X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ข้อดี ข้อเสียของ การทำอัลตร้าซาวด์

บทความ 3 นาที
ข้อดี ข้อเสียของ การทำอัลตร้าซาวด์

อยากรู้กันไหมคะว่า การทำอัลตร้าซาวด์นั้นดีอย่างไร ช่วยอะไรได้บ้าง และนอกจากข้อดีแล้ว ยังมีข้อเสียอะไรหรือไม่?

ข้อดี ข้อเสียของ การทำอัลตร้าซาวด์ มีอะไรบ้าง

คงไม่ต้องอธิบายกันแล้วว่า อะไรคือการทำ การทำอัลตร้าซาวด์ และการทำอัลตร้าซาวด์นั้นมีกี่วิธี เพราะพวกเราทุกคนต่างก็รู้ดี แต่สิ่งที่จะพูดถึงวันนี้ก็คือ ข้อดีและข้อเสียของการทำอัลตร้าซาวด์ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบกัน

การทำอัลตร้าซาวด์

การทำอัลตร้าซาวด์

ข้อดีของการทำอัลตร้าซาวด์ ได้แก่

  • การทำอัลตร้าซาวด์เพื่อดูเพศทารก คุณพ่อคุณแม่สามารถทราบว่า ทารกในครรภ์เป็นเพศอะไร เมื่อมีอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ แต่ถ้าจะให้แม่นยำ ช่วงอายุที่ครรภ์ที่ดีที่สุดก็คือ 16 สัปดาห์ไปแล้วค่ะ
  • การทำอัลตร้าซาวด์ช่วยให้คุณหมอสามารถกำหนดวันคลอดของคุณแม่ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับคุณแม่ที่ไม่ทราบวันที่มีประจำเดือนวันสุดท้ายไม่ได้
  • สามารถช่วยดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ว่ามีภาวะการเจริญเติบโตช้าหรือไม่ ซึ่งจะสามารถตรวจได้ใน ไตรมาส 3
  • สามารถตรวจความผิดปกติของกระดูกทารในครรภ์ได้ว่า มีภาวะกระดูกบางผิดปกติ หรือเป็นคนแคระหรือไม่ เป็นต้น
  • การทำอัลตร้าซาวด์สามารถทำให้คุณพ่อคุณแม่ทราบได้ว่า ทารกในครรภ์เป็นฝาแฝดหรือไม่
  • ช่วยในการดูตำแหน่งของรกว่า อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย และรกต่ำหรือไม่
  • ช่วยในการตรวจวัดเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ได้ เป็นต้น
  • การทำอัลตร้าซาวด์

ข้อเสียของการทำอัลตร้าซาวด์นั้น มีหลากหลายแง่มุมเลยละค่ะ นักวิทยาศาตร์บางท่านบอกว่า การทำอัลตร้าซาวด์มากเกินไปนั้น ไม่ดีต่อทารกในครรภ์ บ้างก็บอกว่า ทำเกิน 2 ครั้งเพราะจะเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ไม่มีบทพิสูจน์ใดสามารถยืนยันได้ว่า การทำอัลตร้าซาวด์นั้น ส่งผลเสียกับทารกในครรภ์จริง ๆ แต่ที่แน่ ๆ ข้อเสียของการทำอัลตร้าซาวด์ก็คือ ราคาแพงนั่นเองค่ะ หรือคุณพ่อคุณแม่คิดว่าอย่างไรคะ

หลายคนรู้จักเครื่องอัลตราซาวด์กันอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็จะรู้จักกันในมุมแค่เพียงว่า เครื่องอัลตราซาวด์ใช้สำหรับตรวจทารกในครรภ์เท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ข้อดีของเครื่องอัลตราซาวด์นั้น ยังมีมากมายหลายด้านที่ไม่ใช่แค่การตรวจทารกในครรภ์เพียงอย่างเดียว การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ เหมาะกับการตรวจโรคที่ไม่ซับซ้อน ตรวจเบื้องต้นเพื่อคัดกรอง หรือติดตามผลการรักษา

อัลตราซาวด์ เป็นคลื่นเสียง ที่ทางการแพทย์นำมาใช้ทั้งวินิจฉัยทารกในครรภ์ โดยคุณสมบัติที่เด่นของเครื่องอัลตราซาวด์ คือการที่สามารถแสดงผลการตรวจ หรือผลการวินิจฉัยออกมาได้ทั้งในรูปแบบภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว แม้ความคมชัด หรือความชัดเจนของภาพจะไม่เท่ากับเครื่องเอกซเรย์ต่าง ๆ แต่เครื่องอัลตราซาวด์ก็ถือว่าเป็นเครื่องที่เพียงพอ เป็นประโยชน์ และเหมาะกับโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยเครื่องอัลตราซาวด์นี้ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขนย้ายได้สะดวก และสามารถตรวจได้ใกล้ ๆ ข้างเตียงคนไข้ได้เลย

ข้อดีของเครื่องอัลตราซาวด์ ได้แก่

1. เคลื่อนย้ายได้สะดวก

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย

3. มีผลข้างเคียงน้อย

4. ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เด็กอ่อน เด็กทารกได้

5. ได้ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว

6. การตรวจไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด

ปัจจุบันยังไม่มีข้อห้าม และยังไม่มีรายงานผลข้างเคียง จากการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ แต่มีบางคนแพ้เจลทาผิวหนังในตำแหน่งที่ตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ โดยอาการจะหายได้เอง หรือสามารถทายาแก้แพ้ ซึ่งในการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ควรตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คุณแม่ทุกคนต้องมีความรู้สึกอยากแอบดูลูกในท้องสักครั้ง (หรือหลายครั้ง) บางคนอยากรู้ว่าลูกแข็งแรงไหม ร่างกายสมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ บางคนก็อยากรู้ว่าลูกกำลังทำอะไรอยู่ บางคนก็คิดถึงอยากเห็นหน้าให้ชื่นใจ แต่คุณแม่บางคนก็ยังแอบมีความกังวลว่าการตรวจอัลตร้าซาวด์นี้จะมีผลเสียหรืออันตรายกับลูกหรือไม่ การตรวจอัลตร้าซาวด์บ่อยๆจะมีรังสีแอลฟาแกมม่าหรือคลื่นแม่เหล็กส่งผลกระทบให้ลูกพิการหรือปัญญาอ่อนในอนาคตหรือไม่

วันนี้หมอจะช่วยตอบข้อสงสัยให้คุณแม่มั่นใจว่าการตรวจอัลตร้าซาวด์มีประโยชน์ต่อการดูแลการตั้งครรภ์และมีความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และลูก

การตรวจอัลตร้าซาวด์คืออะไร?

การตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) หรือ “การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง” เป็นการตรวจที่ใช้ “คลื่นเสียง” ในการสร้างภาพลูกในท้องคุณแม่ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านร่างกายคุณแม่ คลื่นเสียงนี้จะสะท้อนกับกล้ามเนื้อ, ไขมัน, อวัยวะในช่องท้อง และร่างกายของทารก, รก, น้ำคร่ำที่อยู่ในมดลูกของคุณแม่ แล้วสะท้อนกลับมายังอุปกรณ์ตรวจรับเพื่อแปลงเป็นภาพทางหน้าจออีกครั้ง

คุณแม่สามารถนึกถึงหลักการเดียวกันกับคลื่นเสียงที่ปลาโลมาหรือค้างคาวปล่อยออกไปและสะท้อนกลับมาแล้วแปลงเป็นภาพในสมองเพื่อหาตำแหน่งสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว

อัลตร้าซาวด์เป็นคลื่น…ไม่ใช่รังสี

อัลตร้าซาวด์เป็นการส่งคลื่นเสียงไปบนร่างกายเพื่อดูเนื้อเยื่อหรืออวัยวะภายใน และวิธีนี้ก็เป็นการดูพัฒนาการเจ้าตัวเล็กในท้องได้ดีมาก คุณหมอสามารถเห็นว่าอวัยวะของลูกเจริญไปตามอายุ รวมทั้งดูได้ว่าลูกของเรา มีภาวะผิดปกติบางอย่าง เกิดขึ้นหรือเปล่า อย่างคุณแม่ทุกวันนี้ไปตรวจ ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ จะมีอัลตร้าซาวด์ 4 มิติก็สามารถช่วยประเมินได้ว่า ลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่หรือใบหน้าปกติดีก็ทำให้คุณแม่สบายใจไปได้มากๆ

อัลตร้าซาวด์ อันตรายหรือปลอดภัยกันแน่?

มีความกังวลกันว่าอัลตร้าซาวด์อาจจะส่งพลังงานไปถึงเด็กในท้องได้ซึ่งพลังงานนี้ก็ทำให้เนื้อเยื่อของเด็กร้อนขึ้น แต่ก็ไม่ได้ฟันธงแน่ชัดว่าจะทำให้เกิดอันตรายที่น่ากลัว ถ้าตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ อย่างการศึกษาในยุคหลัง ๆ ก็จะบอกไว้เลยว่าถึงจะอัลตร้าซาวด์หลายครั้งก็ไม่ได้มีความแตกต่างในระยะยาวต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก และช่วงเวลา 40 กว่าปีที่ผ่านมาคุณหมอก็ใช้วิธีอัลตร้าซาวด์ได้แบบที่เด็กทุกคนก็ยังปลอดภัย อัลตร้าซาวด์ 1 ครั้งหรือหลายครั้งยังไม่เห็นผลลัพธ์ที่ต่างกันชัดเจน แต่ก็ต้องบอกด้วยว่าไม่ใช่จะทำได้บ่อยๆ เท่าที่คุณแม่ต้องการนะคะ

การทำอัลตร้าซาวด์

 

ที่มา: Mamanatural

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

วิธีดูเพศลูกในใบซาวด์ อ่านผลอัลตร้าซาวด์ยังไง ซาวด์ตอนไหนเห็นเพศชัดสุด

อัลตร้าซาวด์กี่สัปดาห์ ถึงจะเห็นตัวเด็ก อัลตร้าซาวด์ ครั้งแรก ทำไมยังไม่เห็นตัวอ่อน ท้องลมหรือไม่

คลิปภาพอัลตร้าซาวด์ลูกจามในท้อง แบบซูมชัดๆ แม่ๆ เคยเห็นกันหรือยัง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ข้อดี ข้อเสียของ การทำอัลตร้าซาวด์
แชร์ :
  • 8 ภาพ จับสัตว์ท้องมาทำอัลตร้าซาวด์

    8 ภาพ จับสัตว์ท้องมาทำอัลตร้าซาวด์

  • ความหมายอักษรย่อในใบตรวจอัลตร้าซาวด์

    ความหมายอักษรย่อในใบตรวจอัลตร้าซาวด์

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 8 ภาพ จับสัตว์ท้องมาทำอัลตร้าซาวด์

    8 ภาพ จับสัตว์ท้องมาทำอัลตร้าซาวด์

  • ความหมายอักษรย่อในใบตรวจอัลตร้าซาวด์

    ความหมายอักษรย่อในใบตรวจอัลตร้าซาวด์

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ