เตรียมความพร้อมก่อนนวด
1. เวลานวด ควรนวดในช่วงที่ลูกอารมณ์ดี ไม่หิว เช่น หลังจากอาบน้ำ หรือหลังจากทานนมแล้ว ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้นมที่ได้รับเริ่มย่อย ป้องกันการอาเจียน แต่ท่านบางท่าก็สามารถทำได้ทุกเวลา เช่น ท่าลูบแขน ลูบขา
2. อุณหภูมิของห้องต้องพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป เพราะเวลานวดต้องถอดเสื้อผ้าลูกออก
3. ก่อนนวดต้องล้างมือให้สะอาดและทาแป้งเด็ก ถ้ามือของคุณแม่แห้งก็ควรทา Baby Oil หรือ Baby Lotion เพื่อช่วยให้การนวดสัมผัสผิวลูกลื่นและไม่ระคายเคือง
4. ให้ลูกนอนบนเบาะนุ่ม ๆ เพื่อให้รู้สึกสบายเวลานวด และเตรียมผ้าอ้อมไว้เปลี่ยนด้วย
5. ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ต้องเริ่มนวดด้วยท่าใดก่อนให้พิจารณาตามความเหมาะสม
วิธีการนวดสัมผัส
1. เริ่มนวดจากศีรษะ แขน ขา ไล่ลงไปถึงฝ่าเท้าและหลัง
2. แต่ละท่าทำซ้ำท่าละ 5 – 10 ครั้ง
3. สิ่งสำคัญที่สุดในการนวดสัมผัส คือ การถ่ายทอดความรักต่อลูก ด้วยการสบตา พร้อมพูดคุยด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน
การนวดสัมผัสเสริมสร้างพัฒนาการของทารก
ท่าที่คาดผม
1. จัดท่าให้ลูกน้อยนอนหงาย
2. วางฝ่ามือของคุณแม่ทั้งสองบนศีรษะเจ้าตัวน้อย โดยให้นิ้วประสานกันเล็กน้อยตรงกึ่งกลางของศีรษะจากนั้นลูบไปถึงปลายคาง
ประโยชน์ของท่าที่คาดผม : ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้า
ท่าพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง
1. ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างวางตรงกลางเหนือริมฝีปากบน
2. ลากออกมาเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปาก ทำจำนวน 5 ครั้ง
3. ต่อจากนั้นนวดริมฝีปากล่างในลักษณะเดียวกันอีก 5 ครั้ง
4. ใช้ปลายนิ้วลูบไล้ขอบปาก วนเป็นวงกลมอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากมุมปากข้างหนึ่งผ่านเหนือริมฝีปากบนไปยังมุมปากอีกข้าง
หนึ่ง และวนไปยังริมฝีปากล่าง จนถึงมุมตำแหน่งที่เริ่มต้นแล้ววนกลับ นับเป็น 1 ครั้ง
ประโยชน์ของท่าพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง : ช่วยกระตุ้นการกิน การดูดกลืนของทารก และยังช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในช่วงที่ฟันกำลังขึ้น
ท่าเปิดหนังสือ
1. ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างลูบไล้จากบริเวณกลางอก แยกมือออกจากกันไปทางด้านข้างของลำตัวตามแนวซี่โครง โค้งลงมาชนกันที่กลางท้องน้อย
2. ตำแหน่งการเคลื่อนไหวตั้งแต่ต้นจนจบเหมือนการวาดรูปหัวใจ
ประโยชน์ของท่าเปิดหนังสือ : ช่วยเสริมจังหวะการทำงานของปอดและหัวใจให้ดีขึ้น ช่วยเด็กหายใจได้อย่างปลอดโปร่ง
ท่า I Love You
1. I ใช้มือขวาลากเส้นตรงจากบนลงล่างบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือด้านขวาของคุณแม่
2. LOVE เขียนตัวแอลกลับหัวบนท้องน้อย โดยเริ่มซ้ายไปขวาของคุณแม่
3. YOU เขียนตัวยูหัวคว่ำโดยเริ่มจากซ้ายไปขวาของคุณแม่
ประโยชน์ของท่า I Love You : การนวดกระเพาะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อ ในระยะทางเดินทาง
อาหาร ช่วยระบบระบายลมและทุเลาอาการท้องผูก ท่านวดทุกท่าจะจบลงบริเวณด้านซ้ายของท้องน้อยเด็ก ทั้งนี้เป็นไปตาม
ลักษณะทางกายภาพและการเคลื่อนไหวของลำไส้
อ่าน ท่านวดแขน, ขา และหลัง คลิกหน้าถัดไป
ท่านวดแขน
1. ท่ารถเมล์จอดป้าย ให้คุณแม่จับมือลูกน้อยชูเหนือหัวในแนวระนาบ พร้อมกับนวดบริเวณใต้รักแร้ ซึ่งเป็นการนวดต่อมน้ำเหลืองที่สำคัญบริเวณรักแร้
2. ท่าบีบนวดไปรอบ ๆ จับแขนเด็กให้ตั้งฉากกับพื้นด้วยมือทั้งสองข้างเหมือนท่าจับไม้เบสบอล โดยไม่ให้มือทับกัน แล้วหมุนมือไปรอบ แขนเด็กพร้อมบีบเบา โดยหมุนเดินหน้าและหมุนถอยหลังสลับกัน
3. ท่าคลึงไปคลึงมา คุณแม่กลิ้งแขนลูกไปมาระหว่างมือทั้งสองข้าง โดยเริ่มจากข้อมือไปจนถึงหัวไหล่
4. ท่าเหยียดและพับแขนนวดนิ้วมือทีละนิ้ว ใช้มือประคองข้อศอกไว้นวดอุ้งมือ ใช้นิ้วโป้งนวดตรงฝ่ามือ
ประโยชน์ของท่านวดแขน : ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณแขน
ท่านวดขา
1. ท่าเหยียดและงอขา โดยใช้มือประคองที่เข่าไว้
2. ท่าบีบนวดขาไปรอบ ๆ ขา ใช้มือข้างหนึ่งจับเท้ายกขึ้น ใช้มืออีกข้างกำรอบขาบีบนวดพร้อมเคลื่อนขึ้นและลง
3. ท่าคลึงไปคลึงมา กลิ้งขาเด็กไปมาระหว่างมือทั้งสองข้าง โดยเริ่มจากหัวเข่าไปจนถึงข้อเท้า
4. นวดนิ้วเท้าทีละนิ้วนวดอุ้งเท้า โดยใช้นิ้วโป้งนวดตรงฝ่าเท้า
ประโยชน์ของท่านวดขา : ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณขาทั้งสองข้าง
ท่านวดหลัง
1. ท่าเดินหน้าและถอยหลัง เริ่มจากบริเวณไหล่ด้านหลัง ถูมือกับหลังในจังหวะเดินหน้าและถอยหลัง ให้มือหนึ่งเคลื่อนลงและอีกมือเคลื่อนขึ้น ขณะเดียวกันให้นวดเลื่อนลงมาจนถึงก้นกบ
2. ท่านวดก้นหอย ให้ลงน้ำหนักปลายนิ้วมือตามแนวกระดูกสันหลัง ให้ลูบธรรมดาจากบนลงล่างตามแนวกระดูกสันหลัง
ประโยชน์ของท่านวดหลัง : ทำให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ช่วยให้ทารกมีพัฒนาการด้านการพลิกหงายทำสะดวกรวดเร็วขึ้น
ประโยชน์ของการนวดสัมผัสทารก
1. สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด การนวดสัมผัสสามารถช่วยให้ทารกน้อยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว
2. สำหรับทารกที่นอนหลับยาก การนวดจะทำให้เจ้าตัวน้อยนอนหลับง่ายขึ้น
3. การนวดช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
4. เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงทั่วตัว ดีต่อพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
5. กระตุ้นระบบประสาทในสมองที่ช่วยควบคุมการดูดซึมอาหารส่งผลให้ทารกน้อยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
6. ช่วยลดฮอร์โมนความตึงเครียดของทารก
คำแนะนำ
ในระหว่างที่นวดทารกอยู่นั้น ต้องสังเกตพฤติกรรมเจ้าตัวน้อยด้วยนะคะว่า มีทีท่าแสดงออกว่ามีความสุขหรือมีพฤติกรรมที่ถูก กระตุ้นมากเกินไป โดยเฉพาะหากเจ้าตัวน้อยโยเยร้องไห้ไม่ยอมให้นวด ต้องหยุดทันทีรอจนกว่าเจ้าหนูจะอารมณ์ดีค่อยนวดต่อนะคะ
ได้รู้ถึงท่านวดและประโยชน์ของการนวดเจ้าตัวน้อยกันแล้วนะคะว่าดีต่อพัฒนาการของทารกน้อย จึงอยากเชิญชวนคุณแม่มานวดสัมผัสกระตุ้นพัฒนาการให้เจ้าตัวน้อยกันค่ะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.thumrubpantai-yufai.com
ขอขอบคุณสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
แผ่นพับ แนะนำท่านวดสัมผัสกระตุ้นทารก โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สุดยอด! วิธีนวดไล่ลมในท้องทารกแบบง่าย ๆ ได้ผลจริง (มีคลิป)
เคล็ดลับนวดลูกน้อยจากเป้ย ปานวาด และเอ๋ พรทิพย์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!