X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ข้อเท็จจริงและอันตรายจากภาวะรกค้างในมดลูก

บทความ 5 นาที
ข้อเท็จจริงและอันตรายจากภาวะรกค้างในมดลูกข้อเท็จจริงและอันตรายจากภาวะรกค้างในมดลูก

เคยสงสัยไหมว่าการคลอดรกคืออะไร ทำไมต้องคลอดรก ถ้าไม่ทำหรือรกค้างในมดลูกจะเกิดอะไรขึ้น เราลองมาดูข้อเท็จจริงและอันตรายจากภาวะรกค้างในมดลูกเพื่อไขปริศนานี้กัน

ข้อเท็จจริงและอันตราย จากภาวะรกค้างในมดลูก

หลังจากคลอดลูกน้อยออกมาก็นับว่างานหนักของคุณผ่านพ้นไปเกือบหมดแล้ว แต่การคลอดยังไม่สิ้นสุดลงนะคะ คุณยังต้องคลอดรกซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตลูกน้อยตอนอยู่ในครรภ์ออกมาในระยะที่สามของการคลอดซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายด้วย ถ้าคุณโชคดี รกจะตามหลังลูกน้อยออกมาติด ๆ แต่ส่วนมากแล้วจะไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อต้องคลอดรก คุณสามารถเลือกได้ว่าจะคลอดเองตามธรรมชาติหรือใช้การกระตุ้นช่วยเหลือ เราได้กล่าวถึงความแตกต่างของการคลอดรกทั้งสองแบบนี้ไว้ในอีกบทความหนึ่ง แต่หากคุณเลือกคลอดรกด้วยวิธีธรรมชาติ กระบวนการในขั้นตอนนี้อาจกินเวลาตั้งแต่ 20-50 นาที

ข้อเท็จจริงและอันตรายจากภาวะรกค้างในมดลูก,คลอดรกคืออะไร,ทำไมต้องคลอดรก

ข้อเท็จจริงและอันตรายจากภาวะรกค้างในมดลูก

 

สัญญาณของภาวะรกค้าง

เมื่อคลอดรกแล้ว มดลูกจะเริ่มหดรัดตัวเพื่อปิดเส้นเลือดทั้งหมดและเตรียมกลับสู่สภาพปกติ ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของรกค้างอยู่ มดลูกจะไม่สามารถหดรัดตัวได้ ทำให้แผลไม่สมาน ตกเลือดไม่หยุดและคุณจะสังเกตได้ว่ามีเลือดออกหลังคลอดรกออกมาด้วย

นอกจากเลือดออกมากทางช่องคลอด คุณยังอาจมีไข้สูง ถ้ามีรกค้างในมดลูก ร่างกายจะเริ่มแสดงอาการในสองสามวันหลังคลอด เลือดจะเป็นสีแดงสด ไหลต่อเนื่องไม่หยุดหรือทะลักออกมาเป็นระลอกและอาจนำไปสู่การติดเชื้อ แต่กรณีเช่นนี้มีน้อยมาก ภาวะรกค้างเกิดขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 1 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด

สาเหตุของภาวะรกค้าง

สาเหตุของภาวะรกค้างมีอยู่ 3 ประการ

  • มดลูกหยุดหดรัดตัวหรือหดรัดไม่มากพอที่จะลอกรกออกจากผนังมดลูก
  • รกอาจลอกจากผนังมดลูกทั้งหมด แต่ติดอยู่ตรงปากมดลูกที่เริ่มปิด
  • กระเพาะปัสสาวะที่เต็มอาจขวางทางรกไว้ แต่ตามปกติ แพทย์จะใช้สายสวนปัสสาวะออกมาอยู่แล้ว

การรักษาภาวะรกค้าง

วิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะรกค้าง ในหลายๆ กรณี แพทย์จะฉีดฮอร์โมนอ็อกซิโทซิน (Oxytocin) ทางเส้นเลือดเพื่อเร่งมดลูกให้หดรัดตัวและขับรกส่วนที่ค้างออกมา วิธีการนี้มักได้ผล แต่ถ้ารกยังไม่ออกมา แพทย์ต้องช่วยเอาออกมาด้วยมือ แต่ไม่ต้องวิตกนะคะ วิสัญญีแพทย์จะฉีดยาชาให้คุณในบริเวณนั้นเพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บปวด

หากมีเลือดออกมากเป็นเวลานานหลายวันหลังคลอด แพทย์จะใช้อัลตราซาวด์ตรวจหาลิ่มเลือดหรือส่วนของรกที่ตกค้าง ในกรณีนี้ คุณต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ช่วยนำรกออก จริงอยู่ว่านี่เป็นกระบวนการที่ อาจทำให้คุณไม่สบายทั้งกายและใจแต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นและจะเสร็จสิ้นลงอย่างรวดเร็ว

รกค้าง ภาวะเสี่ยงเฉียบพลันสำหรับคุณแม่หลังคลอด แม้จะคลอดทารกออกมาแล้ว แต่หากไม่คลอดรก ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เรามาทราบถึงความเสี่ยง อาการ และความผิดปกติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น และแนวทางที่จะช่วยให้คุณแม่ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง หากต้องตกอยู่ใน ภาวะรกค้าง

“รก” สายใยแม่และลูก

รกเป็นอวัยวะพิเศษของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ที่ถูกสร้างมาพร้อม ๆ กับทารก โดยหลังจากคุณแม่ตั้งครรภ์ร่างกายจะเริ่มสร้างเซลล์ 2 ส่วนไปพร้อมกัน ส่วนที่  1 คือ เซลล์ที่ประกอบกันเป็นทารก และอีกส่วน คือ  รก ซึ่งเกาะอยู่ด้านในผนังมดลูก โดยรกประกอบด้วย สายสะดือ เยื่อหุ้มรก และเนื้อรก หน้าที่สำคัญของรก ได้แก่ การส่งผ่านเลือด ลำเลียงอาหารและอากาศ ขับถ่ายของเสีย และสร้างฮอร์โมนเพื่อความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารก และระบบการตั้งครรภ์ เช่น สารภูมิคุ้มกันและต้านทานโรคต่าง ๆ ฮอร์โมนกระตุ้นการผลิตน้ำนม ฮอร์โมนที่ช่วยลดความเจ็บปวดในการคลอดและลดความเสี่ยงในการแท้งอีกด้วย

รู้หรือไม่? คลอดลูกแล้ว ต้องคลอดรก

ขั้นตอนในการคลอดลูกตามธรรมชาติแล้ว เมื่อครรภ์พร้อมคลอด ปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร ทารกจะค่อย ๆ เคลื่อนออกมาทางช่องคลอด ตามแรงเบ่งของคุณแม่ หลังจากทารกคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์ประมาณ 5-10 นาที จะมีการคลอดรกก็คือ มีรกและเยื่อหุ้มทารกหลุดตามออกมาทางช่องคลอด แต่หากคลอดทารกเกิน 30 นาที แต่รกยังไม่คลอดออกมา นั่นเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึง ภาวะรกค้าง ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการทำคลอดรกต่อไป

แค่ รกค้าง ถึงตาย จริงหรือ??

ภาวะรกค้างสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ รกค้างทั้งรก ที่อาจจะเกิดจากความผิดปกติของมดลูก เช่น รกลอกตัวไม่สมบูรณ์ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อปากมดลูก ทำให้รกคลอดออกมาเองไม่ได้ หรือความผิดปกติจากการหดรัดตัวของมดลูกเอง ซึ่งหากรกไม่คลอดออกมา รกนั้นจะไปขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกหลังคลอด ทำให้เลือดไหลไม่หยุด เกิดภาวะตกเลือดจนเสียชีวิตได้ ในการรักษาคุณหมอจะทำการคลอดรกด้วยการฉีดฮอร์โมน เพื่อเร่งรกส่วนที่ค้างอยู่ให้หลุดลอกออกมา แต่หากไม่สำเร็จอาจจะต้องทำการล้วงรกเพื่อให้รกหลุดออกมาอย่างสมบูรณ์

ส่วน รกค้าง เพียงบางส่วน จากเศษรกที่ออกมาไม่หมดแล้วตกค้างอยู่ในโพรงมดลูก ทำให้เกิดการติดเชื้อ และเข้าสู่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบตามมา คุณหมอจะทำการอัลตร้าซาวน์เพื่อหาเศษรกที่ติดอยู่ภายใน และทำการขูดมดลูก เพื่อกำจัดเศษรก และรักษาการติดเชื้อต่อไป จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะรกค้างทั้งรก หรือเศษรกค้างบางส่วนก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้จริง ๆ

คลอดธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอด แบบไหนปลอดภัยจาก รกค้าง

คุณแม่หลายคนคงสงสัยว่า วิธีการคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด วิธีไหนมีความเสี่ยงต่อภาวะรกค้างน้อยกว่ากัน ในความเป็นจริงภาวะรกค้าง มีสาเหตุและปัจจัยจากสุขภาพร่างกายและมดลูกของคุณแม่เป็นทุนเดิม เช่น เคยผ่าคลอดมาก่อน มีภาวะรกลอกยาก รกเกาะต่ำ มีความเสี่ยงจากการแท้งมาก่อน เป็นต้น ดังนั้น วิธีการคลอดจะด้วยการคลอดตามธรรมชาติ หรือการผ่าคลอด จึงอาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องต่อความเสี่ยงจากภาวะรกค้าง

คุณแม่ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะรกค้าง

  • คุณแม่ที่เคยผ่าคลอด มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดเศษรกค้างจากรกฝังตัวแน่น ทำให้ในการคลอดรก อาจจะคลอดยากหรือคลอดไม่สมบูรณ์ และมีเศษรกค้างได้
  • ตรวจพบว่ามีภาวะรกเกาะต่ำ คือ รกลงมาเกาะอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูก เมื่อคลอดทารกแล้ว รกไม่คลอดตามมา ทำให้เลือดไหลไม่หยุดและเกิดภาวะตกเลือด
  • เคยขูดมดลูกมาก่อน คุณแม่ที่เคยขูดมดลูกมาก่อนจะมีความเสี่ยง เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกจะบาง ทำให้รกที่สร้างมาใหม่ เกาะแน่นผิดปกติ รกจึงคลอดยาก
  • การติดเชื้อในเยื่อบุโพรงมดลูกจากการแท้ง ทำให้เนื้อเยื่อรกไม่แข็งแรง ฉีกขาดง่าย และส่งผลให้รกไม่สามารถคลอดออกมาได้เอง
  • คุณแม่ที่เคยรกค้างในครรภ์มาจากการท้องก่อนหน้านี้ ย่อมมีความเสี่ยงต่อภาวะรกค้างในการท้องครั้งต่อ ๆ ไป

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถพบได้จากการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ เช่น ความผิดปกติของมดลูกจากการตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ การแท้งที่มีสาเหตุจากมดลูก คุณแม่อายุมาก หรือจากโรคประจำตัวของคุณแม่ เป็นต้น

กินรกตัวเองดีจริงหรือ?

https://www.amarinbabyandkids.com/pregnancy/retained-placenta-problem/

ข้อเท็จจริงและอันตราย จากภาวะรกค้างในมดลูก

บทความจากพันธมิตร
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ข้อเท็จจริงและอันตรายจากภาวะรกค้างในมดลูก
แชร์ :
  • 12 ข้อเท็จจริงเเปลกๆ ที่พ่อแม่มือใหม่ไม่เคยรู้มาก่อน

    12 ข้อเท็จจริงเเปลกๆ ที่พ่อแม่มือใหม่ไม่เคยรู้มาก่อน

  • รู้ไว้ซะ!! 6 วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำ

    รู้ไว้ซะ!! 6 วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำ

  • 7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

    7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • 12 ข้อเท็จจริงเเปลกๆ ที่พ่อแม่มือใหม่ไม่เคยรู้มาก่อน

    12 ข้อเท็จจริงเเปลกๆ ที่พ่อแม่มือใหม่ไม่เคยรู้มาก่อน

  • รู้ไว้ซะ!! 6 วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำ

    รู้ไว้ซะ!! 6 วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำ

  • 7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

    7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ