สาเหตุการสำลักนม
แบ่งออกเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายใน
-เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืน ได้แก่ ปากแหว่งเพดานโหว่ ทำให้ช่องต่อระหว่างทางเดินอาหารกับระบบทางเดินหายใจมีปัญหาหรือภาวะหูรูดทางเดินอาหารยังปิดไม่สมบูรณ์
-ทารกที่มีปัญหาเรื่องปอดและหัวใจ ทำให้ต้องหายใจเร็วขึ้นในขณะที่ดูดนม จึงมีโอกาสสำลักนมมากกว่าเด็กปกติทั่วไป
-เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการที่ล่าช้า หรือเคยมีประวัติชักก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะสำลักนมได้ง่าย
ปัจจัยภายนอก
-วิธีการให้นม ถ้าเด็กดูดนมแม่มักจะไม่เกิดปัญหาสำลักนมหรือมีโอกาสน้อยเพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกดูดเท่านั้น แต่ถ้าเป็นนมชงจากขวด ไม่ว่าลูกจะดูดนมหรือไม่ดูดนมก็ตามนมจะไหลออกมาตลอด ถ้าคุณแม่อุ้มลูกในท่าที่ไม่ถูกวิธี เช่น ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังนอน ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังร้องไห้ หรือการให้ลูกนอนกินนมล้วนเป็นสาเหตุให้ลูกสำลักนมได้
-ความเข้าใจผิดของคุณแม่ เวลาที่ลูกร้องก็ป้อนนมอาจเพราะเข้าใจผิดว่าลูกหิว ซึ่งอาจทำให้ปริมาณนมในกระเพาะอาหารเกินความต้องการ ส่งผลให้ทารกสำลักนมออกมา การร้องไห้ของลูกนั้นควรหาสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน เช่น ร้องเพราะอยากให้อุ้ม ร้องเพราะไม่สบายตัว ร้องเพราะอึหรือฉี่ เป็นต้น
-การใช้จุกนมขวดที่ผิดขนาด และไม่เหมาะสมกับช่วงวัย ทำให้ปริมาณนมไหลออกมามากกว่าปกติ ทำให้เด็กสำลักนมได้
สำลักนมในเด็กเล็กอันตรายใกล้ตัว
การสำลักนมในเด็กอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันระวังและอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ วิธีการสังเกตอาการสำลักนมมีดังนี้
-ในระหว่างที่ลูกดูดนมจากขวดนั้น แรก ๆ ลูกจะมีอาการไอ เหมือนกับจะขย้อนนมออกมาหากสำลักไม่มาก อาจจะไอเพียงเล็กน้อย 2 – 3 ครั้งก็จะหายเอง เมื่อหายใจแล้วคุณแม่ควรลูกนั่งเอามือประคองหน้าไว้ ค่อย ๆ ลูบหลังเบา ๆ อีกครั้งเพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น
-กรณีลูกมีอาการสำลักนมมาก จะมีอาการไอแรงจนหน้าแดง หรือมีเสียงหายใจที่ผิดปกติ มีเสียงครืดคราดขณะหายใจ หากเป็นเช่นนี้ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย
-กรณีที่ลูกกินอาหาร ขนม ผลไม้ เป็นต้นไปก่อนที่จะกินนม เมื่อเกิดอาการสำลัก จะมีอาการตัวเขียว หรือมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา เช่น มีอาการไอเรื้อรัง มีเสียงหายใจครืดคราดเป็นเสียงหายใจที่ผิดปกติ หากเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
วิธีป้องกันไม่ให้เด็กสำลักนม
1.ควรให้นมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกและเริ่มต้นให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม คือ 6 เดือนเป็นต้นไป เพราะในช่วงนี้อวัยวะการดูดกลืนจะทำงานได้ดีกว่าในช่วงแรกเกิด และสามารถชันคอตั้งตรงได้ทำให้โอกาสในการสำลักมีน้อยลง
2.จับเรอทุกครั้งหลังจากดูดนมเสร็จแล้ว วัยแรกเกิด – 2 เดือน ที่คอยังไม่แข็ง ควรใช้วิธีอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังโดยการลูบขึ้นเบา ๆ
3.สำหรับเด็กทารกที่คอแข็งดีแล้ว สามารถใช้วิธีอุ้มพาดบ่าใช้มือประคอง ลูบหลังขึ้นเบา ๆ
วิธีช่วยเหลือเมื่อลูกสำลักนม
จับเด็กนอนตะแคง โดยให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นมหรืออาหารที่ติดค้างในปากไหลย้อนกลับไปที่ปอด
ข้อควรระวัง ไม่ควรอุ้มเด็กขึ้นทันทีที่เกิดการสำลัก
เอกสารอ้างอิง
https://natur.co.th/
www.thaibreastfeeding.org/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เสียงจากคุณแม่ เมื่อลูกประสบภาวะสำลักขี้เทา
ผมยุ่งหน้าเยิน นี่แหละเรื่องจริงของแม่ให้นมลูก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!