เล่าประสบการณ์ป้อนนม เมื่อ ลูกหิวตอนขับรถ

สำหรับแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกที่ยังเป็นทารกเองเวลาไปไหนก็ต้องไปกับลูก ต่อให้คุณคำนวนเวลาไว้อย่างดีว่าพอลูกหลับจะออกเดินทางไปยังจุดหมาย พอถึงที่หมายลูกก็ตื่นเราก็สามารถให้กินนมได้พอดี แต่การจราจรในกรุงเทพมหานครก็ใช่ว่าจะเป็นไปตามที่เราคาดคิดเสมอไป แล้วเราจะทำอย่างไรเมื่อลูกหิวเวลาขับรถ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เล่าประสบการณ์ป้อนนม เมื่อ ลูกหิว ตอนขับรถ                                                                                                                                      โดยปกติเด็กทารกจะตื่นมากินนมทุก ๆ 3 - 4 ชั่วโมง ดังนั้นในระหว่างที่ลูกหลับ ก็เป็นโอกาสที่คุณจะพักผ่อน ทำกิจกรรมส่วนตัว หรือ งานบ้าน ฉันเอง ก็เลือกใช้เวลานี้ทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึง ตอนขับรถ เมื่อต้องออกไปไหนมาไหน แต่พอเข้าหน้าฝนทุกคนคงส่ายหน้ากันเป็นแถว เวลาต้องติดแหง็กบนถนนเป็นชั่วโมง ๆ ในที่สุดเสียงร้องไห้หิวนมก็ดังขึ้น แล้วคุณจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ เมื่อ ลูกหิว ตอนขับรถ

เมื่ออาทิตย์ก่อนฉัน และสามีมีนัดกับเพื่อนว่าจะพาลูกไปหา และเราก็มากินข้าวที่เซ็นทรัลเวิร์ดตอนหนึ่งทุ่ม เราก็ออกจากบ้านกันตอน 5 โมงเย็น (นี่ขนาดเผื่อเวลาแล้วถึง 2 ชั่วโมงนะคะเพราะปกติจากบ้านดิฉันไปห้างอย่างเร็วก็ 30 นาที อย่างช้าก็ 1 ชั่วโมง) ลูกน้อยวัย 1 เดือนก็นอนหลับอยู่ในคาร์ซีท สามีก็นั่งเบาะหลังข้าง ๆ ลูก เวลาผ่านไปรถยังคงติดอยู่ที่เสาชิงช้าไม่ขยับ ผ่านไป 2 ชั่วโมงขยับไปได้ 200 เมตร เสียงอ้อแอ้เริ่มดังมาจากด้านหลัง ลูกเริ่มตื่น ทำปากเหมือนลูกนกรอแม่นกมาป้อนอาหาร ฉันบอกสามี ซึ่งเป็นชาวต่างชาติให้มาขับรถแทน แต่สามีปฏิเสธเพราะไม่อยากขับรถในเมืองไทยโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร สักพักลูกเริ่มร้องหานม อีกแป๊บเสียงค่อย ๆ ดังขึ้น ๆ ฉันบอกสามีให้มาขับรถแทนอีกครั้ง สามีก็ยังคงยืนกรานคำตอบเดิม ที่นี้ลูกโมโหหิวแล้วฉันก็เริ่มเครียดไม่อยากได้ยินเสียงลูกร้องแบบจะขาดใจเพราะหิวนม รถก็ติด ตำรวจก็ให้แต่อีกฝ่ายเป็นไฟเขียวผ่านฉลุย ทางเรานี่ไฟแดงตลอด

ลูกหิว ตอนขับรถ-01

ฉันบอกให้สามีเอาลูกออกจากคาร์ซีทมาให้หน่อย รถติดขนาดนี้ป้อนนมลูกได้สบายมาก สามีก็บอกว่าไม่ปลอดภัยไม่ทำ ในที่สุดฉันบังคับจนสามีต้องอุ้มลูกที่ร้องไห้หิวนมมาให้ฉันที่เบาะคนขับ เฮ้อเอาเป็นว่าเหมือนฉันมากับลูกแค่ 2 คน ฉันก็เลยให้ลูกกินนมจนอิ่ม และหลับไประหว่างยังติดอยู่บนถนน

ทีนี้หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมไม่ใช้ขวดนมป้อนนมลูกแทน คงเป็นเพราะฉันเองก็เหมือนแม่คนอื่น ๆ ทั่วไปที่กลัวลูกจะติดขวดนมแล้วไม่ยอมดูดกระตุ้นน้ำนมจากฉัน แต่ถึงแม้ว่าจะมีขวดนมก็ไม่สามารถหาที่จอดรถเพื่อป้อนนมลูกได้ ถ้าอยู่กรุงเทพ ฯ รอบนอกหรือออกต่างจังหวัด ฉันยังสามารถแวะเข้าปั๊มน้ำมันเพื่อให้ลูกกินนมได้ แต่เจอสถานการณ์รถติดในกรุงเทพ ฯ แบบนี้ ดิฉันก็จนปัญญาค่ะ เลยต้องเลือกการให้นมบนรถ นอกจากนี้แล้วฉันยังเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกหลังกินนมบนรถได้อีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้ายที่สุดเราก็ตัดสินใจยกเลิกนัดทานข้าวกับเพื่อนที่น่ารักของฉันไป เพราะดูสถานการณ์แล้วไม่มีวี่แววที่เราจะไปถึงก่อนห้างปิดเลย ดังนั้นเราจึงแยกย้ายกันกลับบ้านไปพักผ่อน โดยใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาทีเพื่อขับรถกลับบ้าน เรียกได้ว่าทริปนี้เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศกินนมของลูกก็แล้วกัน

ลูกหิว ตอนขับรถ-02

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รถติดในประเทศไทยเนี่ย ไม่ใช่เล่น ๆ เลยจริง ๆนะคะ ถึงแม้ว่าคุณแม่ในเรื่องเล่า จะอุ้มเจ้าตัวน้อยออกจากคาร์ซีท ในช่วงเวลารถติด แต่ถ้าหากเป็นช่วงที่รถเคลื่อนที่แล้วล่ะก็ เป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ ค่ะ เพราะการไม่ใช้คาร์ซีท เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เด็กเล็กเสียชีวิตได้ โดยหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยบนท้องถนน ได้รวบรวมข้อมูลจากปี 2551 - 2555 อ้างอิงจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า อัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีต่อประชากร 100,000 คนอยู่ที่ร้อยละ 5.03 – 7.25

คาร์ซีท จำเป็นอย่างมาก แม้จะยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้ แต่คุณพ่อและคุณแม่ก็ห้ามละเลยเรื่องนี้ เพราะคาร์ซีทหรือเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ถูกออกแบบ เพื่อป้องกันเด็กเล็กไม่ให้ได้รับอันตราย แม้ว่ารถยนต์บางยี่ห้อจะถูกออกแบบให้ปลอดภัยสำหรับเด็กแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ทุกครอบครัว จึงควรฝึกลูกให้คุ้นเคยกับคาร์ซีทตั้งแต่เล็ก ๆ โดยจำเป็นต้องติดตั้งคาร์ซีทอย่างถูกวิธีด้วยฝีมือของผู้เชี่ยวชาญ และมีการฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทให้เป็นด้วยค่ะ

ลูกหิว ตอนขับรถ-03

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีท

1. หมั่นมีกิจกรรมให้ลูกติดใจเสียงเราบ่อยๆ เช่น ร้องเพลงร่วมกัน เล่านิทานด้วยเสียงที่น่าสนใจของเรา เพราะช่วงเวลาที่เราขับรถ มือเราไม่ว่าง แต่ปากเรายังสามารถทำงานได้! เพื่อดึงเวลาให้ลูกจดจ่อกับเรามากกว่าตั้งหน้าตั้งตาร้องไห้อย่างเดียว

2. ก่อนขึ้นรถควรให้ลูกมีความรู้สึกว่า “สามารถควบคุม” ได้บ้าง เช่น ให้ลูกเลือกของเล่น และหยิบของเล่นใส่ถุงเล็กๆ เพื่อไว้เล่นในรถ หรืออาจเป็นเลือกของทานเล่น (ที่มีประโยชน์) กับของเล่นบางอย่าง ไปเพลิดเพลินในรถ หรือบางบ้านที่เดินทางไกลและเด็กอายุมากกว่า 2 ปีที่ระยะเวลาการดูทีวียังไม่เกินกำหนดก็จะให้เลือกเรื่องที่จะดูในรถได้ (แต่ข้อนี้ต้องระวังการติดทีวีด้วย)

3. การพูดคุยกับลูกช่วงนี้ ไม่ใช่การติดสินบน ไม่ใช่ลูกร้องแล้วส่ง IPAD ให้ดู หรือลูกร้องแล้วบอกว่า “จะได้กินไอติมเมื่อไปถึงที่หมาย” ความต่างอยู่ที่ว่า เราเป็นคนนำเสนอก่อนที่ลูกจะร้องโวยวาย มักเกิดขึ้นก่อนขึ้นรถ และเป็นข้อเสนอที่เราพิจารณาแล้วว่า เหมาะกับวัย ไม่ติดของ

4. หากลูกร้อง ดิ้น ไม่ยอมแม้แต่จะเข้ามานั่งใน car seat เราจำต้องจับตัวลูกให้แน่น ๆ เพื่อพาลงที่นั่ง ใช้เสียงที่นุ่มนวลและหนักแน่น

_________________________________________________________________________________________

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

แหล่งข้อมูล : หมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก

บทความอื่น ๆ แนะนำ:

ขับรถพาลูกเที่ยว

ท่าให้นมลูก ไม่ให้เมื่อย

ความสําคัญของคาร์ซีท คาร์ซีทจำเป็นไหม วิธีฝึกลูกนั่งคาร์ซีท ให้ทารก เด็กเล็ก ปลอดภัย

บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์