X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูแลผิวทารกให้สดใสไร้ขุย

บทความ 5 นาที
ดูแลผิวทารกให้สดใสไร้ขุย

ปัญหาผิวพรรณของทารกมีมากมายไม่ว่าจะเป็นผด ผื่น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่อง “ขุย” หากทารกน้อยมีขุยสีขาว ๆ ตามร่างกาย เกิดขึ้นจะทำอย่างไรดี เรามีคำตอบ

ดูแลผิวทารกให้สดใสไร้ขุย

1. ขุยจากผิวแห้ง

ดูแลผิวทารกให้สดใสไร้ขุย

ขุยจากผิวแห้งสามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่เด็กที่มีผิวปกติ เกิดจากการดูแลที่ไม่ถูกต้องเช่น คุณแม่ให้ลูกอาบน้ำอุ่นจัดเกินไปหรืออาบน้ำบ่อยมากกว่าวันละ  2  ครั้ง   จึงทำให้ผิวลูกขาดความชุ่มชื้นผิวแห้งเป็นขุย

วิธีการดูแล

ทาครีมบำรุงมอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดเกินไป อาบน้ำเพียงวันละ 2 ครั้งก็พอ

2. ขุยจากพันธุกรรม

ดูแลผิวทารกให้สดใสไร้ขุย

ปัญหาเรื่องผิวเป็นขุยส่วนหนึ่งก็มาจากพันธุกรรมได้นะคะ ที่พบบ่อยคือ  ผื่นภูมิแพ้อักเสบของผิวหนัง (atopic dermartitis) ในประเทศไทยพบว่า  ประมาณ 10 – 15 % จะมีอาการอักเสบผิวเห่อภายในช่วงขวบปีแรก และอีก 80 – 90 % จะแสดงอาการภายในอายุ 5 ขวบ แต่อาการผิวเป็นขุยจะดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ

อาการที่พบ  คือ  เป็นเม็ดเล็ก ๆ สีแดงที่ผิวหนัง มี 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลันและระยะเรื้อรัง

ระยะเฉียบพลัน จะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีแดง  เจ้าหนูจะมีอาการแสบและคันทรมานน่าดูเลยนะคะ หากเผลอไปเกาจนตุ่มน้ำใส ๆ แตกออกพอแห้งจะกล้ายเป็นสะเก็ดน้ำเหลือง  หากปล่อยไว้นาน ๆ จะกลายเป็นปื้นหนา  เป็นขุยทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังรักษายากขึ้นและใช้เวลานานกว่าจะรักษาหาย

วิธีการดูแล

1. โรคผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบที่เรื้อรังและเกิดจากพันธุกรรมนี้ บอกตามตรงว่ารักษาหายยากค่ะ แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เพราะเมื่อเจ้าหนูโตขึ้นเป็นวัยรุ่นหรือเป็นผู้ใหญ่กว่าร้อยละ 70 – 80 จะดีขึ้นและหายได้เอง

2. การรักษาหากเกิดอาการอักเสบคุณหมอมักจะจัดยากลุ่มสเตียรอยด์

3. หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่กังวลว่าจะเกิดผลข้างเคียงคุณหมอก็จะจัดยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์แต่อาจทำให้ผลการรักษาหายช้ากว่าค่ะ เป็นยากลุ่ม ทาโครลิมุส (tacrolimus) พีเม็คโครลิมุส (pimecrolimus)

4. ในรายที่มีอาการน้อยถึงปานกลางคุณหมอจะจัดยากลุ่ม pro-vitamin B5 หรือเด็สแพนทีโนล (dexpanthenol) มีงานวิจัยพบว่า ยากลุ่มดังกล่าวใช้ได้ผลดีเทียบเท่ากับยาสเตียรอยด์อ่อนๆ

5. หัวใจสำคัญของการรักษาอาการอักเสบที่เกิดจากผื่นภูมิแพ้ คือ การป้องกันและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคืองหรือปัจจัยที่ทำให้ผิวแห้ง

6. นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหาเรื่องผื่นแพ้ผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองที่มาจากการซักทำความสะอาดผ้า ได้แก่  ผงซักฟอก  น้ำยาซักผ้า  เป็นต้น ซึ่งต้องล้างออกให้หมดและใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ  นอจากนี้การอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัด  ไม่อาบน้ำบ่อย ๆ ทางที่ดีไม่ควรเกินวันละ 2 ครั้ง ใช่สบู่อ่อน และครีมบำรุงผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งค่ะ

3. ขุยจากการเกิดผื่นแพ้สารสัมผัส (contact dermatitis)

ดูแลผิวทารกให้สดใสไร้ขุย

ผื่นแพ้ลักษณะนี้จะพบได้บ่อยในทารก  คือ  ผื่นผ้าอ้อมจากการแพ้สารสัมผัส (diaper dermatitis) มักจะเกิดกับการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการปล่อยทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง  ทำให้ปัสสาวะหรืออุจจาระของทารกที่มีความเป็นด่างสูง และมีสารระคายเคืองจากอุจจาระมาปะปนทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีสารเคมีจากแชมพู สบู่ หรือครีมต่าง ๆ ที่ทารกแพ้  แต่ผื่นขุยที่เกิดจากแพ้สารสัมผัสพบได้น้อยกว่า เพราะตามปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่มักจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวของลูกอยู่แล้ว

วิธีการดูแล

มีลักษณะการดูแลคล้ายกับผื่นแพ้ที่เกิดจากพันธุกรรม เพียงแต่ผื่นแพ้เป็นขุยในลักษณะนี้  หากหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคือง  ผื่นแพ้ก็สามารถหายขาดได้ กรณีผื่นแพ้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป  ควรเลือกชนิดที่ระบายอากาศได้ดี ที่สำคัญต้องหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมนะคะ ไม่ต้องรอให้เต็มผืนก่อน เพราะจะเกิดการอับชื้นได้

4. ขุยจากการเสียดสี (intertrigo)

ดูแลผิวทารกให้สดใสไร้ขุย

เป็นขุยชนิดที่เกิดพร้อมกับการอักเสบของผิวหนัง มักจะเห็นเป็นผื่นแดงเป็นปื้นบริเวณซอกคอ ซอกแขน ตามข้อพับต่าง ๆ เกิดจากการเสียดสีของผิว  มักพบได้บ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี เพราะวัยนี้กำลังอ้วนจ้ำม่ำเลยค่ะ จึงทำให้ผิวหนังเกิดการเสียดสีได้ง่าย

วิธีการดูแล

ป้องกันโดยใช้น้ำสะอาดเช็ดถูกเบา ๆ ซับให้แห้ง ทาครีมบำรุงหรือ oil ทาบริเวณที่ผิวเสียดสีกัน เพื่อลดอาการอักเสบที่อาจเกิดขึ้น

5. ขุยจากสาเหตุอื่น ๆ

ดูแลผิวทารกให้สดใสไร้ขุย

โรคซีโบริอิคเคอร์มาไตติส (seborrhea dermatitis) มักพบในทารกแรกเกิด – 2 เดือน โดยจะพบผื่นที่เป็นขุยบริเวณหนังศีรษะ  คิ้ว  ร่องจมูก แก้ม  หู  มักจะพบผื่นชนิดนี้จำนวนมากบริเวณรักแร้  ลำตัว และในผื่นผ้าอ้อมด้วย  สาเหตุคาดว่าจะเกิดจากโมนเพศชายที่ทารกได้รับจากแม่  กระตุ้นให้ต่อมผลิตไขมันมากเกินไปทำให้เชื้อราพวกยีสต์  เกิดการเจริญเติบโตกระตุ้นให้ผิวหนังอักเสบมากขึ้น พบว่าอาการของเด็กกลุ่มนี้มักเกิดจากแม่ที่มีผิวมันเป็นสิวมาก

วิธีการดูแล

อาการขุยจากผื่นแพ้อาจหายได้เมื่ออายุ 6 เดือน – 1 ปี  เนื่องจากฮอร์โมนลดลงไปจนหมด ถ้าคุณแม่พาลูกไปพบคุณหมอมักจะใช้การรักษาโดยการทาครีมลดการอักเสบของผิวหนัง

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก 

วารสารวิชัยยุทธสุขภาพสตรีและเด็ก

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับง่ายๆ กับการดูแลผิวสวยของลูกน้อย

อากาศร้อน ระวังโรคผิวหนังจากเชื้อราในเด็ก

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ดูแลผิวทารกให้สดใสไร้ขุย
แชร์ :
  • ขั้นตอนการอาบน้ำทารก ที่คุณแม่ทำเองได้ไม่ยาก อาบน้ำลูก การอาบน้ําทารกวันละกี่ครั้ง อาบน้ําทารกตอนไหนดี

    ขั้นตอนการอาบน้ำทารก ที่คุณแม่ทำเองได้ไม่ยาก อาบน้ำลูก การอาบน้ําทารกวันละกี่ครั้ง อาบน้ําทารกตอนไหนดี

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 17 ผดผื่นลูก

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 17 ผดผื่นลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ขั้นตอนการอาบน้ำทารก ที่คุณแม่ทำเองได้ไม่ยาก อาบน้ำลูก การอาบน้ําทารกวันละกี่ครั้ง อาบน้ําทารกตอนไหนดี

    ขั้นตอนการอาบน้ำทารก ที่คุณแม่ทำเองได้ไม่ยาก อาบน้ำลูก การอาบน้ําทารกวันละกี่ครั้ง อาบน้ําทารกตอนไหนดี

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 17 ผดผื่นลูก

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 17 ผดผื่นลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ