คุณแม่มือใหม่ควร ฝึกลูกดูดนม เพื่อให้ไม่เกิดอาการเจ็บเต้า และป้องกันการสำลัก ให้ลูกดูดอย่างไรถึงถูกวิธี เรามาดูวิธีการ ฝึกลูกดูดนม กันค่ะ
การหลั่งน้ำนมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ระดับฮอร์โมนที่ช่วยสร้างน้ำนมจะมีปริมาณสูงมากจากการกระตุ้นเต้านม เช่นลูกดูดนมแม่ การบีบน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือ หรือการใช้เครื่องปั๊มนม ซึ่งฮอร์โมนนี้จะถูกสร้างในช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน ดังนั้นการให้ลูกดูดนมเวลากลางคืน จะทำให้มีการสร้างน้ำนมได้มากเป็นพิเศษ ทำให้เร่งการสร้างน้ำนมได้ดี
หากให้ลูกดูดนมไม่บ่อยเต้านมจะสร้างน้ำนมได้น้อย แต่ถ้าลูกดูดนมบ่อยเต้านมก็จะสร้างน้ำนมได้มาก เพราะระดับของฮอร์โมนที่ช่วยสร้างน้ำนมจะมีมากสูงสุด ขณะลูกดูดนมจนถึงภายหลังลูกหยุดดูดนมประมาณ 30 นาที จากนั้นระดับฮอร์โมนจะค่อยๆ ลดต่ำลงจนคงที่โดยเฉลี่ยภายใน 3 ชั่วโมง การให้ลูกดูดนมบ่อยและสม่ำเสมอ จึงทำให้ระดับฮอร์โมนสูงตลอดเวลา มีผลทำให้เต้านมมีการสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
ส่วนการไหลของน้ำนมออกจากเต้านมนั้น ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นและการยับยั้งโดยประสาทสัมผัสทั้งห้า อาจกล่าวได้ว่า ผลกระทบที่ทำให้แม่ไม่สบายกายและไม่สบายใจ จะส่งผลต่อการไหลของน้ำนมออกจากเต้าได้ไม่ดีเท่าที่ควร มีผลทำให้ลูกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ดังนั้นขณะที่ลูกดูดนมแม่ควรผ่อนคลายให้มากที่สุด
ประโยชน์ของนมแม่
ฝึกลูกดูดนม
-
เป็นทุนสมองของลูก น้ำนมแม่มีคุณค่าทางอาหารต่อสมองลูกสำหรับ 6 เดือนแรกของลูก
-
ดีที่สุดสำหรับสุขภาพลูกช่วยลดความเสี่ยงโรคทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ หูอักเสบ ภูมิแพ้และเบาหวานในเด็ก
-
สะดวกพร้อมดื่มทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องอุ่น
-
ประหยัดไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลบ่อยๆ เพราะเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีโอกาสป่วยน้อยกว่าและมีภูมิคุ้มกันต่อเนื่อง
-
นมแม่ทำให้เด็กฉลาดจากการวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่าเด็กที่ดื่มนมแม่มีไอคิวสูงกว่าเด็กอื่น 2 จุด
-
นมแม่ช่วยให้ลูกน้อยไม่อ้วนทารกที่ดื่มนมแม่จะมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนน้อยกว่า
-
นมแม่ช่วยลดน้ำหนักแม่คุณแม่ที่ให้ลูกดื่มนมแม่จะช่วยลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น เพราะต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 500 แคลอรี่ต่อวัน
-
คุณแม่มือใหม่ บีบ เก็บตุน น้ำนมแม่ได้ไม่ยากอย่างที่คิด ถึงแม้จะติดธุระหรืออกไปทำงานนอกบ้านนานๆ คุณแม่ก็สามารถให้นมลูกได้ด้วยวิธีการง่ายๆคือ การบีบ เก็บ ตุน น้ำนมเอาไว้ให้ลูกยามที่คุณแม่ไม่อยู่บ้าน
วิธีฝึกลูกดูดนม
ฝึกลูกดูดนม
- หลังคลอดให้ลูกดูดนมแม่เร็วที่สุด
คุณแม่ควรเริ่มให้ลูกดูดนมแม่โดยเร็วที่สุดหลังคลอดทันทีหรือภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์แห่งความรัก ความผูกพัน และความอบอุ่นที่ลูกน้อยรับรู้ได้ทันที ลูกจะคุ้นเคยกับการดูดนมและแม่จะเข้าใจและเรียนรู้ความต้องการของลูก
- รู้วิธีการให้นมที่ถูกต้อง
คือ คุณแม่ต้องตะแคงตัวลูกเข้าหาตัวแม่แล้วอุ้มให้กระชับอก โดยให้ศีรษะและลำตัวลูกอยู่แนวเดียวกัน แล้วประคองศีรษะลูกให้อมหัวนมและลานนมให้ลึก เมื่อเหงือกลูกกดบนลานนมที่มีกระเปาะน้ำนมภายใน ลิ้นจะอยู่ใต้ลานนมและรีดน้ำนมออกมาโดยที่ริมฝีปากไม่เม้มเข้า ขณะดูดจะเป็นจังหวะและมีเสียงเบา ๆ ขณะกลืนน้ำนม
ส่วนการคงสภาพของการหลั่งน้ำนมแม้ว่าแม่กับลูกต้องแยกจากกันควรต้องให้คุณแม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบีบน้ำนมและกระตุ้นให้เก็บน้ำนมในความถี่ที่เหมาะสมอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน และมีปริมาณน้ำนมที่ชัดเจน โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกควรต้องได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า 500 มิลลิลิตรต่อวัน นอกจากนี้ควรมีการบันทึกปริมาณน้ำนมในช่วง 14 วันแรก เพื่อประเมินความพอเพียงของน้ำนม
ทารกต้องได้รับแต่นมแม่เท่านั้นตลอด 6 เดือน ห้ามให้น้ำ อาหาร หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เนื่องจากสมองของเจ้าตัวเล็กเติบโตเร็วมากในขณะที่กระเพาะอาหารมีขนาดเล็ก หากให้น้ำหรืออาหารลูกจะดูดนมแม่น้อยลง การให้นมแม่อย่างเดียวถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักและมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน
- คุณแม่ควรอยู่กับลูก 24 ชั่วโมง
หลังคลอดแม่กับลูกควรอยู่ด้วยกันตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยแม่ควรอุ้มทารกแนบอก เพราะลูกน้อยกำลังตื่นตัวกับสิ่งรอบข้าง หากทารกได้รับความอบอุ่นจะช่วยให้สามารถดูดนมแม่ได้ตั้งแต่ชั่วโมงแรก ๆ นอกจากทำให้คุ้นชินยังช่วยถนอมหัวนมคุณแม่ได้ด้วย ช่วยเสริมสร้างการให้นมแม่ในระยะยาว
- ให้ลูกดูดนมได้บ่อยตามต้องการ
ลูกควรได้ดูดนมแม่บ่อยเท่าที่ต้องการ เพราะจะได้รับสารอาหารครบถ้วน มีความชำนาญในการดูดนม ป้องกันการคัดตึงของเต้านมแม่ และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายแม่ผลิตปริมาณน้ำนมได้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้นด้วย หลังคลอดลูกควรอยู่ร่วมห้องเดียวกับแม่เพื่อให้ได้น้ำนมเพียงพอ โดยระยะการให้นมระหว่างมื้อไม่ควรเกิน 3 ชั่วโมง หากคุณแม่อ่อนเพลียสามารถนอนท่าตะแคงแล้วให้พยาบาลเอาลูกเข้าเต้าดูดนมแบบที่ถูกต้องเพื่อจะได้นอนหลับพักผ่อน
- ไม่ควรใช้หัวนมยาง หรือ หัวนมปลอม
การให้ลูกน้อยดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอมอาจทำให้เกิดความสับสนระหว่างการดูดนมแม่กับการดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอม เพราะวิธีการดูดมีความแตกต่างกัน การดูดนมแม่ลูกต้องใช้ลิ้นและขยับกรามเพื่อรีดน้ำนมจากกระเปาะน้ำนม แต่การดูดหัวนมยางลูกไม่ต้องออกแรงเพราะน้ำนมไหลผ่านหัวนมยางได้ทันที ส่งผลให้ลูกไม่คุ้นเคยกับการดูดนมแม่และปฏิเสธนมจากเต้าของแม่ได้ในที่สุด
- เข้าอบรมการให้นมลูกอย่างถูกวิธี
การให้นมแม่อย่างถูกวิธีมีความสำคัญมากเพราะฉะนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนคลอด เลือกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และอยู่ภายใต้การดูแลของคลินิกนมแม่ที่มีการสอนและจัดอบรมการให้นมแม่ที่ถูกต้อง ตั้งแต่การให้นม การบีบนม การปั๊มนม การเก็บนม พร้อมดูแลตั้งแต่ก่อนคลอดขณะคลอดและหลังคลอด โดยมีพยาบาลนมแม่ทำงานร่วมกับทีมสูติ-นรีแพทย์ กุมารเวชศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด (NICU) นักโภชนาการ นักกายภาพ ย่อมช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกน้อยได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ
เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงานควรวางแผนให้ดีในการให้นมลูก โดยองค์กรอนามัยโลกแนะนำให้ 6 เดือนแรกควรให้นมแม่อย่างเดียว ต่อมาควรให้นมแม่ร่วมกับอาการเสริมอีก 2 ปีหรือมากกว่า โดยคุณแม่ต้องมีความรู้เรื่องการปั๊มนมและเก็บนมอย่างถูกต้อง ในระหว่างวันทำงานช่วงพักสามารถปั๊มนมเก็บไว้ได้ โดยศึกษาวิธีการและเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ที่สำคัญควรให้ลูกดูดนมจากเต้าก่อนไปทำงาน หลังกลับจากที่ทำงาน ตอนกลางคืนและวันหยุดควรเอาลูกเข้าเต้าทุกครั้ง เพราะการที่ลูกดูดนมแม่จากเต้าช่วยสร้างน้ำนมได้มากกว่าการใช้เครื่องปั๊มนมลูกจะได้กินนมแม่ได้นานที่สุด
ท่าให้นมลูกที่ถูกวิธี
ฝึกลูกดูดนม
ทำได้โดยนั่งลงบนเก้าอี้ที่มีเท้าแขนหรือเตียงที่มีหมอนหนุนหลัง วางเท้าบนม้านั่งเพื่อไม่ให้ตัวโน้มลงไปข้างหน้าตามแรงดูดนมของลูก จากนั้นอุ้มลูกน้อยวางบนตักและจับให้ลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวคุณแม่โดยประคองศีรษะเด็กไว้ในอ้อมแขนข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูด ใช้มือและแขนประคองตัวลูกไว้แล้วใช้มืออีกข้างประคองเต้านมให้ตรงกับปากของเด็ก แต่ท่านี้อาจไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด เพราะการอุ้มลูกในท่านี้อาจกดทับแผลผ่าคลอดทำให้รู้สึกเจ็บได้
- ท่านอนขวางบนตักแบบประยุกต์
เหมาะสำหรับทารกที่มีปัญหาการเข้าเต้าซึ่งจะแตกต่างจากท่าให้นมลูกแบบนอนขวางบนตักที่การวางมือ โดยท่านี้จะใช้มือและแขนข้างตรงข้ามกับเต้านมที่ลูกดูดประคองตัวลูกไว้แล้วค่อย ๆ จับตัวลูกหันตะแคงเข้าหาตัวคุณแม่ จากนั้นจึงใช้มือประคองจับที่ต้นคอและท้ายทอยของลูกน้อย และใช้มืออีกข้างประคองเต้านมให้ปากของลูกอยู่ตรงกับหัวนมของคุณแม่พอดี
เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด คุณแม่ที่มีหน้าอกใหญ่หรือมีหัวนมแบน และทารกที่ตัวเล็กหรือมีปัญหาในการเข้าเต้า ซึ่งทำได้โดยอุ้มลูกไว้แนบลำตัวข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูด ให้จมูกของเด็กอยู่ในระดับเดียวกับหัวนม และให้ขาของเด็กชี้ไปทางด้านหลังของคุณแม่ คุณแม่อาจใช้หมอนรองแขนด้วยในขณะใช้มือและแขนประคองศีรษะและลำตัวของลูกน้อย
เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด คุณแม่ที่ประสบปัญหาการนั่งลำบากหลังคลอด และคุณแม่ที่ต้องการให้นมลูกในตอนกลางคืน ทำได้โดยนอนตะแคงแล้วใช้หมอนรองศีรษะ ไหล่ และใต้หัวเข่าเพื่อให้หลังและสะโพกตรงเป็นแนวเดียวกัน จากนั้นจับลูกน้อยให้นอนตะแคงหันหน้าเข้าหาคุณแม่ แล้วใช้มือด้านล่างประคองตัวและศีรษะของลูกให้ชิดกับลำตัวของคุณแม่ ซึ่งอาจใช้ผ้าหรือหมอนรองศีรษะเจ้าตัวเล็กเอาไว้และใช้มืออีกข้างประคองเต้านมเพื่อให้ลูกสามารถดูดนมแม่ได้ถนัดขึ้น
การให้นมลูกแฝดพร้อมกันถึง 2 คนอาจเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับคุณแม่และอาจทำให้เกิดความกังวลได้ไม่น้อย ดังนั้น คุณแม่อาจลองให้นมลูกทีละคนสลับกันไปโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เมื่อคล่องแล้วจึงให้นมลูกแฝดพร้อมกันด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ท่าให้นมลูกแฝดแบบนอนขวางตัก
คล้ายกับการให้นมลูกแบบนอนขวางตัก โดยคุณแม่อาจใช้หมอนรองให้นมเพื่อรองลูกน้อยทั้ง 2 คน แล้วประคองลูกให้อยู่ในวงแขนแต่ละข้าง โดยให้ขาของลูกไขว้กันบนตักของคุณแม่
ท่าให้นมลูกแฝดแบบอุ้มลูกฟุตบอล ทำได้โดยใช้หมอนรองให้นมเพื่อรองเจ้าตัวเล็ก จากนั้นอุ้มลูกน้อยทั้ง 2 คนให้แนบลำตัวด้านข้างของคุณแม่ทั้ง 2 ข้าง หรืออาจประคองลูกคนหนึ่งด้วยท่าให้นมแบบนอนขวางตักแล้วประคองลูกอีกคนด้วยท่าให้นมแบบอุ้มลูกฟุตบอลก็ได้
ขณะให้นมลูก คุณแม่ควรปล่อยตัวตามสบายเพื่อช่วยเพิ่มน้ำนมและทำให้น้ำนมไหลออกมามากขึ้น รวมทั้งอาจใช้หมอนรองศีรษะ ต้นคอ แขน และขาเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อย หากคุณแม่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการให้นมลูก ควรขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น พยาบาลด้านแม่และเด็ก ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตร หรือคลินิกนมแม่ที่น่าเชื่อถือและได้รับการรับรอง
ท่านวดกระตุ้นน้ำนม
- ใช้นิ้วหัวแม่มือขวาวางลงขอบนอกของลานหัวนมด้านบน นิ้วชี้วางด้านตรงข้าม กดนิ้วเข้าหากันพร้อมกับคลึงไปมา อย่างนุ่มนวล
- ใช้มือขวาประคองโอบด้านล่างของเต้าไว้ในอุ้งมือ ใช้นิ้วชี้ข้างซ้าย กดและหมุนวนไปโดยรอบลานหัวนม
- ใช้นิ้วหัวแม่มือขวา วางลงขอบนอกของลานหัวนมด้านบน นิ้วชี้วางด้านตรงข้าม เป็นรูปตัว C ออกแรงกดนิ้วเข้าหากัน ในลักษณะบีบ-คลาย สลับกัน เป็นการบีบน้ำนมในขั้นตอนสุดท้าย
- ใช้เฉพาะนิ้วชี้ ทั้งมือซ้ายและขวา วางนิ้วให้นาบลงที่ขอบลานหัวนมทั้งสองข้าง ปลายนิ้วชี้ลงพื้น ออกแรงกดข้างนิ้วทั้งสองเข้าหากันในลักษณะบีบ-คลาย สลับกัน
ที่มา :
https://www.pobpad.com/
https://www.bangkokhospital.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 13 อุ้มลูกอย่างไร
ทำอย่างไร เมื่อคัดเต้านม
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!