทางรักแร้ 5 นาที ขณะทำการเช็ดตัว ถ้าเป็นทารกและมีอุณหภูมิกายต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส ให้ทำการห่อตัว โดยเฉพาะส่วนศีรษะ ห่อหุ้มศีรษะ ห่อด้วยผ้าขนหนู เนื่องจากส่วนศีรษะมีพื้นที่ผิวกายคิดเป็นสัดส่วนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย ห่อตัวจนกระทั่งเด็กอุณหภูมิปกติหรือใกล้เคียงปกติ (ประมาณ 37.0 – 37.5 องศาเซลเซียส) จึงหยุดห่อตัว
- ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่หนาเกินไป เนื่องจากจะขัดขวางการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าในขณะที่เช็ดตัวลดไข้อยู่นั้นลูกมีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ดตัวทันที และใช้ผ้าห่มหรือผ้าขนหนูที่แห้งห่อตัว ห่อหุ้มศีรษะ จนกระทั่งหยุดสั่น และทำการวัดอุณหภูมิทุก 10 – 15 นาที ถ้าลูกมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ซึม ไม่ยอมกิน มีท้องเสีย หรืออาเจียนมากกว่า 3 ครั้งใน 6 ชั่วโมง ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เช่นกันค่ะ
เช็ดตัวลดไข้
วิธีลดไข้เด็ก การเช็ดตัวลดไข้
เด็กเล็กเป็นช่วงวัยที่เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในฤดูหนาว ลูกมีไข้เป็นสัญญาณเตือนว่า ร่างกายขอลูกรักเสียสมดุลย์ และอยู่ในภาวะไม่สุขสบาย อาจติดเชื้อหรือมีโรคบางอย่างซ่อนอยู่ อุณหภูมิที่ถือว่าเป็นไข้หรือมีไข้โดยทั่วไปคือสูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ระดับอุณภูมิกายลูกที่วัดได้ว่ามีไข้ต่ำ มีไข้สูง และมีไข้สูงมาก บ่งบอกถึงความรุนแรงของไข้ในครั้งนี้ได้
- มีไข้เพราะร่างกายลูกน้อยขาดน้ำรุนแรง
- มีไข้เพราะมีบาดแผลในร่างกาย รวมถึงมีสิ่งแปลกปลอมอื่นที่ไม่ใช่เชื้อโรค เช่น การฉีดวัคซีน
- มีไข้เพราะร่างกายเกิดการติดเชื้อโรคบางชนิด
3 ความผิดปกติข้างต้นจะไปกระตุ้นให้มีการหลั่งสารกระตุ้นสมองส่วนหน้า( Hypothalamus ) ให้มีระดับอุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายตอบสนองโดยพยายามเพิ่มอุณหภูมิและเพิ่มความร้อนจากการเพิ่มอัตราการเผาผลาญของเซลล์และการสั่นของกล้ามเนื้อ และลดการระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยการตีบตัวของหลอดเลือดใต้ผิวหนัง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจนมีค่าเท่ากับที่ตั้งไว้ใหม่ คือ ทำให้เกิดอาการไข้ ซึ่งมีไข้แบ่งได้หลายระดับ
รู้ระดับไข้ในเด็ก ก่อนเลือกใช้วิธีลดไข้เด็กได้อย่างถูกต้อง
- อุณหภูมิน้อยกว่า 38 องศาเซลเซียสเรียกว่า ไข้ต่ำ (Low grade fever)
- อุณหภูมิสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส เรียกว่า ไข้สูง (High grade fever)
- และถ้าสูงเกิน 41.5 องศาเซลเซียสเรียกว่า ไข้สูงเกิน(Hyperpyrexia) ควรพบแพทย์ทันที
อุณภูมิและระยะเวลาของไข้ เป็นตัวชี้วัดความรุนแรง การวัดไข้และติดตามอุณภูมิกายของลูกทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำ เพื่อป้องกันการชักจากไข้สูงซึ่งพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
วิธีลดไข้เด็ก เพื่อป้องกันชักจากไข้สูง
1.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น
ในเด็กอ่อน กุมารแพทย์แนะนำให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเท่านั้น เพราะน้ำเย็นอาจทำให้เด็กชักจากความเย็นได้ การเช็ดตัวในเด็กอ่อนต้องกระทำในระยะเวลารวดเร็วและเช็ดแบบเปิดรูขุมขน คือเช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัวโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเป็นการระบายความร้อนให้ลดอย่างรวดเร็ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาบน้ำเด็กไข้ขึ้นสูง วิธีลดไข้สูง ทำให้ลูกไข้ลด ต้องใช้น้ำอุ่นหรือน้ำเย็น อาบน้ำลูก
2.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำก็อก
ในเด็กโตควรได้รับการเช็ดตัวด้วยน้ำอุณภูมิปกติ ไม่ควรเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นเพราะความเย็นจะทำให้หลอดเลือดตีบและระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ การเช็ดตัวต้องเช็ดแบบเปิดรูขุมขน คือเช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัวโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเป้นการระบายความร้อนให้ลดอย่างรวดเร็ว
3.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยการเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว
แนะนำในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ใช้มะนาว 1 ผล ต่อน้ำอุ่นอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส ปริมาณ 2,000 ซี.ซี. การผ่ามะนาวต้องผ่าใต้น้ำและบีบใต้น้ำ เพื่อให้ได้น้ำมันจากผิวด้วย ซึ่งกลิ่นของน้ำมันผิวมะนาว จัดเป็นอโรมา เทอราปี เพิ่มการไหลเวียนเลือดดี ขึ้นวิธีเช็ดเหมือนกับการเช็ดตัวทั่วๆไป
ที่มา : www.haamor.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
คำแนะนำจากกุมารแพทย์ 5 เรื่องที่พ่อแม่ป้ายแดงอาจ ดูแลลูกน้อย แบบผิดวิธี
เรื่องที่แม่อยากรู้..ลูกฉีดวัคซีนเป็นไข้กี่วัน?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!