เวลาที่ลูกร้องไห้งอแงด้วยความหิว แม่ก็จับเข้าเต้า ดูดนม ปล่อยให้ลูกดูดนมแม่ไปเรื่อยๆ บางครั้งลูกหลับก็คิดว่าอิ่มแล้ว พยายามอุ้มออกจากเต้า ลูกกลับตื่นมางอแง ร้องขอดูดนมแม่ต่อ แล้วทีนี้ แม่จะรู้ได้ยังไงว่า ลูกอิ่มนม แล้ว
เด็กดูดนมแม่ เด็กแรกเกิดมักจะติดเต้า ร้องไห้หิวนมตลอดทั้งวัน จนแม่ต้องอุ้มติดตัวตลอดเวลา แถมยังดูดนมแม่นานเป็นชั่วโมง คาดเดาไม่ได้เลยว่า ลูกอิ่มนม หรือยัง ถ้าอย่างนั้นแม่ลองสังเกตง่ายๆ ว่าลูก คายหัวนมออกมาหรือเปล่า ถ้าลูกคายหัวนมออกมาแล้ว แสดงว่า ลูกกินอิ่ม แต่ถ้าลูกอมหัวนมเอาไว้แล้วหลับ หรือดูดเพียงเบาๆ นั่นไม่ได้หมายความว่าลูกอิ่มนะคะ แม่ต้องกระตุ้นให้ลูกตื่นขึ้นมาดูดนมจนอิ่ม ก่อนอื่น คุณแม่ต้องเช็คดูก่อนว่าลูกดูดนมเข้าปากจริง ๆ
ลูกอิ่มนม-01 เด็กดูดนมแม่
วิธีเอาลูกเข้าเต้า ให้ลูกดูดนมได้ ดูดนม
1. อุ้มทารกโดยใช้มือประคองที่ต้นคอ และท้ายทอย ต้องระวังอย่าลงน้ำหนักไปที่ใบหูของลูกนะคะ
2. จับให้ลูกเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย และเคลื่อนเข้ามากระชับตัวคุณแม่มากขึ้น
3. คางลูกเข้าประชิดกับเต้านมส่วนล่าง โดยสังเกตว่าจมูกของลูก จะอยู่ตรงกับหัวนมแม่พอดี ทันทีที่ทารกน้อยสัมผัส และได้กลิ่นจากเต้านมแม่ ก็จะเริ่มอ้าปากโดยอัตโนมัติค่ะ
4. แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยยังไม่อ้าปาก ให้ลองใช้นิ้วมือเขี่ยที่ริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปากดูนะคะ
5. ใช้มืออีกข้างประคองเต้านมเอาไว้ โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน เหนือขอบนอกของลานหัวนม ส่วนนิ้วที่เหลือประคองเต้านมด้านล่าง
มีข้อควรระวัง คือ คุณแม่ไม่ควรใช้ท่าแบบนิ้วคีบบุหรี่ เพราะช่องว่างระหว่างนิ้วจะแคบ ทำให้ลูกอมเข้าลานนมได้ไม่ลึกพอ และนิ้วอาจจะกดบริเวณท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลได้ไม่สะดวกด้วยค่ะ
นอกจากนี้ คุณแม่อยากลืมตรวจสอบดูด้วยว่า ลูกงับลานนมได้ดีหรือยัง โดยในขณะที่เอาลูกเข้าเต้าแล้ว หากคุณแม่ไม่มั่นใจว่า จัดท่าให้นมลูกได้ถูกต้องหรือไม่ ใช้วิธีสังเกตง่าย ๆ แบบนี้ค่ะ
- ลูกอมลานนมด้านล่างได้มากกว่าด้านบนหรือเปล่า พยายามให้ลานนมด้านล่างถูกปากลูกอมจนมิด หรือเกือบมิด
- ต้องปากลูกอ้ากว้างแนบสนิท กับเต้านมแม่
- ขณะดูดนมริมฝีปากล่างบานออกเหมือนปากปลา
- ต้องให้คางลูกต้องแนบชิดเต้านมแม่
ลูกอิ่มนม-02
วิธีกระตุ้นทารกแรกเกิดให้ดูดนมจนอิ่ม
1. เขี่ยริมฝีปากลูกเบาๆ กระตุ้นให้ดูดนมแม่ต่อ ด้วยการใช้นิ้วที่ประคองด้านล่างของเต้าเขี่ยปากลูกน้อยเบาๆ
2. บีบเต้านมเบาๆ ให้น้ำนมแม่เข้าปากลูก วิธีนี้ลูกจะต้องกลืนน้ำนมและดูดต่อ
ถ้าไม่ได้ผล อาจเป็นไปได้ว่าน้ำนมในเต้าน้อย ไหลช้า แม่ต้องเปลี่ยนให้ลูกเข้าเต้าอีกข้าง ทำจนกว่าลูกจะคายปากออกมาจากหัวนม ซึ่งแสดงว่าลูกอิ่มแล้ว
3. ปลุกลูกให้ตื่นก่อน ถ้าลูกหลับก็ให้ปลุกลูกก่อน ค่อยเอาเข้าเต้าเพื่อดูดนมแม่อีกครั้ง
ป้องกันลูกหลับ ดูดนม แม่ควรทำอย่างไรระหว่างให้นม
1. ให้นมลูกในบริเวณที่ไม่มีแสงแดดจ้าๆ หรือหรี่ไฟในห้อง เพราะลูกจะหลับตาเมื่อเจอแสงจ้าเกินไป แล้วจะเคลิ้มหลับเอาได้ง่ายๆ
2. พูดคุยและจ้องตาลูก ระหว่างให้นมแม่ ลูกจะได้ไม่รู้สึกง่วงนอน
นอกจากนี้ ในช่วงกลางวันที่แม่อยากให้ลูกน้อยดูดนมได้อย่างเต็มอิ่ม แม่ต้องให้ลูกใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนามาก เพราะความอบอุ่นจะทำให้ลูกเคลิ้มหลับง่ายๆ หรือถ้าลูกดูง่วงๆ ดูดนมเบาๆ แม่ลองเปลี่ยนผ้าอ้อม และใช้เนื้อเช็ดตัว ด้วยผ้าชุบน้ำซับเบาๆ ที่หน้าผากและแก้ม
ลูกอิ่มนม-03
จะรู้ได้ยังไงว่าลูกอิ่ม ดูดนม
หลังให้นมจะรู้ได้อย่างว่าลูกอิ่ม หรือไม่อิ่มได้ง่าย ๆ โดยสังเกตได้จากเต้านมแม่ที่จะคัดตึงก่อนให้นม และนิ่มลงหลังให้นมแม่ แม่อาจจะได้ยินเสียงกลืนนมของทารก หลังกินนมอิ่มลูกน้อยจะนอนสงบ หลับสบาย ไม่ตื่นร้องหิวระหว่างมื้อนม ภายใน 24 ชั่วโมงลูกน้อยจะปัสสาวะ 6 ครั้งขึ้นไป และอุจจาระ 4 – 8 ครั้ง ทารกที่กินนมแม่จะมีน้ำหนักขึ้นโดยเฉลี่ย 18 – 30 กรัมต่อวัน หรือ 125 – 210 กรัมต่อสัปดาห์
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่นตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 2 ปี ตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกด้วย จะทำให้ลูกได้รับสารอาหารกว่า 200 ชนิด ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ไม่เจ็บป่วยง่าย โดยคุณภาพของน้ำนมแม่นั้นจะขึ้นอยู่กับอาหารที่แม่รับประทานด้วย ทั้งนี้ สมองเด็กจะพัฒนาการเร็วที่สุดในขวบปีแรก หากแม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามลูกก็จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ มีสติปัญญาดี รวมทั้งการอุ้มกอดสัมผัสตัวขณะดูดนมจากอกแม่จะช่วยให้ลูกได้รับความอบอุ่นและเกิดสายสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างแม่ลูกที่ดีด้วย”
_________________________________________________________________________________________
ที่มา : https://www.birthababy.com , th.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
จับตา 5 อาการ เมื่อลูกกินนมเยอะเกินไป (Overfeeding)
5 ปัญหาที่พบบ่อย เรื่องการปั๊มนมของคุณแม่
น้ำนมแม่ที่ปั๊มมาแล้วเก็บได้กี่ ชม เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ให้นมต้องรู้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!