ไม่อยากแท้งต้องรู้ ! ทำไมคนถึงแท้ง สังเกตยังไงว่ากำลังแท้งลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะแท้งลูก ถือเป็นภัยคุกคามอย่างหนึ่ง ที่แม่ท้องหลาย ๆ คนรู้สึกกลัว ภาวะแท้ง เกิดจากอะไร ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้แท้ง ไม่อยากแท้งต้องรู้ วันนี้เราจะพามาหาคำตอบเหล่านี้กัน

 

ไม่อยากแท้งต้องรู้ อาการแท้ง คืออะไร เป็นอย่างไร

ภาวะแท้งลูก คือ อาการที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้สูญเสียทารกในครรภ์ไปอย่างฉับพลัน มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยจากการสำรวจในอดีต พบว่า 15 % ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ จะมีโอกาสแท้งลูก แต่เนื่องจากในปัจจุบันสามารถตรวจครรภ์ได้ไว จึงทำให้ทราบได้ว่าแท้งบุตรหรือไม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งผู้หญิงที่กำลังแท้งลูก มักมีเลือดไหลจากช่องคลอด ปวดท้องน้อยอย่างหนัก มีเสมหะและน้ำมูกสีขาวหรือชมพู เป็นตะคริว รวมทั้งมีอาการเวียนหัว หรืออาเจียน อย่างไรก็ตาม บางคนอาจจะไม่มีอาการใด ๆ

 

ทำไมคนเราถึงแท้ง อาการแท้ง ภาวะแท้งเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้แม่ตั้งครรภ์แท้ง อาจแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ชีวิต หรือปัญหาด้านสุขภาพของแต่ละคน ซึ่งอาจมีดังต่อไปนี้

 

1. อาการแท้ง ปัญหาจากโครโมโซม

ปัญหาเรื่องโครโมโซม ถือเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนแท้งลูก คนส่วนใหญ่มากกว่า 70% มักจะแท้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว เมื่อตั้งครรภ์ พ่อและแม่ควรมีโครโมโซมอย่างน้อย 46 แท่ง หากมีมากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแท้งได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. โรคที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

หากแม่เป็นโรคใดโรคหนึ่งในขณะที่ท้อง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ โรคภูมิแพ้ตัวเอง และโรคติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นต้น อาจส่งผลต่อลูกในครรภ์และทำให้แท้งได้ หากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคเหล่านี้ ให้เข้าพบแพทย์โดยด่วน เพื่อเข้ารับคำแนะนำในการดูแลตัวเอง

 

3. ฮอร์โมนในร่างกายแม่ไม่สมดุลกัน

ฮอร์โมนในร่างกาย ก็สามารถทำให้แท้งได้เช่นกัน หากร่างกายผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอในขณะที่ท้อง อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่แข็งแรง ส่งผลทำให้แท้งได้ในที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการปวดมดลูก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 71

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : พยาบาลแม่จ๋า ไขปัญหาน้องสาว

 

4. ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเยอะเกินไป สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของแม่และเด็กได้ จากงานวิจัยของ Kaiser Permanente พบว่า คนที่บริโภคคาเฟอีนมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน (หรือกาแฟ 2 แก้ว) มีความเสี่ยงต่อการแท้ง สูงกว่าคนปกติมากถึง 2 เท่า นอกจากนี้ หากชอบดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ ก็ทำให้เสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้เช่นเดียวกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.  น้ำหนักตัวมาก

คนที่น้ำหนักตัวเยอะ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานถือเป็นสาเหตุที่ทำให้คนแท้งได้ง่าย ดังนั้น คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อดูว่าตัวเองมีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวานมากแค่ไหน

 

6. อาการแท้ง อายุมาก

ส่วนใหญ่ คนที่แท้งบุตร มักเป็นคนที่มีอายุเยอะแล้ว เพราะไข่ของผู้หญิงกลุ่มนี้จะมีอายุมาก ทำให้ไข่เกิดความผิดปกติขึ้นได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

ประเภทของภาวะแท้งลูก

ภาวะแท้ง แบ่งออกได้หลายประเภท ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • แท้งคุกคาม เป็นภาวะที่มีเลือดออกทางช่องคลอดแบบกะปริดกะปรอย และมักจะไม่ปวดท้อง จึงอาจทำให้สังเกตได้ยาก ว่าตัวเองกำลังแท้งหรือไม่
  • แท้งซ้ำ เป็นภาวะแท้งที่เกิดขึ้นมากกว่า 3 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งอาจเกิดจากการที่ปากมดลูกปิดไม่สนิท ฮอร์โมนหรือโครโมโซมเกิดความผิดปกติ
  • แท้งแบบเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีภาวะนี้ คุณแม่จะมีเลือดออกทางช่องคลอดและปวดท้องอย่างมาก เนื่องจากมดลูกหดตัว และอาจต้องให้แพทย์ช่วยดึงตัวอ่อนออกมาจากโพรงมดลูก
  • แท้งแบบสมบูรณ์ คือ ภาวะที่ตัวอ่อนจะหลุดออกมาเองจนหมด และคุณแม่จะมีเลือดไหลออกทางช่องคลอด จนเลือดหยุดไหลไปเอง
  • แท้งแบบไม่สมบูรณ์ ภาวะนี้ ทำให้มดลูกบีบตัวได้ไม่ค่อยดี คุณแม่จะปวดท้องไม่มาก แต่อาจมีเลือดออกมากจนช็อกได้ โดยอาจมีตัวอ่อนหลงเหลืออยู่ในโพรงมดลูก และต้องให้แพทย์ช่วยดึงออก
  • แท้งค้าง เป็นภาวะที่คุณแม่ไม่ทราบว่าตัวเองแท้ง ทั้งที่ลูกได้เสียชีวิตไปมากกว่า 2 เดือนแล้ว ซึ่งตัวอ่อนจะยังไม่ถูกขับออกมา แถมคุณแม่เองก็ไม่แสดงอาการใด ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก คุณแม่จะเริ่มมีอาการแท้งบุตรภายหลัง
  • แท้งติดเชื้อ เป็นการแท้งที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดอาการอักเสบหรือการติดเชื้อขึ้นกับคุณแม่ โดยคุณแม่อาจปวดท้อง มีเลือดออกทางช่องคลอด และมีไข้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความเห็นจากกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง กับการ แก้ไขกฎหมายทำแท้ง ในรอบ 60 ปี

 

 

ภาวะแทรกซ้อนจากการแท้ง

โดยปกติ หากแท้งเองโดยที่ไม่ได้ขูดมดลูก และไม่ได้ติดเชื้อ ก็มักจะไม่เกิดอาการแทรกซ้อนใด ๆ เพียงแค่จะมีเลือดออกทางช่องคลอดสักพัก และเลือดก็จะหยุดไหล แต่หากเข้ารับการขูดมดลูกเพื่อเอาเด็กออก อาจทำให้เสียเลือดมากจนเสียชีวิต ติดเชื้อทางช่องคลอด กลายเป็นหมัน มีลูกยากขึ้นในอนาคต หรือเลือดเป็นพิษจนเสียชีวิตได้หากใช้เครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐาน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อมีอาการแท้ง ควรทำอย่างไร

หากมีอาการที่คาดว่าตัวเองจะแท้ง ให้พยายามใจเย็นก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นให้รีบไปโรงพยาบาล เพื่อเข้ารับการตรวจให้ไวที่สุด หากตัวอ่อนยังไม่หลุด คุณหมออาจให้ยาทานและให้กลับบ้านได้ เพราะยังมีโอกาสที่เด็กจะเติบโตจนถึงกำหนดคลอด ซึ่งในช่วงนี้ คุณแม่ต้องนอนพักเยอะ ๆ ไม่ขยับตัวบ่อย งดออกกำลังกาย และงดมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน แต่หากคุณแม่เลือดไหลไม่หยุด จนตัวอ่อนหลุดออกมา คุณแม่ต้องนอนพักโรงพยาบาลสักช่วงหนึ่งก่อน

 

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังจากแท้ง

เมื่อทราบว่าตัวเองแท้ง ก็ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจเช็กร่างกาย และเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่แท้งลูกมักจะได้รับผลกระทบทางจิตใจ โดยเฉพาะคนที่สูญเสียลูกไปเป็นครั้งแรก ดังนั้น หากเครียด หรือต้องการความช่วยเหลือ ก็ให้ปรึกษาหมอ หรือพูดคุยกับคนในครอบครัวได้ทุกเมื่อ

 

วิธีรักษา หลังการแท้งลูก

หากคุณแม่สูญเสียลูกไปแล้ว คุณหมอจะแนะนำให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งการรักษาอาจทำได้ทั้งการให้ยาบำรุงมดลูก การฉีดยาบีบมดลูก การขูดมดลูก หรือการเย็บปากมดลูก โดยคุณหมอจะวินิจฉัยก่อน ว่าสาเหตุของการแท้งมาจากอะไร คุณแม่มีโรคประจำตัวหรือไม่ หรือว่ายังมีสิ่งอื่นตกค้างอยู่ในโพรงมดลูกหรือเปล่า นอกจากนี้ หากคุณแม่แท้งเพราะโรคที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ ก็อาจต้องทำการรักษา เพื่อไม่ให้กลับมาแท้งได้อีก

 

 

วิธีป้องกันไม่ให้แท้ง

หากกังวลใจ กลัวว่าตัวเองจะแท้งลูก สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ได้

  • เมื่อรู้ว่าตัวเองท้อง ก็ควรเข้ารับการฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อให้คุณหมอตรวจร่างกายอย่างละเอียด และควรเข้าพบแพทย์ทุกครั้งตามนัด เพื่อป้องกันภาวะแท้งหรือปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
  • หมั่นสังเกตอาการของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการเลือดออก หรือรู้สึกปวดท้อง ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์  หรือสูบบุหรี่ และควรอยู่ให้ห่างควันบุหรี่
  • ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป
  • ไม่ทำงานบ้านหนักเกินไป หรือออกแรงทำกิจกรรมมากจนเกินไป
  •  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด
  • รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ทั้งผักและผลไม้

 

แท้งไปแล้ว มีโอกาสกลับมาแท้งได้อีกไหม

หากหมั่นดูแลตัวเองอย่างดี ทำตามที่หมอแนะนำทุกอย่าง โอกาสที่จะแท้งอีกก็เกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ตาม หากดูแลตัวเองไม่ดี ป่วยเป็นโรคระหว่างตั้งครรภ์จนส่งผลต่อเด็ก หรือหากทารกมีร่างกายไม่สมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ ก็สามารถกลับมาแท้งได้อีกเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงควรเข้าพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเช็กสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หากมีความเสี่ยงใด ๆ ก็อาจช่วยให้ป้องกันได้ทันเวลาก่อนที่จะเสียลูกไปอีก

 

เมื่อแม่ท้องรู้แล้วว่าอาการแท้งเกิดจากอะไร ความเสี่ยงมาจากไหน ก็ต้องป้องกันให้ดี เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแท้งให้ได้มากที่สุด ไม่ควรทำอะไรตามใจเพราะคิดว่าไม่เป็นไร แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

3 วิธีชนะการแท้งลูก การแท้งบุตร อาการแท้ง คุกคาม แท้งค้างคืออะไร

5 วิธี มูฟออนจากการแท้งลูก เยียวยาจิตใจอย่างไรเมื่อแท้งลูก

6 อาหารเสี่ยงแท้ง กินแล้วเสี่ยงแท้งได้ คนท้องต้องระวังของพวกนี้ไว้ให้ดี

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการแท้งลูก ได้ที่นี่ !

แท้งลูก เกิดจากอะไรคะ แล้วมีที่ช่วยลดการแท้งลูกได้ยังไงบ้างคะ

ที่มา :  phyathai , aboutmanchester , parents , pradeepninan

บทความโดย

Tulya