X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด อันตราย เสี่ยงตายทั้งแม่และลูกในครรภ์

บทความ 3 นาที
ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด อันตราย เสี่ยงตายทั้งแม่และลูกในครรภ์

ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ที่ไม่มีผู้ใดอยากให้เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นภาวะที่อันตราย และอาจรุนแรงถึงขั้น เสียชีวิตได้

ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด เป็นภาวะที่อันตรายอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งหลายท่านอาจไม่คุ้นหูนัก เรามาทำความรู้จักกับภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอดกันครับ

ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด อันตราย

ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ที่พบในหญิงตั้งครรภ์ แต่ไม่บ่อยนัก ประมาณ 1 ต่อ 80,000 ราย แต่ก็จัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงมาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโอกาสรอดชีวิตน้อยมาก

ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดได้ชัดเจน แต่ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะนี้ ประกอบด้วย หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก ความอ้วน การตั้งครรภ์มากกว่า 5 ครั้ง การคลอดเร็ว การชักนำการคลอดด้วยยา การผ่าตัดคลอดบุตร  ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ และภาวะทารกเครียดในครรภ์ ปัจจัยข้างต้นอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด และไม่สามารถคาดเดาได้ว่า จะเกิดขึ้นหรือไม่ จะเกิดขึ้นเมื่อใด อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันได้

ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในครรภ์

ถุงน้ำคร่ำที่หุ้มตัวทารกขณะที่อยู่ในครรภ์เกิดแตกออกในช่วงที่มารดาเริ่มเจ็บท้อง หรือช่วงคลอด ทำให้น้ำคร่ำรวมทั้งชิ้นส่วนของทารกเกิดหลุดเข้าไปตามรูแตกบนเส้นเลือดที่ตัวมดลูก ไปอุดอยู่ตามเส้นเลือดเล็ก ๆ ของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย และที่สำคัญที่สุด คือ ปอด ทำให้เกิดการอุดตันและหดเกร็งของเส้นเลือดในปอด ร่างกายจึงขาดอากาศ และทำให้หัวใจล้มเหลวตามมา เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ปุบปับ คาดไม่ถึง และอธิบายไม่ได้

อาการผิดปกติทางร่างกายที่พบบ่อย

  • กระสับกระส่าย
  • หายใจลำบาก
  • ปาก เล็บและผิวหนังตามตัวเขียวคล้ำ
  • ช็อก หมดสติ ชักเกร็ง
  • เลือดไม่แข็งตัว และเสียชีวิตในที่สุด

เมื่อเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอดขึ้นแล้วจะพบอัตราการเสียชีวิต ได้ถึงร้อยละ 20 ถึง 90 ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานพยาบาลแต่ละแห่ง

ส่วนทารกจะเสียชีวิตตามมารดาเพราะขาดออกซิเจน แต่ก็มีมารดาส่วนน้อยที่รอดเสียชีวิต ซึ่งอาจเป็นเพราะน้ำคร่ำที่หลุดเข้าเส้นเลือดมีจำนวนไม่มากนัก และการอุดตันไม่เกิดซ้ำ ร่างกายจึงขาดอากาศไม่นานและไม่มาก ทำให้แพทย์มีเวลาช่วยเหลือและแก้ปัญหาได้สำเร็จ

และหากมารดารอดชีวิตก็จะพบว่ามีการบาดเจ็บทางระบบประสาทอย่างรุนแรงได้มากถึงร้อยละ 85 ส่วนผลลัพธ์ของทารกในครรภ์นั้นยังมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 20 ถึง60 ในส่วนของทารกที่รอดชีวิตจะมีระบบประสาทปกติเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น

แนวทางการรักษาและป้องกัน

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีใดที่แน่นอน ที่จะบอกว่าเป็นโรคนี้ และยังไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุดที่จะใช้รักษาภาวะนี้ได้ คงมีแต่เพียงการรักษาตามอาการ และแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การให้เลือด หรือการให้ยาบางตัว และเพื่อหวังว่าขบวนการการเกิดโรคนี้จะไม่เกิดซ้ำ แต่ถึงแม้จะไม่เกิดซ้ำ โอกาสที่แม่จะรอดชีวิตก็ยังยาก ส่วนการผ่าตัดคลอดเพื่อช่วยเหลือลูก บางครั้งก็ทำไม่ทันหรืออาจไม่คุ้ม เพราะการผ่าตัดในขณะที่แม่ยังอาการไม่ดีนั้น กลับจะทำให้แม่แย่ลง
น้ำคร่ำอุดตันปอด

แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่างที่อาจเกิดขึ้นในคนท้อง ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้นั้นอาจจะป้องกันไม่ได้ก็ตาม แต่ทว่าการฝากท้องแต่เนิ่นๆ และสม่ำเสมอก็ยังเป็นสิ่งที่คนท้องควรปฏิบัติ เพราะจะเกิดประโยชน์อย่างมาก ช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาที่จะเกิดจากโรคต่างๆ และแพทย์จะได้ ป้องกันความผิดปกติที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่แม่และลูกจะได้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงครับ


ที่มา si.mahidol.ac.th, thaihealth.or.th

parenttown

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด อันตราย เสี่ยงตายทั้งแม่และลูกในครรภ์
แชร์ :
  • ภาวะน้ำคร่ำแห้ง คืออะไร ป้องกันได้หรือไม่?

    ภาวะน้ำคร่ำแห้ง คืออะไร ป้องกันได้หรือไม่?

  • อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

    อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ภาวะน้ำคร่ำแห้ง คืออะไร ป้องกันได้หรือไม่?

    ภาวะน้ำคร่ำแห้ง คืออะไร ป้องกันได้หรือไม่?

  • อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

    อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ