ไขบนหนังศีรษะลูก
ลักษณะ: เกิดจากการทำงานผิดปกติของต่อมผลิตไขมัน ผลิตออกมามากเกินไป ทำให้ดูเหมือนลูกน้อยมีรังแคขึ้นมา สามารรถเกิดตามหู คอ รักแร้ หรือจะที่ก้นลูกก็ได้ ไม่ได้ร้ายแรง แค่ปล่อยมันไป เมื่อต่อมไขมันของลูกน้อยกลับมาทำงานตามปกติแล้ว อาการนี้ก็จะหายไปได้เอง
รักษาอย่างไร: หากคุณแม่เป็นกังวลเพียงแค่นำนมแม่สักสองสามหยดลูบบนหนังศีรษะ จนกว่าสะเก็ดจะหลุดลอกออก แล้วปัดออกด้วยแปรงขนอ่อน แค่นี้ก็หายกังวลแล้ว
Milia
ลักษณะ: เป็นซีสต์เล็กๆ ตื้นๆ ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร สีออกเหลืองๆ ขาวๆ อยู่เป็นกลุ่มหลายๆ เม็ดหรือเม็ดเดี่ยวๆ พบเห็นได้บ่อยที่ หน้าผาก แก้ม และจมูกของเด็กทารก คล้ายสิวแต่ไม่ใช่สิว ไม่โตขึ้น ไม่เล็กลง ไม่เจ็บไม่ปวด ไม่อักเสบบวมแดง
คุณอาจรู้สึกอยากจะเค้นหรือสะกิดมันออก แต่การทำเช่นนั้นอาจเกิดการระคายเคืองหรือติดเชื้อได้
รักษาอย่างไร: ควรจะหายไปได้เอง ภายในไม่กี่สัปดาห์ ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา อย่างไรก็ตาม ควรล้างหน้าให้ลูกทุกวันด้วยน้ำอุ่น และสบู่สูตรอ่อนโยน แล้วค่อยๆ เช็ดผิวให้แห้งอย่างเบามือ หลีกเลี่ยงโลชั่น หรือออยล์ในบริเวณที่เป็น
ภาวะตัวเหลือง
ลักษณะ: มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง จาก มีปริมาณสาร บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งมีสีเหลือง ในเลือดสูงเกินปกติมาก สารบิลิรูบินในเลือด เมื่อผ่านเข้าไปในตับทารก ซึ่งยังไม่แข็งแรงพอที่จะกำจัดสารบิลิรูบินในเลือด จึงสามารถพบอาการตัวเหลืองได้บ่อยในทารกแรกเกิด
จะสังเคราะห์ให้บิลิรูบินชนิดไม่ละลายน้ำนี้ เปลี่ยนเป็นบิลิรูบินที่ละลายน้ำ(Conjugated bilirubin) และตับขับสารนี้ออกจากร่างกายโดยปนมากับน้ำดี (Bile) ที่ขับออกทางท่อน้ำดี และผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ และถูกขับออกโดยปนมากับอุจจาระ สีเหลืองของอุจจาระจึงเป็นสีที่ได้จาก บิลิรูบิน
รักษาอย่างไร: รักษาด้วยการส่องไฟ และการให้ดูดนมบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับสารบิลิรูบินออกมากับอุจจาระ
บทความแนะนำ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน
ผดร้อน
ลักษณะ: มีผื่นลักษณะเป็นตุ่มแดงๆ ขึ้นทั่วหลัง และลำคอ มีอาการคันมาก พบได้บ่อยในเด็กทารกเพราะการพัฒนาของต่อมเหงื่อและผิวหนังยังไม่สมบูรณ์ อากาศร้อนทำให้มีเหงื่อมาก เหงื่อส่วนหนึ่งเกิดการหมักหมมเป็นตะกอนอุดตันต่อมเหงื่อ กลายเป็นผื่นคันหลากหลายรูปแบบ
การป้องกันก็คือให้ลูกอยู่ในที่เย็น หลีกเลี่ยงอากาศร้อนชื้น อาบน้ำอย่างน้อยเช้า-เย็น ประคบผื่นด้วยผ้าเย็น สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ดูแลบริเวณข้อพับหรือมีการเสียดสีของผิวหนังให้แห้งเสมอ โดยปกติผดร้อนจะหายไปเองในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
รักษาอย่างไร: ให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี พยายามอยู่ในที่เย็น หลังอาบน้ำ ปล่อยให้ลูกตัวแห้งไปเอง ไม่ต้องใช้ผ้าเช็ดตัว หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือโลชั่น บริเวณที่เป็นผดร้อน
บทความแนะนำ ลูกเป็นผดร้อน ทำอย่างไรดี
Pustular melanosis
ลักษณะ: เป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองในชั้นผิวตื้นๆ ส่วนใหญ่พบเมื่อแรกเกิด และจะแตกออกภายใน 24 -48 ชั่วโมง และหายไปโดยจะเหลือจุดสีเข้มไว้ และจะค่อยๆ จางลงไปภายในเวลา 3 เดือน พบมากบริเวณคาง หลังคอ หน้าผาก หลัง
รักษาอย่างไร: เป็นภาวะที่ไม่มีอันตราย และหายได้เอง ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา
ติดตามอ่านปัญหาผิวทารกที่พบบ่อยอื่นๆ ได้ในหน้าถัดไป
ผื่น Erythema toxicum
ลักษณะ: เป็นผื่นที่ไม่นูน มีสีแดง มีตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหัวแบบหนองอยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นในเด็กทารก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 10 วัน พบที่ อก หลัง หน้า ส่วนต้นของแขนขา จะไม่พบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า
รักษาอย่างไร: จะยุบหายไปเองภายใน 5 วัน และจะหายไปหมดภายใน 2 สัปดาห์ ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา ไม่อันตราย สามารถหายได้เอง
เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก
ลักษณะ: โดยทั่วไปจะเกิดในทารกอายุช่วง 2 สัปดาห์แรก มักเริ่มจากจุดแดงขนาดเล็ก อาจมี บ้างที่มีลักษณะสีแดงชัดเจนแต่กำเนิด เมื่ออายุ 8 สัปดาห์แรก ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จะนูนโตอออกมา มีสีแดงสด โดยก้อนเนื้องอกชนิดนี้จะมีขนาดโตมากขึ้นภายใน 6-9 เดือนแรกหลังคลอด
รักษาอย่างไร: ก้อนจะค่อยๆ ยุบลงได้เอง ภายหลังอายุ 1 ปี ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่หากพบบริเวณใบหน้า รอบดวงตา ใบหู หรือปรากฏมากกว่า 5 แห่ง ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อผ่าตัดหรือทำเลเซอร์
จุดเลือดออก Petechiae
ลักษณะ: เป็นจุดเลือดออกขนาดเล็กในชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุ ไม่มีอาการคัน พบได้ที่ใบหน้า แขน ท้อง อก ก้น และเท้า สาเหตุเนื่องจากมีความผิดปกติของผนังหลอดเลือด หรือความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด เลือดจึงรั่วซึมเข้าสู่ผิวหนัง เกิดจากการร้องไห้มากเกินไป อาเจียนรุนแรง ไอยาวนาน ผิวไหม้แดด
รักษาอย่างไร: สามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่หากคุณไม่มั่นใจว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ควรพาลูกไปพบแพทย์
สิวในทารก
ลักษณะ: เป็นเม็ดขาวๆ ฐานแดงๆ เหมือนสิว ตามแก้ม คาง หน้าผาก เปลือกตา คอ อก หลัง ศีรษะ ซึ่งมีคำอธิบายว่าอาจเป็นจากการที่ยังมีผลของฮอร์โมนอิสโตรเจนจากแม่มาทำให้ลูกมีสิวทารกนี้ขึ้น แต่ก็มักจะหายไปเองในเวลาไม่นาน
รักษาอย่างไร: ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นด้วยน้ำเปล่าวันละ 2-3 ครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ โลชั่น และไม่บีบสิว
บทความแนะนำ สิวในทารกแรกเกิดใช่โรคผิวหนังหรือเปล่า?
ผื่นผ้าอ้อม
ลักษณะ: เป็นผื่นแดงบริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ และก้น ซึ่งอาจเกิดจากการสวมผ้าอ้อมเปื้อนนานเกินไป การถูหรือเสียดสีกับผ้าอ้อม ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา แพ้ผ้าอ้อม
รักษาอย่างไร: เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ อย่าปล่อยให้อับชื้น ใช้ครีมทาป้องกันผื่นผ้าอ้อม ใช้เบบี้ไวพ์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และถ้าเป็นไปได้ ให้ลูกอยู่โดยไม่ใส่ผ้าอ้อมบ้าง
บทความแนะนำ ผื่นผ้าอ้อม ปัญหาโลกแตกที่แม่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญ
ผื่นผิวหนังอักเสบ Eczema
ลักษณะ: มักเริ่มมีอาการประมาณอายุ 2 เดือนไปแล้วจนถึงอายุ 2 ปี โดยมีอาการผื่นคันเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง เริ่มจากแดง คัน ต้องเกามาก เป็นเม็ด ตุ่มใส เยิ้ม มีน้ำเหลืองซึม ต่อมาเป็นสเก็ด ผิวหนังบริเวณนั้นหนาขึ้น อาการจะทุเลาแล้วกลับมาเป็นใหม่ เรื้อรัง
มักขึ้นบริเวณแก้ม หน้าผาก ต่อมาผื่นลามไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะข้อมือด้านนอกของแขน และมีอาการคันมาก ทำให้เด็กตื่นเวลากลางคืนบ่อย
รักษาอย่างไร: แม้จะยังไม่มีวิธีการรักษา แต่สามารถควบคุมได้โดยใช้ยาแก้อักเสบ อาบน้ำอุ่นในอ่างแทนการใช้ฝักบัว และพยายามรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง
บทความแนะนำ “ให้หนูตายเถอะ” คำวิงวอนของเด็กน้อยผู้บอบช้ำจากโรคผื่นแพ้คัน eczema
เมื่อไหร่ที่ควรกังวล?
แม้ว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่กล่าวมาจะเป็นอาการปกติที่มักพบในทารก แต่คุณแม่ก็ควรจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่ามันจะส่งสัญญาณอันตรายใดๆ ดังต่อไปนี้หรือไม่
- อาการระคายเคือง (ปลอบเท่าไหร่ก็ไม่หยุดร้องไห้หรือกรีดร้อง)
- มีอาการง่วงซึม
- หนาวสุดขั้ว
- มีไข้
- เลือดออกจากบริเวณที่มีอาการ
- เป็นหนอง
- ดูเหมือนว่าจะมีการแพร่กระจายหรือเลวร้ายลง
หากลูกของคุณมีอาการดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอโดยด่วนค่ะ
ข้อมูลอ้างอิงจาก
https://sg.theasianparent.com/, https://medicarezine.com/, https://visitdrsant.blogspot.com, https://haamor.com/th/, https://www.healthcarethai.com/
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ยาแก้ผื่นคันสำหรับทารก
แก้ให้ถูกจุด!!!ทำอย่างไรเมื่อทารกก้นเปื่อย
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผิวลูกเป็นรอย ได้ที่นี่!
ผิวลูกเป็นรอย ผิวลูกเป็นรอยผื่นจะดูแลยังไงดีคะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!