ในอดีตโรงพยาบาลในประเทศไทยไม่อนุญาตให้สามีเข้าไปให้กำลังใจภรรยาในห้องคลอด แต่ในปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชนบางแแห่งที่อนุญาตให้ว่าที่คุณพ่อเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการให้กำลังใจภรรยาโดยนั่งกุมมืออยู่เคียงข้างเธอ แต่ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าพ่อสมควรเข้าไปในห้องคลอดหรือไม่? คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้? เรามีเหตุผลจากทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมาให้คุณลองพิจารณา
พ่อควรหรือไม่ควรอยู่ในห้องคลอด?
การให้กำเนิดลูกเป็นกระบวนการที่น่ามหัศจรรย์ แต่ใช่ว่าพ่อทุกคนจะพร้อมเสมอไป เรามีบางมุมที่คุณน่าจะรู้ก่อนตัดสินใจเข้าห้องคลอด
สิ่งที่ว่าที่คุณพ่อต้องระวัง
- ภรรยาของคุณอาจจะกรีดร้องจากความเจ็บปวดดังนั้นคุณควรเตรียมใจเอาไว้
- หากเป็นการผ่าคลอดให้ทำใจไว้เลยว่าคุณจะเห็นกระบวนการผ่าตัด พยายามมองไปทางอื่นถ้าคุณทนเห็นเลือดและความสยองไม่ไหว
- หลังจากคลอดลูกแล้วก็เป็นการคลอดรก อยากให้คุณรับรู้ว่าหน้าตาของรกไม่น่ามองสักเท่าไหร่นักหรอก
ประสบการณ์ครั้งหนึ่งสำหรับว่าที่คุณพ่อ
กระบวนการคลอดอาจจะไม่น่ามองสักเท่าไหร่แต่นั่นคือจุดกำเนิดของลูกคุณ มันเป็นเวลาที่พิเศษที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในชีวิตที่คุณไม่ควรพลาดและที่สำคัญคุณจะได้เห็นหน้าลูกเป็นครั้งแรกพร้อมกับเธอ ผู้ชายที่อยู่ในห้องคลอดกับภรรยายอมรับว่าพวกเขารักภรรยามากขึ้นเมื่อเห็นความทรมานของภรรยาเพื่อจะคลอดลูกอันเป็นแก้วตาดวงใจของทั้งคู่
ให้กำลังใจภรรยา
การคลอดลูกเป็นกระบวนการที่ทรมานแต่คุณสามารถให้กำลังใจภรรยาจนทำให้เธอกัดฟันรวบรวมพลังเพื่อเบ่งลูกออกมา ระหว่างการเจ็บท้อง ภรรยาคุณอาจหงุดหงิด โมโห สับสน หรือกลัว สิ่งที่คุณทำได้คือ พยายามให้เธอรวบรวมสติ ฝึกการหายใจ จริง ๆ แล้วแค่คุณอยู่เคียงข้างเธอ เธอก็อุ่นใจและพร้อมในทุกสถานการณ์
แล้วคุณล่ะคิดอย่างไร ร่วมแชร์ความเห็นกันได้นะคะ
เตรียมตัวอะไรบ้างก่อนคลอด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!