ความจริงตอนตั้งครรภ์ เรื่องอะไร? ที่แม่ท้องต้องกลัว
ความจริงตอนตั้งครรภ์ แม่ท้องส่วนใหญ่จะรู้สึกตื่นเต้น และมักจะมีความกังวล คุณแม่บางคนอาจกังวลว่าลูกจะคลอดออกมามีสุขภาพดีหรือไม่ หรือกังวลว่าจะแท้งหรือไม่ หรือจะทนความเจ็บปวดได้หรือไม่ หรือจะให้นมลูกได้หรือไม่ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่จริงๆ แล้ว ความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตั้งครรภ์นั้นค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่สุขภาพแข็งแรง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การรับมือกับความกังวลนั้น ต้องพยายามเปลี่ยนความคิดแง่ลบ “คุณควรเชื่อหลักฐานที่หักล้างความวิตกได้” ซาริ เชปเพิร์ด นักจิตวิทยาในลอสแอนเจลิสกล่าว
และต่อไปนี้คือผลวิจัยเกี่ยวกับ ความจริงตอนตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องกังวล และวิธีการเอาชนะความกังวล และเพิ่มโอกาสให้คุณและลูกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
#1 ความพิการแต่กำเนิด (78%)
ข้อเท็จจริง เด็กทุกๆ 97 คน จาก 100 คนที่เกิดในสหรัฐอเมริกาเกิดมาปกติและไม่มีความพิการ เช่น กระดูกสันหลังผิดปกติ หรือดาวน์ซินโดรม ความพิการแต่กำเนิด เช่น โรคเท้าปุก พังผืดระหว่างนิ้วเท้า หรือโรคหัวใจที่เป็นปัญหาเล็กและรักษาได้ “สมัยนี้ การผ่าตัดมีมากมายและรักษาได้หลายโรค” ริชาร์ด โอลนีย์ แพทย์ด้านพันธุกรรมคลินิก แห่ง National Center on Birth Defects and Developmental Disabilities ในแอตแลนตากล่าวไว้
หากคุณไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โอกาสที่คุณจะมีลูกที่มีความพิการแต่กำเนิดนั้นต่ำมาก ปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วยเบาหวาน โรคลมชัก สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม 70% ของความพิการแต่กำเนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
สิ่งที่คุณทำได้ ทำตัวเหมือนคุณท้องทันทีที่ตัดสินใจจะมีลูก (หรืออาจจะก่อนหน้านั้น ครึ่งหนึ่งของการตั้งครรภ์ในสหรัฐไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน) “ความพิการในทารกจะเริ่มขึ้นในช่วงอาทิตย์แรกหรือ 2 อาทิตย์หลังจากที่ประจำเดือนขาดไป” นายแพทย์ไมเคิล ลู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสูตินรีและพันธุกรรม แห่ง David Geffen School of Medicine มหาวิทยาลัย University of California, Los Angeles ระบุว่าการรอจนถึงคุณตั้งครรภ์อาจสายเกินไป
รับประทานกรดโฟลิกอย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม เพื่อลดความเสี่ยงความพิการทางสมอง เช่น กระดูกสันหลังผิดปกติ แม่ท้องควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงปลาที่มีสารปรอท หยุดดื่มเหล้า หยุดสูบบุหรี่ หรือหยุดกินยาที่ซื้อเอง ห้ามรับประทานอาหารที่ไม่สุก และเปลี่ยนที่นอนของแมว (ทั้งสองปัจจัยนำให้เกิดการติดเชื้อจากสัตว์ ซึ่งส่งผลต่อความพิการของลูก) ลดน้ำหนักหากจำเป็น และพยายามให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ
#2 แท้ง (75%)
ข้อเท็จจริง ความเสี่ยงในการแท้งอาจน้อยกว่าที่คุณคิด สำหรับผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 35 ปี มีความเสี่ยง 12% ส่วนผู้หญิงอายุ 35 – 39 ปี มีความเสี่ยง 18% (และความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 34% หากอายุ 40 – 44 ปี) การแท้งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อแม่ไม่ทราบว่ามีลูกในท้อง หากคุณเห็นหัวใจลูกเมื่ออัลตราซาวน์ (ประมาณอาทิตย์ที่ 6 – 7) โอกาสแท้งจะลดลงเหลือ 5% นายแพทย์ลูกล่าว
สิ่งที่คุณทำได้ จำไว้ว่าการแท้งเกิดขึ้นเพราะความผิดปกติของโครโมโซมที่ไม่สามารถป้องกันได้ งานวิจัยระบุว่าการออกกำลังกาย การมีเพศสัมพันธุ์ หรือยกของหนักทำให้แท้งได้ การศึกษาล่าสุดระบุว่าการดื่มกาแฟตั้งแต่ 2 แก้ขึ้นไปทุกวัน เพิ่มความเสี่ยง และทำให้เกิดการติดเชื้อ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเหงือก
#3 เครียดเกินไป (74%)
ข้อเท็จจริง ความเครียดที่พบทุกวัน เช่น การทำงานจนดึก รถติด หรือทะเลาะกับสามีไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์และลูก แต่ความเครียดที่ต่อเนื่องในเรื่องใหญ่ๆ ที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการคลอด หรือทำให้ทารกมีน้ำหนักน้อย หรือลูกอาจมีปัญหาด้านนิสัยในระยะยาว
“หากคุณมีความเครียด เช่น เข้ากับเพื่อนร่วมงานหรือคนรักไม่ได้ นั่นอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์” ศาสตราจารย์ทอม โอคอนเนอร์ ภาควิชาจิตวิทยา University of Rochester Medical Center ในนิวยอร์กกล่าว “หากคุณไม่ได้เครียดถึงขั้นที่กล่าวมา ก็ไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์”
สิ่งที่คุณทำได้ สำหรับความเครียดระยะยาวหรืออารมณ์แปรปรวน แม่ท้องควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง ซึ่งสามารถสอนวิธีการรับมือ เช่น ถามคำถามว่าความกังวลเกิดจากอะไร ผู้เชี่ยวชาญสามารถสอนวิธีการออกกำลังกาย เพื่อช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียด คุณสามารถออกกำลังกายด้วยการหายใจที่สอนในห้องเรียนการคลอด หรือฝึกการหายใจลึกๆ คิดถึงความกังวลเมื่อหายใจเข้า และคิดถึงภาพของคุณปล่อยความกังวลเมื่อหายใจออก คุณสามารถพูดว่า “ช่างมัน” เมื่อคุณหายใจออก
#4 การคลอดก่อนกำหนด (71%)
ข้อเท็จจริง การคลอดก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่แม่ท้องหลายคนกังวล 12% ของเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ซึ่ง 70% คลอดระหว่างสัปดาห์ที่ 34 – 37 ซึ่งเด็กที่คลอดช่วงหลังนี้ ก็ยังมีความเสี่ยง แต่น้อยกว่าเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ปัจจัยความเสี่ยงของเด็กคลอดก่อนกำหนดนั้นเกิดจากการคลอดก่อนกำหนดหลายครั้ง การตั้งครรภ์ลูกหลายคน หรือความผิดปกติของมดลูกหรือปากมดลูก
สิ่งที่คุณทำได้ ปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดคือโรคอ้วน ความดันสูง และโรคเบาหวาน ดังนั้น แม่ควรมีน้ำหนักตามเกณฑ์ ระดับน้ำตาลและความดันปกติ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า ควรมีภูมิคุ้มกันครบถ้วน และหากมีการติดเชื้อ ต้องรักษาอย่างถูกวิธี เพราะการติดเชื้อสามารถทำให้คลอดก่อนกำหนด ความเครียดระยาวก็ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดเช่นกัน เพราะฉะนั้นควรดูแลความวิตกและอารมณ์แปรปรวน ควรใช้ยาคลายเครียดที่ปลอดภัยสำหรับการตั้งครรภ์ และปรึกษาแพทย์ว่ายาชนิดใดเหมาะสำหรับคุณ
#5 ความเจ็บปวดจากการคลอด (70%)
ข้อเท็จจริง การคลอดนั้นมีความเจ็บปวดแน่นอน ผู้หญิงส่วนใหญ่ให้คะแนนความเจ็บปวดจากการคลอด 7 หรือ 8 จากคะแนนเต็ม 10 คุณสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยา มีวิธีมากมายที่คุณสามารถบรรเทาความเจ็บปวดหรือความกังวล เช่น การคลอดในน้ำ เปลี่ยนท่าระหว่างคลอด หรือฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น ใช้จินตนาการ
สิ่งที่คุณทำได้ ขั้นแรก คุณควรเรียนรู้วิธีการคลาดปวด หากคุณพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยา การวิจัยระบุว่าคุณสามารถใช้วิธีธรรมชาติ ด้วยการกระตุ้นลมหายใจ พูดคุยกันระหว่างคลอด และไม่มีสิ่งกระตุ้นความปวด คุณแม่ควรรู้ว่าจะเจอกับอะไร เพราะการไม่รู้ทำให้เกิดความกังวล “หากคุณรู้สาเหตุความเจ็บปวด จะช่วยบรรเทาความกังวล” เอริกา บลีเบิร์ก โค้ชการคลอด ในเกลนริจ์ รัฐนิวเจอร์ซีย์กล่าว ความกังวลทำให้เกิดความเครียด และทำให้หายใจลำบากขึ้นและความเจ็บปวดมากขึ้น คุณควรลงคอร์สสอนคลอดแต่เนิ่นๆ
ควรมีแผนการคลอด แต่อย่าเพิ่งตัดสินใจเร็ว “ผู้หญิงจะผิดหวัง หากต้องเปลี่ยนแผน” วองกล่าว ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าจะรับมือกับความเจ็บปวดอย่างไร ให้รอจนกว่าคุณจะทนไม่ไหว ซึ่งอาจใช้เวลา 20 – 30 นาที ตั้งแต่ที่คุณขอยา กว่าที่ความเจ็บปวดจะบรรเทา
ติดตามต่อหน้าถัดไป>>
#6 การให้นมลูก (60%)
ข้อเท็จจริง คุณอาจเคยได้ยินดารารายการเรียลิตีเบเธนีย์ แฟรงเคล (หรือเพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัว) พูดว่าการให้นมลูกเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในโลก ความจริงคือมากกว่า 90% ของแม่สามารถให้นมลูกได้ หากมีความอดทน ได้รับการสนับสนุน และไม่คาดหวังมากเกินไป แม่ส่วนใหญ่คิดว่าการให้นมจะเป็นไปได้ในทันที แต่แม่หลายคนเป็นกังวลว่าจะไม่สามารถให้นมได้ “ใช้เวลา 2 – 3 เดือนกว่าที่แม่และเด็กจะเข้ากันได้ รวมทั้งกว่าที่นมจะเหมาะกับเด็ก” แพทย์หญิงลอรา วีห์แมนน์ กุมารแพทย์ในพอทักเค็ต รัฐแมรีแลนด์กล่าว
สิ่งที่คุณทำได้ ก่อนคลอด ให้จินตนาการภาพคุณมีความสุขในการเลี้ยงลูก มีที่ปรึกษาด้านการให้นมนมพร้อมให้คำแนะนำ ควรเข้ากลุ่มแม่ให้นมก่อนที่ลูกจะเกิด “แม่ที่เข้ากลุ่มกับแม่ให้นมจะสามารถให้นมได้” วีห์แมนน์กล่าว
เจ็บหัวนมคือเหตุผลที่แม่เลิกให้นม และอาการนี้สามารถป้องกันได้จากเทคนิคให้นมที่ถูกต้อง หากคุณเจ็บปวดเพียงเล็กน้อย ควรหาความช่วยเหลือทันที
ข้อกังวลอีกข้อคือ แม่กลัวว่าจะมีน้ำนมไม่พอ เพราะคาดหวังมากไป เด็กทารกเกิดใหม่ดื่มนมเพียง 11 ออนซ์ในวันแรก และไมกี่ออนซ์ในวันต่อๆ มา เพราะคุณจะผลิตน้ำนมเหลือง นมที่มีแคลอรีมาก และมีความเข้มข้น ก่อนจะผลิตนมได้ตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นไป
สุดท้าย พยายามอยู่กับคนที่มีความคิดบวกและพร้อมให้กำลังใจให้คุณให้นม “การให้นมจะยากมาก หากคนรอบตัวคุณบอกให้คุณให้นมจากขวด” วีห์แมนน์กล่าว
#7 ลดน้ำหนักจากการตั้งครรภ์ (59%)
ข้อเท็จจริง เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะ 41% ของแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์ และหลายคนน้ำหนักเกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
สิ่งที่คุณควรทำ ยึดเกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักระหว่างการตั้งครรภ์ และคุณจะลดน้ำหนักได้ง่าย หากน้ำหนักของคุณปกติ (BMI 18.5 – 24.9) ควรมีน้ำหนักเพิ่ม 10 – 14 กิโลกรัม หากคุณน้ำหนักน้อย (BMI น้อยกว่า 18.5) ควรมีน้ำหนักเพิ่ม 11 – 16 กิโลกรัม หากคุณน้ำหนักเกิน (BMI 25 – 29.9) ควรมีน้ำหนักเพิ่ม 6 – 10 กิโลกรัม หากคุณเป็นโรคอ้วน (BMI มากกว่า 30) ควรมีน้ำหนักเพิ่ม 4 – 8 กิโลกรัม ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าแม่ที่เป็นโรคอ้วนควรมีน้ำหนักเพิ่มประมาณ 4 กิโลกรัม
พยายามออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ เริ่มออกกำลังหลังคลอดทันทีที่หมออนุญาต การศึกษาระบุว่าอาหารและการออกกำลังกาย โดยรับประทานปลาทูน่ากระป๋อง หรืออาหารทะเลที่มีปรอทต่ำ เช่น กุ้ง ปลาแซลมอน ปลาดุก ปลาซาร์ดีน และแอนโชวี 12 ออนซ์ช่วยให้ลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น และหากคุณให้นมลูกช่วง 6 เดือนแรก ก็ช่วยให้น้ำหนักลดได้เร็วในช่วงนี้เช่นกัน
#8 ไปโรงพยาบาลให้ทันเวลา (55%)
ข้อเท็จจริง แม้คุณจะเคยได้ยินข่าวคลอดบนแท็กซี่หรือในห้องน้ำ แต่กรณีเช่นนี้เป็นไปได้น้อยมาก จากการศึกษาในอังกฤษ มีเด็ก 137 คน จาก 31,140 คน ที่คลอดระหว่างทางมาโรงพยาบาลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งโอกาสมีน้อยกว่า 1% คุณแม่ควรมีเวลาเตรียมตัวโดยเฉพาะการคลอดครั้งแรก เมื่อปากมดลูกเปิด 4 เซนติเมตร (ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าคุณควรเดินทางไปโรงพยาบาล) ซึ่งคุณยังมีเวลาคลอด 6 ชั่วโมงในช่วงแรก (เมื่อปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร) และยังมีเวลาอีก 2 ชั่วโมงในการเบ่งคลอด
สิ่งที่คุณควรทำ ผู้หญิงหลายคนไม่ควรกังวล หากปฏิบัติตามคำแนะนำด้านบน หากคุณคลอดก่อนกำหนดมาก่อน และอยู่ห่างจากโรงพยาบาล คุณควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ
ที่มา fitpregnancy
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!