X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกน้อยกับ การนอนกัดฟัน

บทความ 3 นาที
ลูกน้อยกับ การนอนกัดฟัน

สำหรับคุณพ่อคุณแม่แล้ว เสียงลูกน้อยนอนกัดฟันเป็นเสียงที่ทั้งน่ารำคาญและน่ากังวลใจ อย่างไรก็ดี คุณพ่อคุณแม่จะต้องใช้ความอดทนอย่างยิ่งในการรับมือกับนิสัยกัดฟันของลูกน้อย

เด็กเริ่มมีฟัน ลูกน้อยนอนกัดฟัน

ลูกน้อยกับการนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟัน เป็นอาการที่พบได้ในเด็กวัยหัดเดิน โดยจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กวัยนี้จะมีประสบการณ์ใน การนอนกัดฟัน ประมาณระยะหนึ่ง แม้ว่าเสียงนอนกัดฟันจะฟังดูน่ารำคาญและน่าหงุดหงิด แต่ การนอนกัดฟัน ก็ไม่ได้เป็นอาการที่อันตราย และเด็ก ๆ ก็จะหายจากนิสัยนี้ไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา

เด็กวัยหัดเดินจะเริ่มมีอาการกัดฟันเมื่อใด

เด็กบางคนเริ่มกัดฟันตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ เช่นประมาณสิบเดือน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการมีฟันขึ้นเป็นประสบการณ์แปลกใหม่ของเด็กๆ โดยมากแล้วเด็กจะเริ่มมีอาการนอนกัดฟันเมื่ออายุประมาณ 3-3 ปีครึ่งและอาจจะหายไปเองเมื่ออายุประมาณ 6 ปี แต่หากลูกอายุเกิน 6 ปีแล้วแต่ยังนอนกัดฟันอยู่ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องปรึกษาแพทย์

ทำไมเด็กวัยหัดเดินจึงนอนกัดฟัน

คุณหมอยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าทำไมเด็กวัยหัดเดินจึงนอนกัดฟัน จากการศึกษาวิจัยพบว่าอาจเกิดจากความกังวลและความเครียด สาเหตุอื่นอาจมาจากการติดเชื้อในหู เด็กมีอาการเจ็บปวดหรือปัญหาจากฟันที่ขึ้น การสบฟันผิดปกติก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ นอกจากนี้ยังอาจเป็นได้ว่าเกิดจากอาการแพ้หรือมีพยาธิเข็มหมุด

ลูกน้อยของคุณอาจมีอาการนอนกัดฟันได้มากขึ้นถ้าตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็นอนกัดฟัน หรือถ้าลูกน้อยนอนละเมอพูดและมีน้ำลายไหล

Advertisement

วิธีแก้นิสัยนอนกัดฟัน หน้าถัดไป >>>

แล้วคุณควรจะกังวลหรือไม่

แม้ว่าเสียงกัดฟันจะน่ารำคาญและน่ากังวลใจ แต่โดยทั่วไปแล้วการกัดฟันไม่ได้เป็นสิ่งที่อันตรายเท่าใดนัก เด็กจะเลิกกัดฟันไปได้เองโดยที่ฟันไม่เป็นอะไร แต่หากยังกังวลอยู่ คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกไปพบทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กเพื่อให้ตรวจดูฟันและเช็คว่าฟันของลูกมีร่องรอยความเสียหายหรือมีปัญหาในช่องปากอื่นๆ เช่น ฟันแตก ฟันผุ หรือฟันแตกจนถึงเนื้อเยื่อในโพรงฟันหรือไม่

คุณจะช่วยได้อย่างไร

แม้ว่าการรอให้ลูกน้อยเลิกนิสัย “การนอนกัดฟัน” เองจะเป็นความคิดที่ดี แต่คุณก็อาจลองใช้เทคนิคในการผ่อนคลายก่อนส่งลูกเข้านอน โดยอาจให้ลูกนอนบนเปลหรือเก้าอี้โยกแล้วไกวหรือโยกเบาๆ หรืออาจพาลูกอาบน้ำอย่างช้าๆ และนุ่มนวลเพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น หรืออาจลองนวดคลึงหลังลูกเบาๆ ถ้าลูกมีฟันที่กำลังขึ้นหรือมีอาการหูอักเสบ คุณอาจให้ยาบรรเทาปวดในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น

เด็กบางคนอาจใส่ที่ครอบฟันพลาสติกเพื่อป้องกันการนอนกัดฟัน อย่างไรก็ตาม ทันตแพทย์มักแนะนำให้ใช้ที่ครอบฟันเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 ปีหรือเมื่อเริ่มมีฟันแท้ขึ้น

การนอนกัดฟัน เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตื่นตระหนก ให้เวลากับลูกน้อยอีกสักนิดแล้วนิสัยนี้ก็จะค่อยๆ หายไปเองค่ะ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

บทความใกล้เคียง: ข้อแตกต่างระหว่างนอนละเมอ กับฝันผวา

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Thailand Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกน้อยกับ การนอนกัดฟัน
แชร์ :
  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว