การซื้อของเล่นให้กับลูกน้อย พ่อแม่อาจจะพิจารณาถึงความชอบ ความทีสีสันของของเล่น จนลืมไปว่าไม่ใช่ของเล่นทุกชิ้นที่เหมาะสำหรับลูก โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่มีอายุต่ำว่า 3 ปี เพราะของเล่นบางอย่างมีสารเคมีอันตรายที่อาจส่งผลต่อลูกน้อยได้
13 สารเคมีอันตรายที่พบอยู่ในของเล่นเด็ก!!
ของเล่นต่าง ๆ ที่อาจมีสารเคมีอันตรายปะปน อ่านต่อ >>
ของเล่นต่าง ๆ ที่อาจมีสารเคมีอันตรายปะปน
ตุ๊กตา อาจจะมีสารเคมีอันตรายได้หลากหลาย เนื่องจากตุ๊กตาบางประเภทอาจผลิตจากพลาสติก กำมะหยี่และอุปกรณ์ยัดไส้ด้วยเส้นใย หรือมีส่วนประกอบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตุ๊กตาหมีขนยาวหรือขนสังเคราะห์ที่จะประกอบไปด้วยสารหน่วงการติดไฟ ที่เป็นพิษและแพ้ได้ง่าย
คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อตุ๊กตาผ้าหรือตุ๊กตาที่เป็นธรรมชาติ โดยสังเกตจากฉลาก GS ฉลากเขียว และฉลากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก่อนนำมาให้ลูกเล่นควรซักและตากให้แห้ง
ของเล่นไม้ โดยเฉพาะของเล่นไม้ที่กาวเป็นส่วนประกอบ มีแนวโน้มที่จะใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ สารชักเงา สีที่มีตะกั่ว และสารโลหะหนักอื่นๆ
ควรเลือกของเล่นไม้แบบเรียบ ๆ ที่ไม่ได้ทาสีและเคลือบเงา หรือมีส่วนที่ติดกาวให้น้อยที่สุด
ของเล่นพลาสติก เช่น ของเล่นยางสังเคราะห์ ลูกบอล ของเล่นอาบน้ำ ฯลฯ ที่มีลักษณะอ่อน จะมีสารพทาเลต (Phathalate) ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของฮอร์โมน หรือของเล่นพลาสติกอาจจะมีสารโลหะหนัก และสารพิษอื่นๆ ปนเปื้อนแฝงอยู่
ควรเลือกของเล่นที่เป็นแบบยางธรรมชาติ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นสารเคมีรุนแรง หรือมองมองหาฉลาก “ปลอดพีวีซี PVC-Free” หรือ “ปลอดสารพทาเลต Phathalate-Free” ก่อนซื้อ
เลือกของเล่นที่ปลอดภัยอย่างไรให้ลูกน้อย
- อ่านฉลากก่อนซื้อ ดูฉลากและทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วน หรือสอบถามพนักงานขายว่าของเล่นชิ้นนี้เหมาะสมกับเด็กช่วงอายุเท่าไร และซื้อของเล่นให้ถูกตามช่วงวัยที่ระบุไว้ดีที่สุด
- ตรวจดูส่วนประกอบสารเคมีที่เป็นพิษ ซึ่งบนฉลากจะมีส่วนประกอบหรือสารเคมีที่ทำของเล่นให้ดูว่า มีส่วนใดที่ทำมาจากสารเคมีที่เป็นพิษบ้างหรือไม่ ของเล่นที่ดีควรไม่มีพิษ เช่น ปราศจากสีเคมี หรือหลีกเลี่ยงของเล่นที่ไม่มีฉลาก ราคาถูก เพราะมักจะมีสารเคมีที่เป็นอันตราย
- หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีสารเคมีรุนแรง หรือของเล่นประเภทที่มีกลิ่นหอม
- เลือกของเล่นชิ้นใหญ่และมีผิวเรียบสำหรับเด็กเล็ก ต้องมั่นใจว่าของเล่นที่ควรให้ลูกน้อยเล่นควรมีขนาดใหญ่กว่ากระดาษทิชชู ซึ่งเกินกว่าที่เด็กจะเอาเข้าปากได้ และของเล่นควรมีลักษณะเป็นผิวเรียบ ไม่มีรอยคมแหลมใด ๆ เพื่อทำให้เกิดอันตรายต่อลูกได้
โดยธรรมชาติของเด็กตัวเล็ก ๆ แล้ว มักจะมีความสงสัยอยากทดลอง ไม่รู้ว่าสิ่งไหนกินได้หรือกินไม่ได้ การชอบเอาของเล่นเข้าปากจึงเป็นการตอบสนองต่อความอยากรู้ของเด็ก อันตรายจากของเล่นจึงมักจะเกิดจากความไม่รู้ของลูก ดังนั้นนอกจากการเลือกของเล่นให้ลูกแต่ละชิ้นจึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรระวังเป็นอย่างมาก และต้องคอยดูแลในขณะที่ลูกเล่นของเล่นอยู่เสมอ.
ขอบคุณที่มา : www.consumerthai.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้
วิธีเลือกของเล่นให้ลูกอย่างสมวัย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!