หากคุณแม่ได้รับหรือสัมผัสกับควันบุหรี่ขณะที่กำลังตั้งครรภ์ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกเป็นโรค SIDs หรือภาวะไหลตายในเด็กทารก เนื่องจากทารกที่อยู่ในครรภ์จะได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่ เข้าไปทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายและทางเดินหายใจทำงานแย่ลง
โดยงานวิจัยจาก University of Calgary ในประเทศแคนาดา ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร American Journal of Physiology — Regulatory, Integrative and Comparative Physiology ทดลองกับหนูทดลอง และพบว่าปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคไหลตายในทารกคือ
- เกิดภาวะหยุดหายใจซึ่งเข้าไปขัดขวางการหายใจ
- มีการผลิตโปรตีนไซโตไคน์มากเกินไป ซึ่งไซโตไคน์เป็นอนุภาคโปรตีนขนาดเล็ก ทำหน้าที่เป็นส่งสารจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- มีอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงหรืออากาศร้อน ซึ่งทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียนั่นเองค่ะ
เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิที่สู่งขึ้น เกิดการติดเชื้อ หัวใจเต้นเร็ว ร่างกายจะขาดออกซิเจน และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุดค่ะ
คุณพ่อคุณแม่จึงจะเป็นต้องตัดปัจจัยที่จะเกิดอุบัติเหตุแบบนี้ทิ้งไปให้หมด ทั้งไม่ให้ลูกนอนในห้องที่มีอุณหภูมิสูง ไม่สูบบุหรี่ หรือเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีกลิ่นบุหรี่ รวมถึงบุหรีมือสองมือสามก็มีส่วนทำให้ลูกไม่ค่อยดีนักได้เช่นกันนะคะ
ที่มา sciencedaily
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นมแม่ช่วยลดอัตราเสี่ยงจากโรคไหลตายในทารก?
โรคไหลตาย (SIDS) มัจจุราชเงียบคร่าชีวิตลูกน้อย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!