วิธีป้องกันไม่ให้ลูกโดนเพื่อนแกล้ง ในวัยอนุบาล
ลูกน้อยเมื่อไปโรงเรียน พ่อแม่ก็ไม่สามารถดูแลได้ จะฝากให้ครูช่วยดูก็อาจจะดูไม่ทั่วถึง บางครั้งเด็กต้องเนื้อตัวเขียว เป็นรอยแดง เพราะทะเลาะกับเพื่อน หรืโดนเพื่อนแกล้งกลับมาบ้าน จนพ่อแม่ต้องหา วิธีป้องกันไม่ให้ลูกโดนเพื่อนแกล้ง เพื่อให้ลูกได้กลับไปเรียนได้อย่างมีความสุข สามารถเล่นกับเพื่อน และเข้ากับเพื่อนได้
การถูกกลั่นแกล้งในเด็ก
เนื่องจากเด็กในวัยนี้เพิ่งจะมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะทางสังคม ทำให้เวลาที่มีปัญหาขัดแย้งกับเพื่อนๆ จะใช้คำพูด ความเงียบ และพฤติกรรมรุนแรง เช่น การแย่งของเล่นจากใครสักคน หรือ การล้อชื่อ ผลักกัน ทำร้ายกัน และจะชอบกระทำซ้ำๆ ซึ่งพบบ่อยในเด็กวัยนี้
พฤติกรรมทั้งหมดนี้ เด็กๆ จะได้รับพฤติกรรมเหล่านี้มาสิ่งที่เขาพบเห็นพ่อแม่ พี่ หรือ จากในทีวี ดร. Stephanie Mihalasได้บอกว่า การกลั่นแกล้งกันของเด็กสามารถเห็นได้ชัดจากคำพูดของพวกเขา เช่น เราไม่ชอบการแต่งกายของเธอ หรืออาหารกลางวันมีกลิ่นเหม็น หรือบอกว่าห้ามนั่งกับเรา นอกจากนี้ ทางร่างกายที่พบเห็นบ่อยๆ เช่น การตี แตะ ไล่บางคนออกไป การนินทา การเผยแพร่ลงโซเชียล เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องสนุกของเด็กที่กระทำ แต่เป็นเรื่องไม่สนุกเลยสำหรับเด็กที่ถูกกระทำ
วิธีสังเกตว่าลูกถูกแกล้งหรือไม่
พ่อแม่เคยสังเกตไหมว่า ทุกครั้งที่ลูกไปโรงเรียนเขามีพฤติกรรมอย่างไร พอกลับมาถึงบ้านมีพฤติกรรมอย่างไร วิธีดูง่ายๆ โดยดูจากอาการต่อไปนี้
- เศร้า
- ไม่หิว ไม่อยากกินข้าว
- ไม่อยากไปโรงเรียน
- มีปัญหากับพี่น้อง ไม่มีการต่อสู้ โต้เถียงอย่างที่ควรจะเป็น
- พฤติกรรมเปลี่ยนไป
- ของหายบ่อยๆ
- เสื้อผ้าขาด
- ปวดท้อง
- นอนไม่หลับ ชอบฝันร้าย
- ฉี่รดที่นอน
- กังวลการแตกแยก
วิธีป้องกันไม่ให้ลูกโดนเพื่อนแกล้ง
- ถามลูกทุกวันในช่วงอาหารค่ำ หรือก่อนนอน ว่าวันนี้ลูกเล่นกับใครบ้าง อะไรที่ชอบที่สุดในการไปโรงเรียนวันนี้
- จำลองเหตุการณ์สมมติ พ่อแม่ต้องลองยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ลูกอาจจะเจอในแต่ละวัน แล้วบอกถึงวิธีการหรือแนวทางในการแก้ปัญหา หากเจอคนแบบนี้ พฤติกรรมแบบนี้ จะต้องทำอย่างไร ซึ่งอาจใช้หนังสือ หรือหนังที่ลูกดู อธิบายเพิ่มเติมได้
- พยายามเป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหาที่ดีให้ลูก เพราะเมื่อเด็กอยู่กับคุณเขาจะจำทุกสิ่งทุกอย่างที่พ่อแม่พูด หรือกระทำ หากคุณไม่สามารถแก้ปัญหาเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ เขาก็จะกลายเป็นเหมือนคุณ
- สอนวิธีป้องกันตัวเอง ในทีนี้คือการใช้คำพูด เช่น ให้ลูกพูดว่า “เราไม่ชอบวิธีที่เธอทำกับเราแบบนี้” หรือ “อย่าพูดกับฉันแบบนี้” เมื่อถูกกลั่นแกล้ง
- บอกให้ทางโรงเรียน หรือคุณครูประจำชั้น สอนเด็กๆ เกี่ยวกับการแกล้งเพื่อน เพื่อป้องกันการถูกรังแกที่รุนแรงในอนาคต และบอกให้เขาช่วยเพื่อนที่ถูกแกล้งด้วย
หากลูกถูกแกล้งต้องทำอย่างไร
- สอบถามลูกว่าถูกแกล้งอย่างไร จากนั้นไปพูดคุยกับคุณครูประจำชั้นเพื่อหาสาเหตุของการกลั่นแกล้งกัน
- พยายามฟังสิ่งที่ลูกพูด เพราะเด็กมักจะบอกในสิ่งที่ถูกทำให้เจ็บปวดและหวาดกลัวมากๆ บางทีเขาอาจไม่บอกทันที หรือพูดอะไรที่เข้าใจยาก ต้องพยายามฟังเขา
เมื่อเด็กสามารถปกป้องตัวเองได้ ก็จะไม่ใช้เป้าหมายที่ถูกกลั่นแกล้งอีกต่อไป และต้องสอนลูกให้ตักเตือนเพื่อนที่ทำผิด ชอบข่มขู่ หรือชอบแกล้งเพื่อนคนอื่น ไม่ใช่ว่าพอเราไม่ถูกแกล้งแล้วก็คอยไปส่งเสริม หรือยุยงให้ไปแกล้งเพื่อนคนอื่น จนทำให้ลูกได้ซึมซับพฤติกรรมไม่ดีเหล่านั้นเข้าไป สุดท้ายจากลูกเราที่เคยต้องเป็นเหยื่อก็กลายไปแกล้งคนอื่นแทน
ที่มา: verywell
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
3 สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้!! เรื่องอะไรที่ควรสอนลูกวัยอนุบาล
จิตแพทย์ชี้วัย อนุบาล 3 ขวบ อย่าเพิ่งยัดเยียดให้ลูกอ่าน-เขียน ยังไม่ต้องรีบ 5 ขวบก็ไม่สาย!!
3 คำถามคุยกับลูกวัยอนุบาลก่อนนอน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!