เรื่องจริง!! เนื้องอกรังไข่ เด็กและวัยรุ่นก็เป็นได้

ปัจจุบันมีการพูดถึงเรื่องมะเร็ง และเนื้องอกกันมาก เพราะมีอัตราผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับกรณีเนื้องอกธรรมดาไม่ใช่เนื้อร้ายสามารถเกิดขึ้นตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย สำหรับผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่นก็มีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกได้เช่นกัน แม้แต่เนื้องอกรังไข่ มาทำความรู้จักกับเนื้องอกรังไข่ว่าเป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่ และสามารถรักษาได้หรือไม่ เรามีคำตอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่ เด็กและวัยรุ่นก็เป็นได้

เนื้องอกรังไข่  (Ovarian tumor)  คืออะไร

เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่

นพ.สุพรรณ ธรรมศรีมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เนื้องอกรังไข่อาจจะดูเหมือนเป็นโรคธรรมดาแต่สำหรับผู้หญิงแล้วไม่ควรมองข้ามโรคนี้    เนื่องจากปัจจุบันพบผู้ป่วยด้วยโรคเนื้องอกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับเนื้องอกในรังไข่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

1. ชนิดที่เป็นถุงน้ำ หรือซีสต์ (Cyst) เป็นเนื้องอกที่มีลักษณะเป็นถุง ภายในมีของเหลว น้ำ เนื้อเยื่อต่างๆ

2. เนื้องอกธรรมดา หรือ Benign เป็นก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นในรังไข่ แต่ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง

3. เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง เรียกว่า Malignant เนื้องอกชนิดนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นมะเร็งรังไข่ มีความเสี่ยงที่จะทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นเสียชีวิตได้หากเป็นในระยะที่ลุกลามแล้ว

เนื้องอกรังไข่ชนิดร้ายและไม่ร้ายจะพบในหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม สามารถพบในเด็กและหญิงวัยรุ่นสาวได้เช่นกัน   นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ ได้แก่ อ้วน, มีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อยกว่าปกติ (ปกติเด็กผู้หญิงไทยจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 11-12 ปี), มีบุตรยาก, มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้, กินยาต้านฮอร์โมนเพศหญิง (Tamoxifen), และสูบบุหรี่

เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของเนื้องอกรังไข่

พล.ร.ต.นพ. โซ่สกุล บุณยะวิโรจ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนรีเวช โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้อธิบายถึง  อาการของเนื้องอกรังไข่ชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้ายไว้ ดังนี้

1. มีความผิดปกติของประจำเดือน  หรือมีอาการปวดประจำเดือนมากผิดปกติ

2. ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากเนื้องอกอาจไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ท้องผูก เนื่องจากเนื้องอกอาจไปกดเบียดลำไส้

4. ท้องโตขึ้น

5. ปวดท้องเฉียบพลัน อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นเกิดการแกว่งตัวบิดขั้ว แตกออก เกิดการตกเลือด ติดเชื้อ

6. ท้องอืด เบื่ออาหาร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. กรณีเกิดขึ้นในเด็ก ขนาดอุ้งเชิงกรานและช่องท้องเด็กมีขนาดเล็ก แม้ว่าก้อนเนื้องอกขนาดไม่โตนักก็สามารถเบียดอวัยวะใกล้เคียง ดึงรั้งเยื่อบุช่องท้อง และเอ็นยึดในอุ้งเชิงกรานตึงตัวมากขึ้น

8. เนื้องอกรังไข่ในเด็ก  มักพบร่วมกับภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน โดยเฉพาะการบิดขั้วเกิดบ่อยกว่าในผู้ใหญ่ เพราะตำแหน่งของเนื้องอกอยู่ในช่องท้องมากกว่าอุ้งเชิงกราน

9. บางครั้งอาการปวดท้องมีลักษณะจำเพาะ คือ เด็กเล็กมักปวดบริเวณรอบสะดือ ส่วนเด็กโตมักอยู่บริเวณเหนือหัวเหน่าหรือท้องน้อยด้านหนึ่งด้านใดเป็นส่วนใหญ่

เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่

การรักษาเนื้องอกรังไข่

1. เมื่อคุณหมอได้ตรวจวินิจฉัยแล้ว  พบว่า เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงจะรักษาด้วยยา  และเฝ้าติดตามอาการว่าเนื้องอกยุบลงหรือโตขึ้น อาจจะนัดอัลตราซาวด์เป็นระยะ

2. การผ่าตัดเนื้องอกรังไข่ชนิดธรรมดา คือ หากรักษาด้วยยาและติดตามการรักษาเป็นระยะแล้วก้อนไม่ยุบ โตขึ้นหรือมีภาวะแทรกซ้อนปวดเฉียบพลันจากการบิดขั้วของเนื้องอก  มีการแตกของเนื้องอก มีเลือดออก คุณหมอจะแนะนำให้ทำการผ่าตัด

เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การดูแลสุขภาพร่างกายของผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่  หากพบความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย  อย่าปล่อยทิ้งไว้  ควรรีบปรึกษาคุณหมอ  ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามจนเกิดอันตรายได้

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://haamor.com/th

https://www.healthcarethai.com

https://www.thairath.co.th

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หมออึ้ง! ผ่าสาวท้องโต 2 ปี พบเนื้องอกรังไข่หนัก 34 ก.ก.

ตะลึง! เข้าใจผิดคิดว่าท้อง สุดท้ายเช็กดูเป็น “เนื้องอก” หนักกว่า 16 กก.