X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กิจกรรมที่คุณแม่ ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 67

บทความ 5 นาที
กิจกรรมที่คุณแม่ ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 67

หลังคลอดกลับมาบ้านแล้ว คุณแม่อย่าเพิ่งตีปีกร้องเย้ ๆ ว่าต่อไปนี้สบายแล้ว จะทำอะไรก็ได้ดั่งใจ…ช้าก่อนค่ะ ถึงจะทำอะไรต่อมิอะไรได้ แต่ก็ยังมีข้อห้ามที่คุณแม่คนใหม่ ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษค่ะ เอาไว้รอให้ร่างกายแข็งแรงเหมือนเดิมแล้วค่อยทำตามใจชอบดีกว่า

7 ข้อห้าม ที่คุณแม่ ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

การดูแลตัวเองหลังคลอด เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงระยะพักฟื้น 6 สัปดาห์แรก หรือ 1 เดือนแรก หลังคลอดบุตร คุณพ่ออาจจะต้องช่วยดูแลคุณแม่ตัวเองให้ดี และไม่ให้คุณแม่ปฏิบัติข้อห้ามเหล่านี้ ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อร่างกายคุณแม่แล้ว ยังมีผลต่อการให้นมทารก และสภาพจิตใจของคุณแม่ได้ด้วย

กิจกรรมที่คุณแม่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

  1. ห้ามใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ยาบางตัวอาจมีผลต่อคุณแม่ และทำให้น้ำนมหยุดไหล เช่น สเตียรอยด์ ยาลดน้ำหนัก ยาลดความอ้วน ยารักษาสิว ยาปฏิชีวะอื่น ๆ รวมถึงยากลุ่มสารเสพติด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ชนิดต่าง ๆ ล้วนมีผลกับทารกที่กินนมแม่ เพราะสามารถถ่ายทอด ไปถึงลูกผ่านทางน้ำนมได้ ฉะนั้น ก่อนใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นยาอะไรก็ตาม คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง
  2. ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เพราะมีผลต่อคุณแม่ อาจทำให้คุณแม่ตกเลือดหลังคลอดได้ โดยเฉาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งยังมีผลต่อทารกที่กินนมแม่ด้วย
  3. ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อน 6 สัปดาห์ ในช่วง 1 เดือนหลังคลอด จะเป็นช่วงที่ฝีเย็บยังไม่แห้งสนิท และน้ำคาวปลายังไหลอยู่ จึงไม่เหมาะที่จะมีเพศสัมพันธ์สักเท่าไหร่ อีกทั้งการร่วมเพศขณะมีแผล หรือเกิดการฉีกขาดของแผล อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ มดลูกอักเสบได้ ดังนั้น คุณพ่อควรอดใจรอไปก่อน ปล่อยให้ร่างกายของคุณแม่ได้พักฟื้น รับรองว่าหลังจากนี้ คุณพ่อจะไม่เหงาแน่นอน (เพราะมีลูกกวน)
  4. ห้ามยกของหนัก เพราะอาจส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อมดลูก และแผลผ่าตัดคลอดได้ ฉะนั้น ถ้าคุณแม่ต้องการยกของหนัก ๆ ในช่วงนี้ หรือทำงานหนักเกินไป ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อ ส่วนคุณแม่แค่ยกตัวลูกน้อยเข้าเต้าอย่างเดียวก็พอ
  5. ห้ามออกกำลังกายหักโหม การขยับเขยื้อนร่างกายอย่างรุนแรง และบ่อยครั้งในช่วง 1 เดือนแรกหลังคลอด จะทำให้มดลูกต่ำ ส่งผลกระทบกระเทือนต่อช่องคลอด และฝีเย็บ ดังนั้น หากคุณแม่ต้องการออกกำลังกาย แค่ขยับแขน ขยับขา หรือเดินเบา ๆ ก็พอ
  6. ห้ามกินของที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ของหมักดอง ฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารที่มีรสหวานจัด ๆ เพราะอาหารเหล่านี้จะมีน้ำตาลในปริมาณสูง ไม่มีสารอาหารที่ให้ประโยชน์กับทารกที่กินนมแม่ ซึ่งอาจทำให้ลูกขาดสารอาหาร และเป็นโรคอ้วนในเด็กได้
  7. ห้ามเครียดเกินไป การที่คุณแม่เครียดเกินไป จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง และยังมีผลกับการเลี้ยงลูกด้วย ทำให้ลูกร้องให้งอแง และเลี้ยงยาก ทั้งนี้ คุณพ่อสามารถช่วยลดความเครียดของคุณแม่ได้ ด้วยการช่วยเลี้ยงลูก หรือหากิจกรรมที่ทำให้ภรรยารู้สึกผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้คุณแม่เครียดน้อยลงได้

โดยปกติแล้วสภาพร่างกายของคุณแม่จะกลับเข้าสู่สภาพเดิมภายใน 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด รวมทั้งแผลที่เกิดจากการคลอด ก็จะหายไปในระยะนี้ด้วย ดังนั้นคุณแม่ ควรทำความเข้าใจเพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่คุณแม่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

ด้านจิตใจ
หลังคลอดปริมาณฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณแม่ยังต้องปรับตัวกับบทบาทใหม่ อ่อนเพลียจากการคลอด กังวลใจกับสรีระของตนเอง และการเลี้ยงลูก จึงทำให้รู้สึกเครียด หงุดหงิด หรือซึมเศร้าโดยไม่มีเหตุผล เรียกว่า “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” ดังนั้น คุณพ่อจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดู และดูแลงานบ้านแทนคุณแม่ จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

ด้านร่างกาย
1.การดูแลแผล

  1. แผลฝีเย็บ
    คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย แผลจะหายประมาณ 7 วัน แต่อาจจะรู้สึกเจ็บประมาณ 2 สัปดาห์ คุณแม่ทำความสะอาดโดยใช้น้ำ และสบู่ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง และซับให้แห้ง เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรืออาบน้ำในอ่าง คุณแม่ที่เป็นริดสีดวงทวาร หากมีอาการปวด อาจจะประคบด้วยถุงน้ำแข็ง ใช้ครีม หรือยาเหน็บตามแพทย์สั่ง ดื่มน้ำ และรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหารมาก เพื่อลดอาการท้องผูก
  2. แผลผ่าตัด
    คุณหมอจะเย็บแผลผ่าตัดด้วยไหมละลาย ไม่ต้องตัดไหม ปิดไว้ด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ แต่ถ้าสังเกตว่า มีน้ำซึมเข้าแผล ให้กลับมาเปลี่ยนพลาสเตอร์ปิดแผล แผลจะหายประมาณ 7 วัน หากเจ็บแผลขณะเคลื่อนไหว คุณแม่อาจจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องช่วยพยุงไว้ จะช่วยให้หลับสบายขึ้น

2. น้ำคาวปลา
คือน้ำคร่ำปนกับเลือดที่ออกจากแผลในมดลูก ไหลออกมาทางช่องคลอด ในช่วง 3 วันแรกจะมีสีแดงเข้ม จากนั้นจะจางลงเรื่อย ๆ คล้ายกับสีน้ำล้างเนื้อ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นมูกสีเหลือง ๆ ตามปกติจะมีอยู่ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ทำความสะอาดด้วยน้ำ และสบู่ทุกครั้ง หลังการขับถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระ เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เพื่อความสะอาด

3. การฟื้นตัวตัวของมดลูก
ระหว่างตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่าปกติ แต่หลังคลอด มดลูกก็จะหดตัวลง จนมีขนาดปกติ และกลับเข้าสู่ตำแหน่งในอุ้งเชิงกราน (มดลูกเข้าอู่) ประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ หากมีอาการปวดมดลูก ก็สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้

4. การดูแลเต้านม
ขนาดของเต้านมจะใหญ่ขึ้น และมีอาการคัดตึง ในวันที่ 2 – 3 หลังคลอด เป็นภาวะที่ต่อมน้ำนมเริ่มผลิตน้ำนมสำหรับลูก เวลาอาบน้ำ งดฟอกสบู่บริเวณลานนม เพื่อให้น้ำมันธรรมชาติที่ผิวหนังสร้างขึ้นยังคงอยู่ ช่วยลดความเจ็บขณะลูกดูดนม หากมีอาการนมคัด แต่ยังไม่มีน้ำนมให้ใช้ผ้าชุปน้ำเย็นประคบเต้านม และทานยาแก้ปวดได้ พยายามให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมได้เร็วขึ้น หากมีน้ำนมไหลแล้ว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมก่อนให้นมลูก ก็จะช่วยให้การไหลเวียนเลือดบริเวณเต้านมดีขึ้น ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดหัวนม และลานนมทุกครั้งทั้งก่อน และหลังให้นมลูก

5. การรับประทานอาหาร
คุณแม่หลังคลอดยังคงต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เหมือนในระยะตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้พลังงานในการฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่เอง และผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก คุณแม่ควรรับประทานประเภท ผัก ผลไม้ เนื้อสัตย์ ไข่ นม และลดอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และของหมักดอง งดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การรับประทานยาควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ เพราะยาบางชนิดหลั่งออกทางน้ำนมได้ (ช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังคลอดให้งดดื่มนมก่อน)

6. การพักผ่อน
ช่วงที่พักฟื้นในโรงพยาบาล คุณแม่จะได้พักผ่อนเต็มที่ แต่เมื่อกลับบ้านช่วงที่คุณแม่ต้องปรับตัว กับวิถีชีวิตใหม่ ต้องดูแลตัวเอง ดูแลลูก และคุณพ่อ จึงควรจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสม เช่น ทำความสะอาดเสื้อผ้า ของใช้ลูกวันละ 1 ครั้ง ควรได้หลับพักผ่อนบ้าง ขณะลูกหลับ เพื่อไม่ให้คุณแม่เหนื่อยอ่อนเพลียมากเกินไป

กิจกรรมที่คุณแม่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

7. กิจกรรมที่คุณแม่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

  • ไม่ควรยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักของทารก
  • ไม่ควรออกแรงเบ่งมาก ๆ หรือนาน ๆ
  • ไม่ควรขึ้น – ลง บันไดบ่อย ๆ
  • ไม่ควรขับรถโดยไม่จำเป็น
  • ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม ทำได้เฉพาะ ท่ากายบริหารเบา ๆ

8. การมีเพศสัมพันธ์
คุณแม่อาจมีความรู้สึกทางเพศลดลง เนื่องจากความอ่อนเพลีย กังวล และความไม่สุขสบาย และเจ็บแผล จึงควรงดในช่วง 4 – 6 สัปดาห์แรก หรือจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอด และวางแผนคุมกำเนิดแล้ว

9. การตรวจหลังคลอด
คุณหมอจะนัดคุณแม่มาตรวจ 4 – 6 สัปดาห์หลังคลอด

  • เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกาย
  • ตรวจดูสภาพของปากมดลูก และอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน (หรือแผลผ่าตัดหน้าท้อง หากคุณแม่ผ่าตัดท้อง)
  • ตรวจดูมะเร็งปากมดลูก
  • แนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัวและคุมกำเนิด

อาการผิดปกติหลังคลอด ที่ควรรีบมาพบแพทย์

  • มีไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น หรือมีสีแดงสดตลอด 15 วันหลังคลอด
  • ปวดท้องน้อย เจ็บปวด หรือแสบขัดเวลาปัสสาวะ
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • เต้านมบวมแดง อักเสบ หัวนมแตกเป็นแผล
  • แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัด อักเสบ บวมแดงหรือมีหนอง

 

ที่มา :

  • https://happymom.in.th/th/tips/c-section-birth/
  • https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4
  • https://www.rakluke.com/pregnancy-all/birth/item/7-4.html

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 21 มดลูก จะเข้าอู่เมื่อไร ?
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 39 คุณแม่ให้นมลูก ควรเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง ?

 

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • กิจกรรมที่คุณแม่ ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 67
แชร์ :
  • สุขภาวะกายและใจ ของแม่หลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 65

    สุขภาวะกายและใจ ของแม่หลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 65

  • อาหารหลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 55

    อาหารหลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 55

  • สมุดฝากครรภ์ สมุดชมพูคนท้อง ทำไมจึงสำคัญ มีค่ากับคุณแม่และทารกมาก

    สมุดฝากครรภ์ สมุดชมพูคนท้อง ทำไมจึงสำคัญ มีค่ากับคุณแม่และทารกมาก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • สุขภาวะกายและใจ ของแม่หลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 65

    สุขภาวะกายและใจ ของแม่หลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 65

  • อาหารหลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 55

    อาหารหลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 55

  • สมุดฝากครรภ์ สมุดชมพูคนท้อง ทำไมจึงสำคัญ มีค่ากับคุณแม่และทารกมาก

    สมุดฝากครรภ์ สมุดชมพูคนท้อง ทำไมจึงสำคัญ มีค่ากับคุณแม่และทารกมาก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ