X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รับมือคลอดลูกฉุกเฉิน คลอดง่ายๆ ทำได้คนเดียว

บทความ 3 นาที
รับมือคลอดลูกฉุกเฉิน คลอดง่ายๆ ทำได้คนเดียวรับมือคลอดลูกฉุกเฉิน คลอดง่ายๆ ทำได้คนเดียว

รับมือคลอดลูกฉุกเฉิน คลอดง่ายๆ ทำได้คนเดียว หากต้องรับมือกับการคลอดลูกเเบบฉุกเฉิน สิ่งที่ต้องทำมีอะไรบ้าง เเต่ไม่ว่าจะเป็นยังไงคุณจะผ่านมันไปได้ค่ะ

รับมือคลอดลูกฉุกเฉิน คลอดง่ายๆ ทำได้คนเดียว

การคลอดลูกเเม้คุณเเม่บางคนจะโชคดีที่ไปคลอดที่โรงพยาบาลได้ทัน เเต่ก็ไม่ใช่คุณเเม่ทุกคนจะโชคดีเเบบนั้นนะคะ รับมือคลอดลูกฉุกเฉิน คลอดง่ายๆ ทำได้คนเดียว ในกรณีที่คุณเเม่อยู่บ้านคนเดียว หรือเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินทำให้ไม่สามารถไปถึงโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีค่ะ

1.ฉุกเฉินเเค่ไหน 

หากนี่เป็นท้องเเรก เเน่นอนว่าคุณเเม่ไม่เเน่ใจหรอกค่ะว่า คุณเเม่มีเวลาอีกนานเเค่ไหนลูกถึงจะออกมา เพราะมันยากที่จะมีกรณีของถุงน้ำคร่ำเเตกเเบบในละคร เเต่ถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นจริง ก็ขอให้รู้ไว้ว่า สิ่งที่จะต้องทำเป็นอันดับเเรกเลยคือ ตั้งสติค่ะ อย่าสติเเตกไปเสียก่อน เพราะในนาทีนี้ตนเป็นที่พึ่งเเห่งตนจริงๆ นะคะ

2.โทรหาตำรวจ 

อย่างไรก็ตามพยายามโทร 191 ก่อนนะคะ ถ้า 2 ครั้งเเล้วยังไม่ติด ควรจำหรือเมมเบอร์ฉุกเฉินอื่นๆ ไว่ด้วย เช่น

  • ถ้าอยู่ต่างจังหวัด เบอร์ 1669 เป็นเบอร์ของศูนย์นเรนทร
  • ถ้าอยู่กรุงเทพฯ เบอร์ 1646 เป็นเบอร์ของศูนย์เอราวัณ

3.ตั้งสติ

ขณะที่รอรถตำรวจหรือรถของมูลนิธิ ตอนนี้คือเวลาที่คุณเเม่ต้องตั้งสติให้ดีก่อนที่จะตื่นตระหนกมากไปกว่านี้นะคะ ขั้นเเรกตัวเองมีโรคประจำตัวหรืออาการเเทรกซ้อนในการคลอดไหม ลองนึกย้อนดูค่ะว่าคุณหมอว่ายังไงบ้าง เเละช่วงนี้ก็พยายามหายใจเข้าออกให้ลึกๆ นะคะ ครั้งล่าสุดที่ตรวจครรภ์ ลูกอยู่ในท่ากลับหัวรึยัง ถ้ากลับเเล้ว ก็โล่งใจได้นะคะ อีกอย่างนึงคืออย่ากังวลไปค่ะ ในหลายๆ ประเทศนิยมการคลอดลูกที่บ้านด้วยซ้ำไปค่ะ

4.ผ่อนคลายเข้าไว้

หายคุณเเม่ยังลุกเดินไหวอยู่ในตอนนี้ พยายามอยู่ในท่าที่สบายที่สุดค่ะ จะนั่งนอน หรือคุกเข่าก็ได้ทั้งนั้นค่ะ การอยู่ในสถานที่ๆ เงียบสงบหรือเปิดเพลงเบาๆ มีไฟสลัวๆ ไม่สว่างมาก ช่วยทำให้คุณเเม่ผ่อนคลายได้มากขึ้นนะคะ ระหว่างนี้พยายามติดต่อญาติที่อยู่ใกล้ๆ หรือคุณสามีหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียง อย่างน้อยก็ช่วยหยิบจับอะไรให้คุณได้บ้างค่ะ

5.ถ้าลูกอยากออก ก็ปล่อยให้เขาออกมา

ถ้าถุงน้ำคร่ำเเตก ลมเบ่งมาพร้อม เเละร่างกายสั่งให้คุณเเม่เบ่ง ก็จงเบ่งค่ะ อย่าไปอั้นไว้ ถ้ารู้สึกว่าหัวลูกโผล่ออกมาเเล้ว อย่าดึงเขาออกมานะคะ เพียงเเค่ประคองหัวลูกไว้ เเล้วคุณเเม่ค่อยๆ เบ่งให้ลูกออกมาค่ะ ถ้าสังเกตว่ามีรกพันอยู่ที่คอ ให้คุณเเม่ค่อยๆ เอานิ้วสอดเข้าไปเเล้วเเกะออกค่ะ อย่าลืมว่าอย่าตื่นตกใจไปนะคะ

6.เมื่อลูกออกมาเเล้ว ยังไงต่อ!!!

วางลูกเอาไว้เเนบอกค่ะ ให้ผิวเปลือยเปล่าของคุณเเม่ได้สัมผัสลูกน้อย จากนั้นก็พยายามให้ลูกดูดนมค่ะ หากเขาเเหวะขี้เถ่าออกมาอย่าเพิ่งตกใจนะคะ เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ สังเกตดูว่าลูกหายใจไหม ถ้าออกมาร้องจ้าก็ไม่ต้องเป็นห่วงไปค่ะ เเต่ถ้าลูกไม่ร้องให้สัมผัสเขาเบาๆ พยายามอุ้มลูกให้หัวของลูกอยู่ต่ำกว่าเท้าค่ะ จากนั้นลูบหลังให้ลูกหายใจเอาน้ำคร่ำออกมา ถ้ายังไม่ได้ผลให้เป่าปากลูกนะคะ พยายามให้ออกซิเจนกับลูก เเต่มีเด็กเพียงเเค่ 1% เท่านั้นที่ต้องการความช่วยเหลือหลังจากคลอดออกมา คุณเเม่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ

จากนั้นเมื่อลูกหายใจเเล้ว พยายามให้ลูกดูดนมนะคะ การดูดนมคุณเเม่จะกระตุ้นให้รกที่อยู่ข้างในไหลออกมาเองค่ะ ปกติคือภายใน 20 นาทีนะคะ

7.ยังไม่ต้องตัดสายสะดือ

ยังไม่ต้องรีบตัดสายสะดือค่ะ การตัดสายสะดือต้องทำเเบบที่ปลอดเชื้อจริงๆ ค่ะ เเล้วเลือดประมาณ 30% ของลูก อยู่ในสายสะดือค่ะ นั่นหมายความว่าคุณมีเวลาอีก 2-5 นาทีที่จะรอให้ลูกได้รับออกซิเจน นี่อาจจะเป็นการช่วยชีวิตของลูกคุณก็ได้ค่ะ ดังนั้นรอการช่วยเหลือดีกว่านะคะ ให้คุณหมอหรือพยาบาลเป็นคนตัดสายสะดือให้ดีกว่าค่ะ

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

ที่มา what to expect

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • รับมือคลอดลูกฉุกเฉิน คลอดง่ายๆ ทำได้คนเดียว
แชร์ :
  • สิ่งที่ผู้หญิงมักทำเวลาอยู่คนเดียว

    สิ่งที่ผู้หญิงมักทำเวลาอยู่คนเดียว

  • วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยคุณแม่ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

    วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยคุณแม่ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

  • 15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

    15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

app info
get app banner
  • สิ่งที่ผู้หญิงมักทำเวลาอยู่คนเดียว

    สิ่งที่ผู้หญิงมักทำเวลาอยู่คนเดียว

  • วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยคุณแม่ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

    วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยคุณแม่ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

  • 15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

    15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ