ท้องแล้วร่างกายเปลี่ยนไปแค่ไหน
ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ ท้องแล้วร่างกายเปลี่ยนไปแค่ไหน การตั้งครรภ์สักครั้งนอกจากเเค่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา อวัยวะต่างๆ ในร่างกายล้วนมีความเปลี่ยนแปลงไปทั้งสิ้น
ระบบทางเดินหายใจ
- ขณะที่ตั้งครรภ์ร่างกายของคุณเเม่จะต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วขึ้น
- ปริมาตรอากาศที่เข้าและออกจากปอดเพิ่มขึ้น
- เกิดภาวะด่างจากระบบหายใจ เนื่องจากหายใจเร็วขึ้น อัตราหายใจเพิ่มขึ้น หายใจเเรงเเละลึกขึ้น
- ความสามารถในการทำงานของร่างกายลดลง
- ปริมาณอากาศที่หายใจเข้าออกลดลง
- คุณเเม่ท้องบางคนอาจจะมีบางช่วงที่รู้สึกหายใจไม่ออกได้
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ขณะตั้งครรภ์ระบบหัวใจเเละหลอดเลือดจะมีการปรับการทำงานขึ้นใหม่
- ปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้น เส้นเลือดต่างๆ ขยายตัว เกิดเเรงดันขึ้นที่มดลูก ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ช้าลง
- ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีเพิ่มขึ้น
- ชีพจรขณะพักสูงขึ้น
- ความต้านทานของหลอดเลือดลดลง
- ในไตรมาสที่สองความดันเลือดจะลดลง
ระบบทางเดินอาหาร
- ขนาดของลูกในครรภ์จะไปเบียดอวัยวะภายในอย่างระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการต่างๆ
- การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารลดลง มีการสร้างกรดต่างๆ เพิ่มขึ้น ทำให้อาจเกิดกรดไหลย้อน
ระบบต่อมไร้ท่อ
- ฮอร์โมนเอสโทรเจนเเละโพรเจสทอโรนเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 10 – 12 ทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงขึ้นในร่างกาย
- คุณแม่อาจมีอาการร้อนๆ หนาวๆ จากการเปลี่ยนเเปลงของฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนเเปลงอัตราการความต้องการเผาผลาญของร่างกายในชีวิตประจำวัน หรือ BMR
- ร่างกายต้องการเเคลเซียมเพิ่มขึ้น
- เมื่อใกล้คลอด ต่อมใต้สมองส่วนหลัง จะปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซินเพื่อเตรียมพร้อมในการคลอดลูก
- เมื่อคลอดลูกเเล้วร่างกายจะหลั่งโพรเเลกทินเพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนม
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
- ฮอร์โมนอย่างรีเลซินเเละโพรเจสทอโรนเพิ่มขึ้น ทำให้มีข้อต่อเเละเอ็นต่างๆ ยืดหยุ่นมากขึ้น
- มดลูกขยายใหญ่ขึ้นทุกสัปดาห์ ร่างกายจึงปรับกระดูกเพื่อช่วยในการทรงตัว เเต่อาจทำให้คุณเเม่ปวดหลังได้
- อุ้งเชิงกรานขยายเพื่อพร้อมรับมือในการคลอด
- ร่างกายต้องการเเคลเซียมเพิ่มขึ้นเพื่อทดเเทนการดึงไปใช้ในการสร้างร่างกายของลูก
ผิวหนังเปลี่ยนเเปลง
- ผิวอาจเเตกลายได้บริเวณที่มีการขยาย เช่น หน้าท้อง หน้าอก ทิ้งรอยเอาไว้ให้ดูต่างหน้า
- ผิวอาจคล้ำขึ้น บริเวณรอบสะดือ ข้อพับอย่างรักเเร้ เเละใบหน้า(อาจมีฝ้าขึ้น)
- ผิวนูนขึ้นคล้ายใยเเมงมุม เป็นเหตุมาจากการขยายเส้นเลือดฝอย จากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโทรเจน
หน้าท้องเปลี่ยนเเปลง
- หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้นตามสัปดาห์เเละเดือนที่เพิ่มขึ้น
หน้าอกเปลี่ยนแปลง
- หน้าอกขยายใหญ่ขึ้นเเละมีความอ่อนไหวมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโทรเจนเเละโพรเจสทอโรน เเละเพื่อเตรียมพร้อมในการให้นมลูก
- หัวนมยื่นออกมามากขึ้น
- เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 อาจจะมีน้ำนมส่วนเเรกที่เรียกว่าโคลอสทรัมไหนออกมาก่อนคลอดลูกได้ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสีเหลือง
น้ำหนักเปลี่ยนเเปลง
- ในสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่ 15 หรือไตรมาสเเรก น้ำหนักจะขึ้นมาประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม
- ในสัปดาห์ที่ 16 ถึงสัปดาห์ที่ 27 หรือไตรมาสสอง น้ำหนักจะขึ้นมาประมาณ 7.5 กิโลกรัม
- ในสัปดาห์ที่ 28 ถึงสัปดาห์ที่ 40 หรือไตรมาสสาม น้ำหนักจะขึ้นมาประมาณ 12-17 กิโลกรัม
การเปลี่ยนเเปลงอื่นๆ
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจทำให้ผมเเละเล็บของคุณเเม่มีการเปลี่ยนเเปลง
- ตะคริวสามารถเกิดได้บ่อยขึ้น จากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เเละปริมาณเเคลเซียมหรือเเมกนีเซียมที่ลดลง
- ข้อเท้าบวมเนื่องจากปริมาณของของเหลวในร่างกายที่เพิ่มขึ้น
- อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นในไตรมาสเเระ เเละจะกลับมาเป็นปกติหลังจากสัปดาห์ที่ 16
ที่มา Healtline
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!