X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความผิดปกติที่ทำให้น้ำนมแม่เยอะเกินไป

บทความ 3 นาที
ความผิดปกติที่ทำให้น้ำนมแม่เยอะเกินไป

คุณแม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่างก็หวังให้ตัวเองมีน้ำนมเพียงพอให้ลูกน้อยกินไปนานๆ และมักจะแอบอิจฉาคุณแม่คนอื่นที่ปั๊มนมได้เยอะๆ เสมอ แต่ในอีกมุมหนึ่งของคุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะเกินไปกลับบอกว่า อย่าอิจฉาฉันเลย เป็นเพราะอะไร

เฟซบุ๊ค The Leaky [email protected]@b ได้โพสต์ภาพน้ำนมของคุณแม่ท่านหนึ่ง ซึ่งปั๊มนมได้มากเกือบ 30 ออนซ์ใน 45 นาที คุณแม่หลายท่านอาจจะร้องโอ้โห น่าอิจฉาจัง แต่คุณแม่กลับไม่ยินดีเลยที่มีนมแม่เยอะขนาดนี้ เธอเล่าว่าการมีน้ำนมเยอะทำให้เธอประสบปัญหาในการให้นม

  • เต้านมไวต่อความรู้สึก เพียงโอบกอดลูกน้อย หรือสัมผัสถูกเต้านมก็รู้สึกเจ็บแล้ว
  • เมื่อน้ำนมเต็มเต้า คุณแม่จะรู้สึกคัดและเจ็บปวดมาก และเป็นวันละหลายรอบ
  • ท่อน้ำนมอุดตันได้ง่าย
  • ใช้เวลานานในการทำให้นมเกลี้ยงเต้า
  • หัวนมแตก และมีน้ำนมซึมออกมาตลอด
  • ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสรรพคุณเพิ่มน้ำนม
  • มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่โรคเต้านมอักเสบ

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ คุณแม่เพิ่งตรวจพบ “เนื้องอกต่อมใต้สมอง” ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับโปรแลคตินสูงผิดปกติ  ทำให้ร่างกายไม่ตอบสนองต่อความพยายามในการลดปริมาณน้ำนม

เรามาทำความรู้จักเนื้องอกต่อมใต้สมองกันค่ะ ว่ามันคืออะไร? และเป็นอันตรายหรือไม่?

รู้จัก “เนื้องอกต่อมใต้สมอง”

นพ.ศรัณย์  นันทอารี  อาจารย์สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์  ภาควิชาศัลยศาสตร์  คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า  ต่อมใต้สมองเป็นส่วนเล็กๆ ของสมอง ที่อยู่บริเวณฐานกะโหลก มีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนชนิดต่างๆ เช่น ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมน้ำนม เมื่อต่อมใต้สมองกลายเป็นเนื้องอกอาจมีอาการแสดงออกได้หลายรูปแบบ  ขึ้นอยู่กับว่าเนื้องอกนั้นผลิตฮอร์โมนชนิดใด

ในกรณีที่เนื้องอกนั้นผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมน้ำนม ในผู้หญิงจะมีอาการขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีบุตรยาก อาจมีน้ำนมไหล  ทั้งๆ ที่ไม่ได้ให้นมบุตร ความรู้สึกทางเพศลดลง และมีน้ำนมไหลโดยที่ไม่ได้ให้นมบุตร ด้วยเหตุนี้เองทำให้คุณแม่ที่ให้นมบุตรอยู่อาจมีน้ำนมไหลมากผิดปกติ

การรักษา

นพ.ศรัณย์  กล่าวว่า เนื้องอกต่อมใต้สมองจัดว่าเป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง และมีการเจริญเติบโตช้า แพทย์มักรักษาด้วยการผ่าตัด ถ้าก้อนไม่ใหญ่มากสามารถผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้

สำหรับเนื้องอกต่อมใต้สมองบางอย่าง โดยเฉพาะเนื้องอกต่อมใต้สมองชนิดที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นต่อมน้ำนม สามารถให้ผู้ป่วยกินยาต้านฮอร์โมนแทนการผ่าตัดได้ ก้อนเนื้องอกมักจะมีขนาดเล็กลงหลังจากได้ยา รวมทั้งน้ำนมที่ไหล ก็จะหยุดไป และประจำเดือนสามารถกลับมาเป็นปรกติ แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องกินยาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เนื่องจากว่าเมื่อหยุดกินยาเนื้องอกก็จะโตกลับขึ้นมาใหม่

การฉายรังสีมักจะเลือกใช้เป็นวิธีสุดท้ายเมื่อเนื้องอกนั้นไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมดและไม่สามารถใช้ยาต้านฮอร์โมนได้ โดยการฉายรังสีจากช่วยชะลอหรือยับยั้งไม่ให้เนื้องอกนั้นโตกลับขึ้นมาใหม่

 

หากคุณแม่เป็นคนหนึ่งที่มีน้ำนมเยอะเกินไป และมีอาการเช่นเดียวกับที่คุณแม่ท่านนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาเนื้องอกต่อมใต้สมองนะคะ

ที่มา เฟซบุ๊ค The Leaky [email protected]@b

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.si.mahidol.ac.th

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

9 ปัญหายอดนิยม กับทางแก้ของแม่ให้นม

รับมือกับปัญหาน้ำนมเยอะเกินความต้องการ

TAP mobile app

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ความผิดปกติที่ทำให้น้ำนมแม่เยอะเกินไป
แชร์ :
  • สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป จากปัญหานมแม่มากเกินไป พร้อมวิธีแก้ปัญหา!

    สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป จากปัญหานมแม่มากเกินไป พร้อมวิธีแก้ปัญหา!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป จากปัญหานมแม่มากเกินไป พร้อมวิธีแก้ปัญหา!

    สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป จากปัญหานมแม่มากเกินไป พร้อมวิธีแก้ปัญหา!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ