ความสำคัญของการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง

ระยะเวลาตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 5 ขวบเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์เรานั้นมีการเติบโตและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหลือเชื่อ ดังนั้น การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจะทำให้เขาฉลาดมากขึ้น เรามีเคล็ดลับการอ่านหนังสือให้ลูกฟังไปพร้อม ๆ กับการสร้างความสนุกในบทความนี้ด้วย

ความสำคัญของการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
การส่งเสียงตลก ๆ หรือไร้สาระเพื่อสร้างความบันเทิงสนุกสนานให้กับลูกของคุณนั้นสามารถทำได้เรื่อย ๆ ถ้าคุณไม่เหนื่อยเสียก่อน เพราะนี่เป็นเวลาที่คุณจะเริ่มพูดคุยกับลูกด้วยคำจริง ๆ และคุณสามารถเริ่มเล่าเรื่องราวหรือนิทานให้ลูกฟังได้แล้ว
ถ้าคุณเริ่มพูดคุยกับลูกตั้งแต่ที่เขายังอยู่ในท้องของคุณ ตั้งแต่ที่ยังไม่เห็นหน้ากัน มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นเมื่อคุณได้พบหน้ากันและพูดคุยกัน จนกระทั่งคุณได้อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
ลูกคุณจำเสียงคุณได้
มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าอัตราการเต้นของหัวใจตัวอ่อนที่อยู่ในท้องจะต่ำลงเมื่อแม่คุยกับเขา นี่หมายความว่าเสียงของแม่ช่วยทำให้ลูกในสงบลงได้ นอกจากนนี้ ตัวอ่อนจะตอบสนองต่อเรื่องราวที่เขาคุ้นเคย (เรื่องราวที่แม่เคยอ่านให้เขาฟังซ้ำ ๆ ตั้งแต่ที่เขายังอยู่ในท้อง) และลูกชอบที่จะฟังนิทานเดิม ๆ ที่แม่เคยเล่าหลังจากที่คุณคลอดเขาออกมาแล้ว ดังนั้นคุณควร “อ่านหนังสือให้ลูกฟัง”
ถึงแม้ว่าไม่มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เพื่อแสดงให้เห็นว่าเด็ก ๆ ชอบฟังนิทานที่คุณอ่านให้ฟัง แต่การอ่านหนังสือให้ลูกฟังนั้น (โดยเฉพาะเมื่อคุณเริ่มตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้อง) จะเป็นการเรียนรู้ทางสังคมกับคุณเป็นครั้งแรก และเริ่มสร้างสายใยรักระหว่างกันขึ้น เสียงของคุณจะกลายเป็นหนึ่งในสิ่งกระตุ้นแรก ๆ ที่เขาสามารถแยกแยะได้ว่าเป็นคุณ และนี่อาจกลายเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับแม่ที่อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่เขายังอยู่ในท้อง จริง ๆ แล้วคุณอาจเพียงแค่พูดคุยกับลูกก็ได้ แต่มันดูเหมือนแปลกหน่อย ๆ ใช่มั้ยล่ะ? หรือคุณอาจพูดไปเรื่อยเปื่อย แต่ข้อเสียคือคุณอาจลืมตัวจนเผลอพูดถึงสิ่งที่ทำให้คุณโกรธและกลายเป็นคนอารมณ์เสียไปได้
คลิปน้องต้นหอม วัย 4 ขวบที่สามารถจำเรื่องราวและความรู้ด้านวิชาการได้เป็นอย่างดี
มติชน TV รายงานข่าวน้องต้นหอม โดยได้สอบถามไปยังคุณแม่น้องต้นหอมว่าทำอย่างไรลูกจึงมีความจำดีเช่นนี้ จึงได้คำตอบว่าเป็นเพราะตอนที่ตั้งครรภ์จนลูกเกิดมา คุณแม่มักอ่านหนังสือให้น้องฟังอยู่เสมอ
หน้าถัดไป เคล็ดลับอ่านหนังสือให้ลูกฟัง >>>
ลองมาดูเคล็ดลับง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณอ่านหนังสือให้ลูกฟัง:
1. เลือกหนังสือที่คุณคิดว่าจะกลายเป็นหนังสือโปรดของลูก
อย่ากังวลไปหากคุณพบว่าลูกชอบให้คุณอ่านหนังสือเล่มเดิมให้ฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่าพยายามแนะนำหนังสือเล่มใหม่ให้เขาถ้าเขายังไม่พร้อมเปิดรับ เด็ก ๆ เรียนรู้จากการทำซ้ำ ๆ เขาอาจไม่เข้าใจเนื้อหาในหนังสือด้วยซ้ำแต่เขาชอบฟังเสียงของแม่และความคุ้นเคยกับคำที่คุณเคยอ่านให้เขาฟังซ้ำ ๆ ดังนั้น คุณควรเลือกหนังสือที่อ่านง่าย มีคำซ้ำ ๆ มันจะดีมากถ้าคำเหล่านั้นคล้องจองหรือเป็นคำสัมผัสเพื่อที่คุณจะได้อ่านเป็นเพลงหรือเป็นทำนองให้ลูกฟัง
2. เลือกหนังสือที่อ่านง่ายและมีรูปภาพที่ใหญ่
ลูกคุณชอบที่จะชี้นิ้วที่รูปภาพใหญ่ ๆ การอ่านหนังสือที่มีรูปภาพใหญ่ ๆ ประกอบและเป็นหนังสือที่ทำจากบอร์ดแข็ง ๆ ก็จะทำให้หนังสือไม่ขาดง่ายจากการที่ลูกคุณใช้นิ้วจิ้มไปที่หนังสือหรือกัดหนังสือ แต่คุณจะต้องดูด้วยว่าหนังสือที่คุณอ่านนั้นสะอาดหรือไม่ เพราะลูกมักจะเอาหนังสือเข้าปากอยู่เสมอ
3. คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มอ่านตั้งแต่หน้าแรกเสมอไป
คุณอาจข้ามไปที่หน้าที่ลูกชอบ มันอาจเป็นเพราะรูปภาพที่ทำให้ลูกชอบ หรืออาจเป็นเพราะท่าทางที่คุณแสดงออกหรือน้ำเสียงที่มากกว่าเดิมของคุณเมื่อคุณอ่านหน้านั้น ๆ หรืออาจเป็นเพราะการที่คุณใช้น้ำเสียงสำหรับตัวละครที่ต่างกัน เลียนเสียงสัตว์ หรือพูดเลียนเสียงรถไฟ นอกจากนี้ คุณอาจไม่จำเป็นต้องอ่านให้จบเรื่องก็ได้ เพราะเด็กยังไม่เข้าใจเนื้อเรื่องอยู่ดี
4. เพิ่มเรื่องราวในเรื่องเล่าของคุณ
เมื่อคุณอ่านหนังสือให้ลูกฟัง คุณไม่จำเป็นต้องอ่านทุกคำหรืออ่านให้ตรงกับคำที่ผู้แต่งเขียนเสมอไป คุณอาจเพิ่มเรื่องราวอื่น ๆ เสริมเข้าไปเพื่อให้คุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูก (ข้อนี้จะดีสำหรับเด็กที่สามารถตอบสนองหรือชี้นิ้วได้แล้ว) เช่น “ดูสิ นั่นไงลูกเป็ดตัวน้อย” “อ้าว แล้วลูกเป็ดตัวน้อยหายไปไหนล่ะ?” “อ๋อ..นั่นไงลูกเป็ดตัวน้อย ก๊าบ ก๊าบ” “ลูกเป็ดร้องว่าไงลูก?” หรือคุณอาจชี้ไปที่ภาพวาดหรือรูปภาพแล้วพูดว่า “อันนี้เป็นบ้าน และเป็นบ้านสีแดงด้วย” เป็นต้น
ในช่วง 5 ปีแรกของมนุษย์เรานั้นเป็นเวลาที่มนุษย์มีการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหลือเชื่อ การได้อ่านหนังสือให้ลูกฟังทำให้เขาได้เรียนรู้คำ สี ตัวเลข ตัวอักษร หรือรูปร่างเรขาคณิตต่าง ๆ จะช่วยพัฒนาเขาได้เป็นอย่างดี การได้อ่านหนังสือให้ลูกฟังอยู่เรื่อย ๆ จะทำให้ความคิดนี้ฝังอยู่ในใจของเด็ก และจะทำให้การอ่านกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งให้สังเกตว่าลูกคุณมีพฤติกรรมอย่างไรเมื่อเห็นหนังสือเล่มโปรดของเขาที่คุณอ่านให้ฟังทุกคืน เขาอาจหยิบหนังสือนั้นจากมือของคุณ ช่วยเปิดหน้าหนังสือ ชี้ไปที่รูปภาพ หรืออาจเซอไพรซ์คุณด้วยการพูด “ก๊าบ ก๊าบ” เมื่อเขาเห็นเป็ดก็เป็นได้