X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พ่อแม่ต้องรู้ !! ยาลดไข้เด็กแต่ละช่วงวัย แตกต่างกันอย่างไร?

บทความ 5 นาที
พ่อแม่ต้องรู้ !! ยาลดไข้เด็กแต่ละช่วงวัย แตกต่างกันอย่างไร?

ยาลดไข้เด็กที่เราใช้กันอย่างแพร่หลายและมีความปลอดภัยสูงก็คือ ยาพาราเซตามอล ซึ่งยาชนิดนี้มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ อีกทั้งยังมีความเข้มข้นของตัวยาที่แตกต่างกันอีกด้วย เนื่องจากการใช้ยาสำหรับเด็กเกือบทุกอย่างต้องคำนวณปริมาณของยาตามน้ำหนักตัวเด็ก ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย เรามาลองดูวิธี‎การคำนวณปริมาณยาลดไข้ให้เหมาะกับเด็กแต่ละคน ในแต่ละช่วงวัยกันนะคะ

เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ !! การใช้ ยาลดไข้เด็กแต่ละช่วงวัย ต้องคำนวณปริมาณยาตามน้ำหนักตัวเด็ก เรามาลองดูวิธี‎การคำนวณปริมาณยาลดไข้เด็กให้เหมาะกับในแต่ละช่วงวัยกันนะคะ

ยาลดไข้เด็กแต่ละช่วงวัย

‪การใช้ ยาลดไข้สำหรับเด็กแต่ละวัย ในปริมาณที่‬เหมาะสมต้องทราบอะไรบ้าง?‬‬

อันดับแรก เราต้องทราบน้ำหนักตัวเด็ก (กิโลกรัม) และอายุของเด็ก ถ้าเราทราบแต่อายุของเด็ก แต่ไม่ทราบน้ำหนักตัว อาจดูปริมาณยาที่ใช้จากฉลากยาลดไข้เด็กข้างขวดซึ่งเป็นปริมาณยาสำหรับเด็กน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ แต่ถ้าเด็กผอม หรืออ้วน เกินเกณฑ์แล้วใช้ยาตามนั้น อาจทำให้ได้รับปริมาณยามาก หรือ น้อยเกินไปได้

ต่อไป เราควรทราบความเข้มข้นของยาลดไข้เด็กว่ามีปริมาณยาเท่าไรใน 1 ช้อนชา (5 ซีซี) ซึ่งดูได้จากฉลากข้างขวดยาค่ะ

ยาลดไข้เด็กพาราเซตามอลในท้องตลาดมีทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ

ยาลดไข้เด็กชนิดน้ำมี 2 ขนาด

  1. ขนาด 60 มก./0.6 ซีซี, 80 มก./0.8 ซีซี เป็นชนิดบรรจุให้ดูดด้วยหลอชนิดหยด (ดรอป)
  2. ขนาด 120 มก./5 ซีซี , 160 มก./5 ซีซี และ 250 มก./5 ซีซี เป็นชนิดทานด้วยช้อน

สำหรับยาลดไข้เด็กชนิดเม็ดจะมีขนาดเม็ดละ 325 มก. และ 500 มก.

สุดท้ายเราควรทราบว่า ขนาดยาพาราเซตามอล ที่เด็กควรได้รับ คือ 10-15 มก./กก./ครั้ง ไม่มากหรือน้อยไปกว่านี้ค่ะ

การคำนวณปริมาณยาลดไข้เด็กที่ถูกต้องทำได้อย่างไร ?

หลังจากที่ทราบ 3 อย่างดังกล่าวแล้ว เรามาลองดูตัวอย่างการคำนวณปริมาณยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง กันดูนะคะ

สมมติหนูน้อย อายุ 1 ปี หนัก 10 กิโลกรัม ทานได้แต่ยาน้ำ ควรทานยาครั้งละอย่างน้อย = 10 (มก.ต่อกก.) x 10 (กก.)/ครั้ง และมากที่สุดไม่เกิน = 15 (มก.ต่อกก.) x 10 (กก.)/ครั้ง จึงได้เท่ากับ 100-150 มิลลิกรัม ต่อการทานยาหนึ่งครั้ง

คำนวณปริมาณยาที่ใช้ในแต่ละครั้งโดยเทียบบัญญัติไตรยางศ์ได้ดังนี้

  • ถ้าเลือกใช้ยาชนิดดรอป 80 มก./0.8 ซีซี หรือ 60 มก./0.6 ซีซี ก็ควรทานครั้งละ 1-1.5 ซีซี
  • ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละ 2-3 ซีซี หรือ 0.4-0.6 ช้อนชา
  • ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 160 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละ 3.1-4.7 ซีซี หรือ 0.6-0.9 ช้อนชา
  • ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละ 4.2-6.3 ซีซี หรือ 0.8-1.3 ช้อนชา

บทความที่น่าสนใจ : ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด ใช้อย่างไร? แบบไหนถึงจะเหมาะกับเด็ก?

 

การเลือกใช้ ยาลดไข้สำหรับเด็กแต่ละวัย ควรพิจารณาอย่างไร ?

เมื่อเราทราบวิธีการคำนวณแล้วก็จะพบว่า

เด็กในช่วงวัยทารก อายุไม่เกิน 1 ปี ควรใช้ยาพาราเซตามอลชนิดดรอป 80 มก./0.8 ซีซี หรือ 60 มก./0.6 ซีซี เนื่องจากใช้ปริมาณยาไม่มาก และป้อนได้สะดวก

เด็กโตขึ้นมาหน่อยที่มีน้ำหนักตัวมากขึ้น ควรเลือกใช้พาราเซตามอลชนิดทานด้วยช้อน เช่น 250 มก./5 ซีซี หรือ หรือ 160 มก./5 ซีซี

ถ้าเด็กทานยายากควรเลือกแบบที่มีความเข้มข้นของยามากกว่า เพื่อจะได้ใช้ยาปริมาณ ซีซีไม่มาก

หากเป็นเด็กโตอายุมากกว่า 5 ปีที่สามารถทานยาเม็ดได้ เราอาจเลือกใช้ยาพาราเซตามอลชนิดเม็ด แทนยาน้ำได้ โดยใช้หลักการคำนวณเดียวกัน

สุดท้ายเราควรระวังไว้เสมอว่า ยาลดไข้พาราเซตามอล ทานได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรเกินวันละ 5 ครั้ง ไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอลติดต่อกันหลายวัน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงต่อตับได้

หากมีไข้ต่ำๆ ควรเช็ดตัวลดไข้ก่อนเพราะไข้อาจลดได้โดยไม่ต้องใช้ยา และหากมีไข้ติดต่อกันเกิน 3 วัน ก็ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้และรับการรักษาตามสาเหตุค่ะ

 

ไทลินอล

 

บทความที่น่าสนใจ :

เมื่อลูกมีไข้สูง: สิ่งที่ห้ามทำและวิธีลดไข้ที่ถูกต้อง

ยาลดไข้สำหรับเด็ก เลือกใช้ให้ฉลาดและปลอดภัย

ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และโควิดในเด็ก ที่พ่อแม่ควรแยกให้ออก

ที่มาข้อมูล : www.nhs.uk

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • Tylenol
  • /
  • พ่อแม่ต้องรู้ !! ยาลดไข้เด็กแต่ละช่วงวัย แตกต่างกันอย่างไร?
แชร์ :
  • ป้องกันลูกชักจากไข้สูง: อันตรายจากการเป็นไข้มีมากกว่าที่คิด
    บทความจากพันธมิตร

    ป้องกันลูกชักจากไข้สูง: อันตรายจากการเป็นไข้มีมากกว่าที่คิด

  • ยาลดไข้สำหรับเด็ก เลือกใช้ให้ฉลาดและปลอดภัยเพื่อลูกน้อย
    บทความจากพันธมิตร

    ยาลดไข้สำหรับเด็ก เลือกใช้ให้ฉลาดและปลอดภัยเพื่อลูกน้อย

  • ป้องกันลูกชักจากไข้สูง: อันตรายจากการเป็นไข้มีมากกว่าที่คิด
    บทความจากพันธมิตร

    ป้องกันลูกชักจากไข้สูง: อันตรายจากการเป็นไข้มีมากกว่าที่คิด

  • ยาลดไข้สำหรับเด็ก เลือกใช้ให้ฉลาดและปลอดภัยเพื่อลูกน้อย
    บทความจากพันธมิตร

    ยาลดไข้สำหรับเด็ก เลือกใช้ให้ฉลาดและปลอดภัยเพื่อลูกน้อย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว