X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีฝึกลูกเข้าห้องน้ำ ควรเริ่มตั้งแต่กี่ขวบดี และมีวิธีอะไรบ้าง

บทความ 5 นาที
วิธีฝึกลูกเข้าห้องน้ำ ควรเริ่มตั้งแต่กี่ขวบดี และมีวิธีอะไรบ้าง

อยากจะ ฝึกลูกเข้าห้องน้ำ ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี จะรู้ได้ยังไงว่าลูกพร้อมที่จะช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว และต้องสอนลูกตั้งแต่อายุเท่าไหร่ดีน้า วันนี้มีคำตอบ...

พ่อแม่หลายคนกังวลว่าอยากจะมี วิธีฝึกลูกเข้าห้องน้ำ ควรเริ่มฝึกลูกตั้งแต่อายุเท่าไหร่ บางคนสอนลูกให้นั่งโถส้วมตั้งแต่ 18 เดือน บางคนรอให้ลูกครบ 2 ขวบก่อน สำหรับพ่อแม่ในอเมริกาแล้ว พวกเขาจะเริ่มสอนลูกให้เข้าห้องน้ำ ในช่วงอายุระหว่าง 2 – 3 ปีครึ่ง

ดร. Howard J. Bennett ผู้ที่เขียนหนังสือเรื่อง AAP’s book ได้บอกว่า ถ้าพ่อแม่คนไหน เริ่มมีวิธีฝึกลูกเข้าห้องน้ำ ตอนอายุ 18 เดือนแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ ลูกไม่ยอมร่วมมือด้วย นั่นแสดงว่าหนูน้อยยังเด็กเกินไป เพราะว่าพ่อแม่อยากสอนให้ลูกสามารถเข้าห้องน้ำเองได้เร็ว ๆ แต่จริง ๆ แล้ว การเรียนรู้เรื่องการเข้าห้องน้ำของเด็กเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการเรียนรู้โดยปกติของเด็กอยู่แล้ว สิ่งที่พ่อแม่ควรแนะนำลูก คือ ต้องทำให้เด็กเข้าใจว่าเวลาไหนที่ลูกต้องการฉี่หรืออึ เพื่อให้น้องได้ฝึกการอดทน จากนั้นค่อยไปเข้าห้องน้ำ สำหรับเรื่องนี้เด็กอายุ 2 ขวบบางคนก็ทำได้แล้ว แต่เด็กบางคนต้องรอให้อยู่ถึง 3 ขวบเสียก่อน

เมื่อลูกพร้อมที่จะได้รับการฝึกเข้าห้องน้ำแล้ว ตัวเด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมหรือจะสนใจวิธีการเข้าห้องน้ำ  และจะเริ่มเดินตามไปที่ห้องน้ำ นอกจากนี้ลูกจะมีปฎิกิริยาที่บอกว่าลูกตอบพร้อมจะเรียนรู้การเข้าห้องน้ำแล้ว คือ ลูกตอบสนองกับคำถามที่ว่า “ปวดฉี่ไหม” “อยากเข้าห้องน้ำไหม” หรือมีการแสดงสีหน้าท่าทางที่บอกว่าอยากเข้าแล้ว สามารถนั่งยองได้ และพอเห็นกระโถนก็ทำท่าทางถอดกางเกงเองได้

เทคนิคในการฝึกลูกนั่งส้วม

  • ให้ลูกนั่งบนโถส้วมที่มีแผ่นรองก้นขนาดพอดีกับก้นของเด็ก โดยเท้าต้องเหยียบเต็มพื้นและระดับหัวเข่าสูงกว่าสะโพก กรณีนี้อาจต้องใช้ที่รองเหยียบมาวางเสริมเท้าของเด็กเพื่อไม่ให้แกว่งไปมา
  • นั่งในท่าข้อศอกแตะหัวเข่า และเอนตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย ซึ่งการนั่งในท่านี้จะทำให้ลำไส้ส่วนปลายตั้งตรงกับรูทวาร อุจจาระจึงไหลลงมาได้ง่ายขึ้น
  • ฝึกให้ลูกหายใจเข้าเต็มท้อง เน้นว่าลมต้องเข้าท้อง โดยให้เด็กวางมือไว้บริเวณท้องและหายใจเข้าจนท้องป่องก่อนจะกลั้นลมหายใจเอาไว้
  • เบ่งลงก้นและคลายหูรูดทวารหนัก ลมจากท้องจะช่วยดันอุจจาระให้ผ่านรูทวารลงสู่โถส้วมได้อย่างง่ายดาย

วิธีฝึกลูกเข้าห้องน้ำ

ทำไมลูกไม่ยอมนั่งส้วม

การฝึกลูกเข้าห้องน้ำ จำเป็นต้องใช้ความอดทนสูงและใช้เวลา ถึงแม้ว่าเด็กจะให้ความร่วมมือดีก็ตาม เนื่องจากบางครั้งลูกอาจรู้สึกไม่ชอบใจจากการเข้าห้องน้ำ ทำให้เขาเกิดการต่อต้าน หรือว่าโถชักโครกมีขนาดใหญ่เกินไป และเผลอๆ โถมีความลื่นและใหญ่ทำให้หนูน้อยเกิดการลื่นไถลลงโถไปเสียอีก ไม่เพียงแค่นั้นเวลานั่งแล้วขาลูกไม่แตะพื้นเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้หนูน้อยรู้สึกไม่สบาย อีกทั้งเมื่อคุณแม่ได้เอาน้ำมาล้างก้นน้องจะรู้สึกแปลกๆ และการถ่ายครั้งแรกบนโถอาจทำให้เจ็บก้น ซึ่งทำให้น้องจดจำว่าว่าเป็นประสบการณ์แย่ ๆ ของเด็กได้ นอกจากนี้ บางครั้งการพูดยังมีผลกระทบต่อจิตใจด้วย จากการพูดเปรียบเทียบของปู่ ย่า ตา ยาย กับเด็กคนอื่น เพราะฉะนั้นแม่ ๆ ไม่ควรไปกดดันลูก ควรฝึกเขาให้อยู่ในบรรยากาศสบาย ๆ ไม่เครียด

คุณแม่ มือใหม่ ควร ฝึกลูกเข้าห้องน้ำ กี่ขวบ   

การเข้าห้องน้ำของเด็ก วัย 24 – 48 เดือน เป็นช่วงที่เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องการใช้ ห้องน้ำ สำหรับพ่อแม่บางคนจะเริ่มสอนลูกให้เข้าห้องน้ำในช่วงอายุระหว่าง 6 ปี โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกของคุณพร้อมแล้วที่จะฝึกการเข้าห้องน้ำ มีดังนี้

  • ลูกน้อยจะไม่ ฉี่ราด อย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง ระหว่างวัน หรือ หลังตื่นนอน ช่วงกลางวัน
  • เมื่อลูกน้อยไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะ หรือการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ บางคนจะนั่งพับเพียบ ในมุมหนึ่ง เมื่อพวกเขาปวด
  • การควบคุมกระเพาะปัสสาวะ กลั้นปัสสาวะได้เป็นชั่วโมง แสดงให้รู้ว่า ไม่ชอบอะไร เลอะเทอะ
  • ลูกน้อยสามารถทำตาม คำสั่งง่าย ๆ ได้ เช่น ไปห้องน้ำได้ไหม
  • ลูกน้อยขอเข้าห้องน้ำด้วยตัวเอง
  • ลูกน้อยวัยเดิน สามารถไปและกลับ จากห้องน้ำและถอดเสื้อผ้าได้เอง

ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถบ่งบอกได้ว่าลูกของคุณนั้นพร้อมแล้ว ที่จะเรียนรู้และฝึกการเข้าห้องน้ำเมื่อเวลาที่เขาต้องการ ฉี่ หรือ อึ

วิธีฝึกลูกเข้าห้องน้ำ

คำแนะนำ สำหรับการ ฝึกลูกขับถ่าย ฝึกวินัย ให้กับเด็ก

  • เลือก กระโถน โดยเลือกที่เด็กสามารถนั่งได้ อย่างมั่นคง ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ถ้าจะใช้ชักโครกของผู้ใหญ่ควรมี ที่ครอบโถชักโครก ให้เหมาะกับเด็ก และควรหาบันได หรือ ที่วางเท้าให้เด็กวาง ได้เต็มฝ่าเท้า เพื่อจะได้เบ่งถ่ายง่ายขึ้น และไม่ต้องกลัวล้ม หรือตกลงมา
  • การ ฝึกลูกขับถ่าย จะต้องทำเมื่อเด็กพร้อม โดยพ่อและแม่จะต้องอธิบายให้เขาทราบว่า การขับถ่ายนั้น ไม่สามารถสำเร็จได้ ในเวลาอันสั้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่กดดัน ใจเย็น และสร้างบรรยากาศ ไม่ให้เคร่งเครียด เช่น อ่านหนังสือเล่มโปรด นิตยสาร ฟังเพลง เป็นต้น
  • สำหรับบ้านใคร ที่มี พี่สาว พี่ชาย หรือมีพี่เลี้ยงอยู่ที่บ้าน เด็ก ๆ อาจจะพยายามเลียนแบบ ด้วยการอยากที่จะนั่งบนชักโครก เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ ซึ่งนั่นเป็นการกระตุ้นการอยากเข้าห้องน้ำ และ ฝึกลูกขับถ่าย ได้เป็นอย่างดี

ควรให้ลูกลองใส่ ผ้าอ้อม ขณะที่พวกเขากำลัง เรียนรู้การเข้าห้องน้ำ หรือไม่?

แม้ว่าเด็กบางคนเรียนรู้ที่จะควบคุมกระเพาะปัสสาวะ และการขับถ่ายได้ในเวลาเดียวกัน แต่การควบคุมการขับถ่าย นั้นก็เป็นเรื่องที่ยากสำหรับพวกเขา การฝึกให้เขาไม่มี ผ้าอ้อมสำเร็จรูปใส่อยู่ เป็นวิธีที่จะช่วยให้ลูกของคุณที่อยู่ในวัยหัดเดินนั้น สามารถเดินมานั่งบนกระโถนได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพวกเขารู้สึกอยากเข้าห้องน้ำหรือรู้สึกปวดขึ้น

ซึ่งเด็กบางคน อาจจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ในการสวมใส่ผ้าอ้อม ตอนกลางคืน แต่ถ้าเขาพร้อม และ มั่นใจในตัวเองว่าพวกเขาไม่ต้องใส่มันก็ได้ หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ สิ่งที่เราฝึกเขา จะเห็นผลอย่างแน่นอน

ดังนั้น ผ้าอ้อมก็ไม่จำเป็นต้องใส่ตอนพ่อแม่ ฝึกลูกเข้าห้องน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เขารู้สึกไม่สบาย หรือ รู้สึกหงุดหงิด เวลาที่ไม่ได้ใส่มันนั้นเอง

วิธีฝึกลูกเข้าห้องน้ำ

วิธีการฝึกลูก เข้าห้องน้ำ และ ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา เริ่มต้นยังไง

สอนให้เด็กใช้กระโถน หรือ ชักโครก โดยการให้ เด็กลองนั่งดูเพื่อให้เขาได้เกิดความคุ้นเคยกับกระโถนหรือชักโครก เมื่อลูกของคุณรู้สึกอยากจะปัสสาวะ และ เมื่อเขาคุ้นเคย ลูกของคุณก็จะสามารถควบคุมการปัสสวะได้ด้วยตัวเอง เมื่อเด็กทำได้ควรให้คำชมเชย การฝึกนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องระลึกเสมอว่าการฝึกนี้ต้องใช้เวลา ต้องใจเย็น และ สร้างบรรยากาศไม่ให้เคร่งเครียด ไม่ดุ ไม่ว่า ไม่ตำหนิ หรือ หงุดหงิดใส่ลูก แล้วลูกจะทำได้เอง

คำแนะนำ เพื่อช่วยให้ลูกของคุณ เริ่มใช้ห้องน้ำ 

  • คุณพ่อคุณแม่ควรถามลูกว่า หนูปวดฉี่หรือเปล่า หรือ หนูต้องการเข้าห้องน้ำหรือเปล่า เป็นต้น
  • ฝึกลูกนั่งชักโครก โดยดูว่า เขาสามารถทรงตัวอยู่ได้หรือไม่
  • เมื่อลูกสามารถบอก อุจจาระ ปัสสาวะได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบชมทันที บางทีอาจให้รางวัลด้วยก็ได้ แต่ถ้ายังทำไม่ได้ ก็ไม่ควรดุว่า หรือลงโทษ
  • ถ้าเด็กเกิดอาการกลัว คุณพ่อคุณแม่ สามารถแสดงเป็นตัวอย่างด้วยการลองนั่งชักโครกให้ลูกได้เห็นว่าไม่มีอะไรน่ากลัว

ในช่วงปีแรก ของการเรียนรู้การเข้าห้องน้ำอาจจะเป็นปัญหา สำหรับคุณพ่อคุณแม่ มือใหม่ สักหน่อยเพราะกำลังอยู่ในช่วง ของการเปลี่ยนแปลง เช่น ย้ายไปอยู่บ้านใหม่ หรือ ลูกน้อย เริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาล เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกของคุณ รู้สึกไม่อยากเข้าห้องน้ำ อยากใส่ผ้าอ้อม เหมือนแต่ก่อน ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่ดีสุด คือ พูดคุย ชื่นชม และ สนับสนุน ความพยายามของลูก อย่าให้ลูกคิดว่า การเข้าห้องน้ำ เป็นเรื่องที่ยากนั้นเอง

ที่มา: huffingtonpost

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

7 สเต็ป ฝึกลูกนั่งกระโถนให้สำเร็จ

10 อันดับ ทิชชู่เปียก ที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย สะอาด ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

5 วิธีสอนลูกนั่งกระโถน ลูกชอบถ่ายใส่ผ้าอ้อม ไม่ยอมเข้าห้องน้ำทำไงดี?

บทความจากพันธมิตร
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • วิธีฝึกลูกเข้าห้องน้ำ ควรเริ่มตั้งแต่กี่ขวบดี และมีวิธีอะไรบ้าง
แชร์ :
  • สอนลูกเข้าห้องน้ำสาธารณะอย่างปลอดภัย

    สอนลูกเข้าห้องน้ำสาธารณะอย่างปลอดภัย

  • การเข้าห้องน้ำ :100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    การเข้าห้องน้ำ :100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • สอนลูกเข้าห้องน้ำสาธารณะอย่างปลอดภัย

    สอนลูกเข้าห้องน้ำสาธารณะอย่างปลอดภัย

  • การเข้าห้องน้ำ :100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    การเข้าห้องน้ำ :100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ