X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

บทความ 3 นาที
พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

แขนขาเป็นอวัยวะที่จำเป็นต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย มือและนิ้วจำเป็นต่อการหยิบจับ เรียนรู้โลกรอบตัวผ่านการสัมผัส เรามาดูกันว่าพัฒนาการแขน ขา มือ เท้า นิ้ว และเล็บของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 6 เริ่มเห็นปุ่มที่จะพัฒนาเป็นแขนและขา

สัปดาห์ที่ 7 แขนขาของตัวอ่อนเริ่มพัฒนาจากปุ่มแขนขาแต่ละข้าง โดยปุ่มแขนพัฒนาเป็นส่วนมือ แขน และไหล่ ปุ่มขาพัฒนาเป็นขา เข่า และเท้า มือและเท้าจะมีรูปร่างคล้ายไม้พาย ก่อนจะพัฒนาเป็นนิ้วในเวลาต่อมา

สัปดาห์ที่ 9 นิ้วมือนิ้วเท้าปรากฏครบแล้ว

สัปดาห์ที่ 13 เล็บเริ่มปรากฏ เริ่มมีลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า

สัปดาห์ที่ 14 แขนมีการพัฒนาให้ได้สัดส่วนกับร่างกาย ในขณะที่ส่วนขายังสั้นกว่าเล็กน้อย

สัปดาห์ที่ 15 ขายาวกว่าแขนแล้ว

สัปดาห์ที่ 16 เล็บเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

สัปดาห์ที่ 19 ทั้งแขนและขาของทารกพัฒนาได้สัดส่วนกับร่างกาย มีการขยับแขน ขยับนิ้วมือ นิ้วเท้า คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกเตะในช่วงนี้ หรือภายในไม่เกิน 1-2 สัปดาห์

สัปดาห์ที่ 20 เล็บยังคงพัฒนาต่อไป

สัปดาห์ที่ 22 เล็บพัฒนาเสร็จแล้ว

สัปดาห์ที่ 32 แขนและขาพัฒนาได้สัดส่วนสัมพันธ์กับขนาดของศีรษะ

สัปดาห์ที่ 34 เล็บเท้ายาวขึ้นจนถึงปลายนิ้ว

ดูคลิปพัฒนาการแขนและขาของทารก ได้ที่นี่

คุณแม่ได้ทราบแล้วนะคะว่าแขนและขาของทารกมีการพัฒนาอย่างไร แต่คุณแม่ทราบไหมคะว่า สถิติของเด็กที่แขนขาพิการแต่กำเนิดมีอยู่ถึง 2 : 1,000 คน เรามาดูกันว่า ความผิดปกติของแขนขาทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะป้องกันได้หรือไม่ คลิกหน้าถัดไป

ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิดเกิดจากอะไร

ข้อมูลจากสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) ระบุว่า ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิด (Limb anomalies) คือความผิดปกติของแขน ขา เกิดจากทารกในครรภ์ไม่มีการสร้างหรือมีการสร้างแขนขาที่ผิดไป เป็นความพิการของร่างกายที่เห็นได้ชัดตั้งแต่หลังเกิด ตัวอย่างเช่น โรคเท้าปุก แขนขาด ขาขาด และโรคข้อยึดแต่กําเนิด เป็นต้น ซึ่งมีความรุนแรงได้หลากหลายและทําให้การทํางานของแขนขาและมือเท้าผิดปกติไป

สาเหตุของภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิด มีได้หลากหลาย สาเหตุการเกิดส่วนใหญ่มักไม่ทราบแน่ชัด ทั้งนี้สาเหตุที่เป็นไปได้ ได้แก่ การใช้ยาที่มีผลกับทารกในครรภ์ สารพิษ หรือการติดเชื้อในระยะ 4-8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นระยะที่มีการสร้างแขนขาของทารก หรืออาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของพันธุกรรม

ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิดสามารถรักษาได้หรือไม่

การรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไป โดยพิจารณาจากความผิดปกตินั้นเป็นอุปสรรคต่อการทํากิจวัตรประจําวัน การใช้งาน การยืนเดิน เป็นหลัก

  • แขนขาขาดหาย พิจารณาให้อวัยวะเทียมในเวลาที่เหมาะสมตามระดับพัฒนาการของเด็ก
  • แขนเทียม พิจารณาให้เมื่อเด็กเริ่มถือของด้วยสองมือ เริ่มนั่งทรงตัว หรืออายุประมาณ 6 เดือน
  • ขาเทียม พิจารณาให้เมื่อเด็กเริ่มเกาะยืน หรือ อายุประมาณ 1 ปี
  • นิ้วเกินหรือพังผืดระหว่างนิ้ว รักษาโดยการผ่าตัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและความ สวยงาม แนะนําให้ทําในวัยก่อนเข้าโรงเรียนเพื่อลดปัญหาทางจิตใจและสังคม
  • ส่งพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิดป้องกันได้หรือไม่

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ให้ข้อมูลว่า ยังไม่มีวิธีการป้องกันแน่ชัด สิ่งที่คุณแม่ทำได้คือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงการรับประทานวิตามินรวมที่มีกรดโฟลิค (400 ไมโครกรัม) ทุกวัน ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์

ที่มา https://pregnancy.familyeducation.com/, https://bdr.kku.ac.th/, www.cdc.gov

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ทารกคลอดไม่มีนิ้ว ภัยร้ายจากพังผืดในถุงน้ำคร่ำ

ปอดของทารกในครรภ์มีพัฒนาการอย่างไร

พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • หัวนมแตก 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 43 หัวนมแตกเกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร ?

    หัวนมแตก 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 43 หัวนมแตกเกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • หัวนมแตก 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 43 หัวนมแตกเกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร ?

    หัวนมแตก 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 43 หัวนมแตกเกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ