X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีการอบรมลูกโดยไม่ขึ้นเสียง สอนลูกให้เป็นคนดี เติบโตอย่างเชื่อฟัง

บทความ 3 นาที
วิธีการอบรมลูกโดยไม่ขึ้นเสียง สอนลูกให้เป็นคนดี เติบโตอย่างเชื่อฟัง

เคยเหนื่อยเมื่อลูกทำใหเราอารมณ์เสียมั้ย? ลองดูเคล็ดลับในการอบรมลูกโดยที่ไม่ต้องขึ้นเสียงหรืออารมณ์เสียเลยกันดีกว่าค่ะ

วิธีการอบรมลูกโดยไม่ขึ้นเสียง สอนลูกให้เป็นคนดี

วิธีการอบรมลูกโดยไม่ขึ้นเสียง สอนลูกให้เป็นคนดี สั่งสอนลูกอย่างไร ให้เติบใหญ่ไปเป็นคนดี โดยไม่ต้องดุด่าว่ากล่าว หรือทำร้ายจิตใจลูก

ลีอา (Leah Koenig) โค้ชการเลี้ยงดูเด็ก บอกไว้ว่า สิ่งแรกที่ควรทำ คือคิดก่อนว่าสิ่งที่คุณอยากได้คืออะไร ถ้าคุณโกรธและลงโทษลูกเลยทันที นั่นอาจจะทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดีแก่ตัวคุณเอง แต่ถ้าคนเป็นพ่อเป็นแม่สามารถระงับอารมณ์โกรธเอาไว้ได้ แล้วคิดวิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จากบทลงโทษแย่ ๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องดีที่ได้อบรมสั่งสอนลูก แถมยังได้ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงอีกด้วย

 

อบรมลูกง่าย ๆ ให้ได้ผล ด้วยการกอด!

พี่น้องทะเลาะกัน พ่อแม่ทำยังไงดี

ถ้าคุณเห็นว่าลูก ๆ กำลังต่อยตีกันอยู่ ให้รีบแยกลูก ๆ ออกจากกัน บอกลูกว่าให้ไปอยู่ที่คนละมุมห้อง เพื่อสงบสติอารมณ์ หลังจากนั้น จับทั้งคู่หันหน้าเข้าหากัน แล้วแลกเปลี่ยนคำขอโทษ เช่น
– พี่/น้อง ขอโทษสำหรับ … (สิ่งนั้น ๆ ที่ทำผิด)
– พี่/น้อง ทำไปเพราะว่า …​ (อธิบายว่าทำไมถึงทำ) และ
– ครั้งต่อไป พี่/น้อง จะ ..​. (พูดสิ่งที่ควรจะทำ)

พอลูกพูดเสร็จ ให้ลูกกอดกันซะ พวกเขาอาจจะรู้สึกแปลก ๆ ในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะหัวเราะคิกคัก และทุก ๆ อย่างก็จะกลับสู่สภาพปกติ เป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยปราบพี่น้องที่ทะเลาะกันให้กลับมารักกันดังเดิม

 

ลงมือ (ไม่ใช่การลงมือทำร้ายร่างกายนะ!)

จำได้ไหม เมื่อตอนยังเด็ก แม่คุณให้ยืนตรงมุมห้องพร้อมกับวางหนังสือไว้บนหัว ตอนนั้นเจ็บจนจำได้ไม่ลืม ทำไมไม่เอาวิธีการนั้นกลับมาใช้ล่ะ?

ก่อนจะพลั้งมือตีลูกไปเต็มเปา คนเป็นพ่อเป็นแม่ควรหักห้ามใจ ไม่ฟาดลูกที่ก้น หรือใช้ไม้เรียวตีลูก แต่ให้เลือกการอธิบายให้ลูกเข้าใจ ไม่ใช่การห้ามลูก เพราะว่า ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ลูกยิ่งทำ แม่ยิ่งหงุดหงิด กลายเป็นว่า ลูกขาดความมั่นใจ ทั้งยังกระทบต่อความสัมพันธ์แม่ลูกให้เกิดรอยร้าว

ถ้าลูกโตพอที่จะเข้าใจ จนกลายเป็นเริ่มดื้อ ก็ให้ใช้วิธีลงโทษแบบอื่น เช่น ให้เด็ก ๆ ลุกขึ้นลุกลง ประมาณ 3-5 นาที เวลาอาจจะดูสั้นสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็ก ๆ นี่มันช่างยาวนานยิ่งนัก!

 

Advertisement

เดี๋ยวตำรวจจับนะ, ดื้อนักจะให้หมอมาฉีดยา

พ่อแม่หลาย ๆ คนมักชอบใช้ประโยคนี้ นอกจากจะสร้างแค่ความหวาดกลัวให้เด็ก ๆ แล้ว มันยังไม่ช่วยอะไรเลย การเลี้ยงลูกให้กลัวต่อคนที่มีพลังอำนาจ ไม่เหมือนกับ การที่เลี้ยงลูกให้เคารพพวกเขา เพราะฉะนั้น หลีกเลี่ยงที่จะใช้คำพูดข่มขวัญ อย่าใช้คำขู่ โดยเฉพาะคำพูดที่เกี่ยวกับการหาหมอ หรือไปโรงพยาบาล เพราะจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กกลัวหมอ กลัวเข็มฉีดยา แล้วพ่อแม่ก็ต้องลำบากเสียเอง เมื่อจำเป็นต้องพาเจ้าตัวดีไปหาหมอ

แทนที่จะหลอกให้กลัว หรือขู่ลูก ลองแสดงตามบทบาทแทน เช่น เมื่อลูกทำความผิด เขียนใบสั่งที่มีลิสต์รายการที่ลูกทำผิด บอกผลที่ลูกจะได้รับ อธิบายให้ลูกฟังว่า การทำผิด เป็นคนไม่ดี มีบทลงโทษทางกฎหมายอย่างไร หรือลูกจะต้องเจอกับอะไรบ้าง

 

ให้ลูกทำความสะอาด เมื่อทำสกปรกและไม่เรียบร้อย

ลูกชายของผู้เขียนอายุ 5 ขวบ เข้าไปเล่นในตู้เสื้อผ้าของเธอ และทันใดนั้น เสื้อผ้าข้างบนก็หล่นลงมาหมดเลย ผู้เขียนเกือบที่จะจัดการเก็บกวาดตู้เสื้อผ้าของเธอ พับผ้าใหม่ให้เป็นระเบียบ แต่แล้วก็คิดได้ว่า ทำไมไม่ให้ลูกชายของเธอทำซะล่ะ!

ทำแบบนั้น ลูกชายของเธอก็ได้เรียนรู้การพับผ้าอย่างถูกวิธี และสิ่งที่สำคัญมากกว่านั้น เขาเรียนรู้ว่ามันเหนื่อยแค่ไหนที่จะเก็บกวาดสิ่งที่เขาทำสกปรก เลอะเทอะไว้ ลูกชายของเธอทำความสะอาดเสร็จในที่สุด และพูดขอบคุณที่เธอทำให้เขารู้สึกเหมือนเป็นผู้ใหญ่เลย

 

พอกันทีกับการลงโทษแบบจำคุก!

แทนที่จะส่งลูกไปยืนที่มุมใดมุมหนึ่งของห้อง พร้อมกับให้คิดว่าทำอะไรผิดไป ทำไมไม่มอบหมายภารกิจให้ลูกทำล่ะ? อาจจะให้ทำการบ้านเลข ฝึกฝนคัดลายมือ หรือ ค้นหาคำตอบกับปริศนาต่าง ๆ นอกจากจะทำให้ลูกอารมณ์เย็นขึ้น ยังช่วยให้เขาโฟกัสในการทำสิ่งดีต่าง ๆ ให้สำเร็จมากขึ้นด้วย

 

วิธีการอบรมลูกโดยไม่ขึ้นเสียงเป็นเรื่องที่ดี ลูกจะได้ไม่เสียใจ แต่ก็อย่าลืม อบรมสั่งสอนลูกด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อให้ลูกเติบใหญ่เป็นคนดี เชื่อฟังพ่อแม่ ด้วยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

20 เรื่องที่ควรสอนลูกสาว ตั้งแต่เล็ก บ้านเราได้ลูกสาวนะ

คําที่ควรพูดกับลูก 40 ประโยคดีๆ ที่พ่อแม่ควรพูดกับลูกตั้งแต่เล็ก

ทำโทษลูกด้วยการตีดีหรือไม่ แล้วส่งผลยังไงกับลูก

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สินิธฐ์ธรา ชื่นชูจิตต์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิธีการอบรมลูกโดยไม่ขึ้นเสียง สอนลูกให้เป็นคนดี เติบโตอย่างเชื่อฟัง
แชร์ :
  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว