สถิติที่น่าเป็นห่วงของประเทศอเมริกานอกจากแม่มือใหม่จะเป็นโรคซึมเศร้ากันเยอะมากขึ้น ก็ยังมีการใช้ยาต้านภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นสูงถึง 400% จากปี 1988-1994 จนถึงปี 2005-2008 โดยคนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 1 ใน 10 คน จะรับประทานต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRIs หรือ selective serotonin reuptake inhibitors เป็นปกติ
โดยการทำงานของยาคือ ไปเพิ่มสารสื่อประสาทและเป็นฮอร์โมน ที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ที่อยู่ในสมองให้เพิ่มมากขึ้น ช่วยให้จิตใจสงบขึ้น อารมณ์ดีขึ้น และแน่นอนว่าหากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ใช้ยาในกลุ่มนี้แล้วละก็ ลูกในครรภ์จะได้รับผลกระทบไปด้วยค่ะ
จากการเก็บข้อมูลพบว่า คุณแม่ที่ใช้ยาต้านอาการซึมเศร้านั้น ลูกที่ออกมาจะบกพร่องทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรม เช่น เป็นออทิสติก
ความเชื่อหลังคลอด กับความเป็นจริง
พัฒนาการทางภาษาล่าช้า
จากงานวิจัยที่ทำการเก็บข้อมูลจากเด็กๆ 56,340 คน ที่เกิดในปี 1996-2010 และคุณแม่ของพวกเขา โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
- เด็กๆ ที่เกิดจากแม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าและต้องได้รับยา SSRIs จำนวน 15,596
- เด็กๆ ที่เกิดจากแม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่ได้รับยา SSRIs จำนวน 9,537
- เด็กๆ ที่เกิดจากแม่ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าและไม่ได้รับยา SSRIs จำนวน 31,207
ยา SSRI ทำให้เสี่ยงบกพร่องด้านภาษาและการพูดถึง 63%
ผลการเก็บข้อมูลพบว่า แม่ตั้งครรภ์ที่กินยาในกลุ่ม SSRI อย่างน้อย 2 ครั้ง ระหว่างการตั้งครรภ์ ลูกจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 37-63 เปอร์เซนต์ ที่จะมีความบกพร่องด้านภาษาและการพูด เมื่อเทียบกับลูกของคุณแม่ที่ไม่ได้กินยากลุ่มดังกล่าวเลย
อย่างไรก็ตามหากคุณแม่กังวลว่าลูกจะเสี่ยงบกพร่องด้านภาษาและการพูด ลองปรึกษาคุณหมอหลายๆ แห่งถึงแนวทางการรักษาโดยที่ไม่ต้องใช้ยาก็ได้ค่ะ
ที่มา medicalnewstoday
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!