X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ผ่าคลอด บล็อคหลัง ดมยาสลบ ภาวะแทรกซ้อน ความเสี่ยงที่แม่ต้องเจอตอนผ่าคลอด

บทความ 3 นาที
ผ่าคลอด บล็อคหลัง ดมยาสลบ ภาวะแทรกซ้อน ความเสี่ยงที่แม่ต้องเจอตอนผ่าคลอด

รู้ลึกเรื่องคลอด ผ่าคลอด ดมยาหรือบล็อกหลัง ข้อดีข้อเสีย อาการข้างเคียง ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน แม่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจ!

รู้ครบเรื่องคลอดลูก ผ่าคลอด บล็อคหลัง ดมยาสลบ

ไขความกระจ่าง คลอดลูก การคลอดธรรมชาติ ผ่าคลอด บล็อคหลัง ดมยาสลบ มีอาการข้างเคียงยังไง รู้ข้อดีข้อเสีย ภาวะแทรกซ้อน ก่อนตัดสินใจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

คลอดธรรมชาติ VS ผ่าคลอด

สิ่งที่คุณแม่กังวลระหว่างการคลอดบุตรไม่ว่าทางช่องคลอดหรือผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง คือ ความเจ็บปวดระหว่างการรอคลอด เบ่งคลอด หรือผ่าคลอด โดยทั่วไปวิสัญญีแพทย์จะให้บริการระงับความเจ็บปวด ติดตามอาการและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทั้งในมารดาและทารกระหว่างที่รอคลอดหรืออยู่ในห้องผ่าตัด ซึ่งสามารถแยกได้เป็น 2 กรณี คือ

 

คลอดธรรมชาติ

การคลอดเองทางช่องคลอด มีการระงับความปวดแบ่งได้ตามระยะของการคลอดบุตร ในช่วงแรกที่รอให้ปากมดลูกเปิดหมด ช่วงเบ่งคลอด ช่วงหลังคลอด ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละระยะที่แตกต่างกัน

  • การคลอดทั่วไปแพทย์จะยาบรรเทาปวดในรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นน้ำเกลือเวลาที่คุณแม่ปวดมาก หรือร้องขอยาแก้ปวด ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว แต่ระยะเวลาสั้น ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้มียาตกค้างผ่านไปสู่ทารกซึ่งอาจมีการกดการหายใจของเด็กทารกแรกเกิดได้
  • ในช่วงที่เบ่งคลอดมักไม่นิยมให้ยาแก้ปวด เนื่องจากอาจทำให้คุณแม่ง่วงซึมและไม่มีแรงเบ่งคลอด
  • ช่วงหลังคลอดขณะที่เย็บซ่อมแผลฝีเย็บแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณดังกล่าวให้
  • หลังจากนั้นจะให้เป็นยารับประทานบรรเทาปวดเป็นพาราเซทตามอลแบบทั่วไป ยกเว้นกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนเช่น แผลกว้าง แผลลึก แผลบวม จีงสั่งยาแก้ปวดอื่นๆ เพิ่มเติมให้

ในโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งจะมีบริการคลอดบุตรที่ไม่เจ็บปวด (Painless labor)

ซึ่งจะกระทำโดยวิสัญญีแพทย์ ทำการบล็อคหลังให้คุณแม่ในขณะที่รอคลอด โดยค้างสายฉีดยาไว้เพื่อเติมยาแก้ปวดเป็นครั้งๆ ตามระยะของการคลอดบุตรได้ คุณแม่จะไม่มีความรู้สึกช่วงครึ่งล่างของลำตัว ทำให้ไม่เจ็บปวด แต่มีข้อเสียคือ อาจทำให้ดำเนินการคลอดช้าออกไป และบางครั้งมีภาวะแทรกซ้อนจากการบล็อคหลังตามมาได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ลุกเดินได้ช้า

 

Advertisement

ผ่าคลอด

การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง มีการระงับปวดโดยวิสัญญีแพทย์ในห้องผ่าตัด สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ การบล็อคหลัง และการดมยาสลบ ซึ่งมีข้อเด่น ข้อด้อยต่างกัน แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป แต่โดยส่วนใหญ่สูติแพทย์และวิสัญญีแพทย์มักนิยมบล็อคหลังมากกว่า เนื่องด้วยมีความปลอดภัยสูงและยาที่ใช้ไม่กดการหายใจของเด็กทารกแรกเกิด แต่การดมยาสลบอาจมียาสลบส่งผ่านรกไปยังเด็กทารกในครรภ์ได้

 

ดมยาสลบ กับ บล็อคหลัง

การบล็อคหลัง

  • บล็อคหลังราคา ถูกกว่า
  • ประสิทธิภาพในการระงับปวด เท่ากัน
  • ความเสี่ยงต่อมารดา น้อยกว่า
  • ความเสี่ยงต่อทารก น้อยกว่า
  • การผ่าตัดคลอดแบบยาก นิยมน้อยกว่า
  • ภาวะแทรกซ้อน เสี่ยงปวดหลัง  ปวดศีรษะ เสี่ยงความดันโลหิตต่ำ
  • ระยะเวลาออกฤทธิ์ ยาวกว่า จนถึงหลังคลอด 6 ชั่วโมง
  • ผู้ให้บริการ วิสัญญีแพทย์

 

การดมยาสลบ

  • ดมยาสลบราคา แพงกว่า
  • ประสิทธิภาพในการระงับปวด เท่ากัน
  • ความเสี่ยงต่อมารดา มากกว่า
  • ความเสี่ยงต่อทารก มากกว่า
  • การผ่าตัดคลอดแบบยาก นิยมมากกว่า
  • ภาวะแทรกซ้อน เสี่ยงสำลักอาหาร เสี่ยงปอดติดเชื้อ
  • ระยะเวลาออกฤทธิ์ สั้นกว่า เฉพาะเวลาที่ดมยาสลบอยู่เท่านั้น
  • ผู้ให้บริการ วิสัญญีแพทย์ หรือ วิสัญญีพยาบาล

 

ผ่าคลอด บล็อคหลัง ดมยาสลบ ภาวะแทรกซ้อน ความเสี่ยงที่แม่ต้องเจอผ่าคลอด

 

 

หากคุณแม่มีข้อบ่งชี้หรือจำเป็นต้องรับการผ่าตัดคลอดบุตร สูติแพทย์จะทำการประเมินสภาวะของคุณแม่ว่าเหมาะสมที่จะบล็อคหลังหรือดมยาสลบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติ โรคประจำตัว ความเร่งด่วนในการผ่าตัดคลอด ทั่วไปนิยมบล็อคหลังมากกว่าเนื่องจากความเสี่ยงโดยรวมต่ำกว่าดมยาสลบและคุณแม่มีสติอยู่ สามารถรับรู้เหตุการณ์ในห้องผ่าตัดได้ ได้ยินเสียงลูกร้อง ได้เห็นลูกตั้งแต่แรกคลอด

 

การบล็อคหลังผ่าคลอดจึงไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ มีเข็มบล็อคที่ขนาดเล็ก ความชำนาญของวิสัญญีแพทย์ที่สามารถแทงเข็มได้อย่างแม่นยำ สามารถปรับยาชาให้เหมาะสม ไม่กดการหายใจของคุณแม่ และหลังคลอดยังเติมยาแก้ปวดได้อีก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คลิปผ่าคลอดหมอฝรั่ง เปิดประสบการณ์ แม่ไทยคลอดไกลถึงออสเตรเลีย

แม่แชร์ ประสบการณ์ผ่าคลอด 10 เรื่อง อะไรบ้างที่จะต้องเจอในระหว่างผ่าคลอด

คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด คุณแม่อยากเลือก วิธีคลอดลูก แบบไหน?

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ผ่าคลอด บล็อคหลัง ดมยาสลบ ภาวะแทรกซ้อน ความเสี่ยงที่แม่ต้องเจอตอนผ่าคลอด
แชร์ :
  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว